ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วิทยุติดตามตัว?, วิทยุติดตามตัว? หมายถึง, วิทยุติดตามตัว? คือ, วิทยุติดตามตัว? ความหมาย, วิทยุติดตามตัว? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

วิทยุติดตามตัว?

ผมค่อนข้างสับสนว่าวิทยุติดตามตัวที่ใช้ในบ้านเรามีกี่แบบกันแน่ครับ และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง |หนุ่มภูธร| ร้อยเอ็ด

คำตอบ

                            วิทยุติดตามตัวหรือเพจเจอร์ Pager จัดเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดเคลื่อนที่ แบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมในหมู่นักธุรกิจ นายแพทย์   นักประชาสัมพันธ์   วิศวกร   หรือช่างที่ให้บริการนอกสถานที่ และผู้ที่ทำงานไม่ประจำที่ แต่จำเป็นต้องมีการติดต่อได้ตลอดเวลา   หลักการทำงานก็เช่นเดียวกับพวกวิทยุ โทรทัศน์ วิทยุโทรศัพท์แบบรวงผึ้ง แต่มีลักษณะสื่อสารในทิศทางเดียวจากผู้ส่งไปยังผู้รับข้อเด่นของเพจเจอร์คือ ขนาดกะทัดรัด สามารถพกพาติดตัวได้ตลอดเวลา                             การติดต่อระหว่างผู้ส่งกับผู้รับอาจเป็นการแจ้งให้ผู้รับหาทางติดต่อกลับไปยังผู้ส่ง หรืออาจจะเป็นการส่งข่าวสารที่ต้องการไปยังผู้รับโดยตรงก็ได้   เพจเจอร์แบ่งได้เป็น ๕ แบบ                             ๑   แบบส่งข่าวสารเป็นเสียงพูดไปยังผู้รับ Voice Pager                             ๒   แบบส่งข่าวสารเป็นตัวเลข DigitaI Display Pager   ซึ่งตัวเลขนี้จะแทนข่าวสารที่ต้องการ   อาจเป็นเบอร์โทรศัพท์หรือรหัสที่มีความหมายเป็นที่เข้าใจกันระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ                             ๓   แบบส่งเป็นตัวเลขและตัวอักษร Alpha Numeric Pager ช่วยให้ส่งข่าวสารได้ละเอียดขึ้นแต่จำเป็นต้องใช้ระบบที่พิเศษออกไปจึงยังไม่ค่อยแพร่หลาย                             ๔   แบบส่งเป็นสัญญาณเสียง Tone- AIert Pager เป็นการส่งสัญญาณเสียงเพื่อเป็นการบอกให้ผู้รับติดต่อไปยังศูนย์   เพื่อรับข่าวสารอีกทีหนึ่ง                             ๕   แบบส่งเป็นสัญญาณเสียง   ๒   ลักษณะ DiuaI   Address   Pager ให้สัญญาณเสียงได้ ๒ ลักษณะ เพื่อให้ผู้รับทราบว่าจะติดต่อไปยังที่ใด                             เวลาที่ใช้ในการส่งข่าวสารด้วยเพจเจอร์นั้นแตกต่างกันในแต่ละแบบ คือ ตั้งแต่ ๑๐ วินาทีลงมาสำหรับเพจเจอร์แบบใช้เสียงพูด จนถึงเป็นมิลลิวินาทีสำหรับแบบที่ไม่ใช้เสียงพูด   ความพิเศษของระบบเพจเจอร์ก็คือ ความสามารถในการติดต่อลูกข่ายหรือผู้รับได้กว่า ๑ แสนรายต่อหนึ่งความถี่ ในขณะที่ระบบวิทยุโทรศัพท์ได้เพียงประมาณ ๑๐๐ รายต่อหนึ่งความถี่เท่านั้น                             ระบบที่ไม่ใช้เสียงพูดสามารถครอบคลุมพื้นที่ติดต่อได้กว้างกว่าแบบใช้เสียงพูด ทั้งนี้เพราะใช้กำลังส่งน้อยกว่าในการทำให้เครื่องรับทำงาน และตัวเครื่องรับก็มีความไวสูงมากเป็นพิเศษรับสัญญาณในช่วงสั้น ๆ ที่เป็นมิลลิวินาทีในระบบหนึ่ง ๆ ของวิทยุติดตามตัว   สามารถใช้เพจเจอร์ร่วมกันได้ทั้ง ๕ แบบ ดังที่กล่าวมา   แต่นิยมที่จะแยกความถี่ใช้งานสำหรับเพจเจอร์แต่ละแบบมากกว่า เพื่อให้ได้คุณภาพของสัญญาณที่ดี                             เพจเจอร์ใช้การสื่อสารด้วยความถี่วิทยุ เช่นเดียวกับระบบวิทยุโทรศัพท์   ดังนั้นโครงสร้างของระบบจึงไม่ต่างกันมากนัก อันประกอบด้วย                             ๑   ศูนย์กลางของระบบ Paging Terminal   เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสาร   มีระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้จัดการทุกอย่างเกี่ยวกับการให้บริการ   การรับ-ส่งข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ   เรียกได้ว่าเป็นหัวใจและมันสมองของระบบทีเดียว และยังทำหน้าที่พิเศษอื่น ๆ   ที่จำเป็นด้วย เช่น การบนทึกการใช้ การออกใบเสร็จรับเงิน   การส่งสัญญาณลักษณะพิเศษ เป็นต้น                             ๒ เครื่องส่ง   ทำหน้าที่ส่งข่าวสารในรูปของคลื่นวิทยุผ่านสายอากาศออกไปยังเครื่องรับหรือเพจเจอร์นั่นเอง เครื่องส่งนี้อาจอยู่ที่ศูนย์หรือตั้งอยู่ที่อื่นก็ได้                             ๓   ระบบโทรศัพท์   เป็นส่วนที่ผู้ส่งสามารถส่งข่าวสาวผ่านทางระบบโทรศัพท์ไปยังศูนย์ เพื่อส่งไปยังผู้รับที่ต้องการ   ซึ่งในเมืองไทยก็คือระบบเครือข่ายขององค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศไทยนั่นเอง                             การติดต่อนั้น   ผู้ส่งก็เพียงแต่กดปุ่มโทรศัพท์เรียกเข้าไปยังศูนย์ เมื่อได้รับสัญญาณเสียง “ ปิ๊บ ” เป็นการบอกความพร้อมก็กดหมายเลขของผู้รับ ส่งก็คือหมายเลขรหัสประจำเครื่องของเพจเจอร์   ถึงตอนนี้เพจเจอร์จะรับคลื่นได้ทันที จากนั้นผู้ส่งก็เพียงแต่กดตัวเลขที่ต้องการส่งตามไป เพจเจอร์จะทำการบันทึกไว้และส่งเสียงเตือนให้รู้ว่ามีข่าวสารส่งมาแล้ว   ผู้รับสามารถดูข่าวสารได้ทันทีหรือกดปุ่มเพื่อดูทีหลังก็ได้                             โทรศัพท์ติดตามตัวระบบดิจิตอล ดิสเพลย์   เพจจิ่ง   ในเครือข่ายขององค์การโทศัพท์แห่งประเทศไทย   สามารถติดต่อได้ครอบคลุมทั่วประเทศ   Nationwide System ทุกแห่งที่บริการโทรศัพท์ทางไกลไปถึง   โดยองค์การโทรศัพท์ฯ   ได้มอบหมายให้บริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ   เรียกชื่อบริการว่า |โฟนลิ้งค์|   และ |เพจโฟน|   ซึ่งมีรูปแบบการให้บริการทั้งระบบสัญญาณเสียง Voice Mailbox   ระบบตัวเลข Numeric Pager และระบบตัวเลขพร้อมตัวอักษร   Alphanumeric Pager                             ในการเรียกผู้ถือ |โฟนลิ้งค์| ได้กำหนดใช้เลขหมายเพียง ๓   เลขหมาย เพื่อสะดวกในการจดจำและง่ายในการติดต่อ ซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งทางโทรศัพท์อัตโนมัติ โดยต่อเลขหมาย ๑๕๑ ๑๕๒   ส่วน |เพจโฟน|   ใช้เลขหมาย ๑๖๑ ๑๖๒ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

วิทยุติดตามตัว, วิทยุติดตามตัว หมายถึง, วิทยุติดตามตัว คือ, วิทยุติดตามตัว ความหมาย, วิทยุติดตามตัว คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu