ถ่ายรูป ๑ นาทีด้วยโพลารอยด์?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp ตามร้านถ่ายรูปที่โฆษณาว่าถ่ายรูปเสร็จภายใน ๑ นาที เขาทำได้อย่างไร เพราะเวลาเราเอาฟิล์มที๋ถ่ายเองไปล้างและอัดภาพ ยังใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๔๕ นาที ไม่ลงชื่อ กรุงเทพฯ
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp ตามร้านถ่ายรูปที่โฆษณาว่าถ่ายรูปเสร็จภายใน ๑ นาที เขาทำได้อย่างไร เพราะเวลาเราเอาฟิล์มที๋ถ่ายเองไปล้างและอัดภาพ ยังใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๔๕ นาที ไม่ลงชื่อ กรุงเทพฯ
ร้านถ่ายรูปใช้กล้องและฟิล์มโพลารอยด์ เขาจึงถ่ายรูปได้เสร็จภายในเวลาไม่กี่นาที เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการรูปติดบัตรในเวลารวดเร็ว ไม่ต้องรอกันข้ามคืนเหมือนแต่ก่อน ทว่าการถ่ายรูปโพลารอยด์ก็แพงกว่า สีสัน ความคมชัดก็สู้การถ่ายรูปแบบปรกติไม่ได้ อันที่จริงฟิล์มชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า “ ฟิล์มสำเร็จรูป ” lnstant Picture Materials ซึ่งหมายถึง การถ่ายภาพที่ได้ภาพออกมาดูได้ในทันทีทันใด และจะเรียกว่าเป็นฟิล์มก็ดูจะไม่ตรงกับลักษณะที่แท้จริงนัก เพราะเป็นวัสดุที่ประกอบด้วยเยื่อไวแสง และกระดาษอัดภาพรวมอยู่ในแผ่นเดียวกัน เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค ศ ๑๙๔๗ เมื่อ ดร เอดวิน แลนด์ Dr Edwin Land ชาวอเมริกัน ได้พัฒนาและปรับปรุงการก๊อบปี้เอกสารมาใช้ในการถ่ายภาพเป็นครั้งแรก ด้วยการใช้ฟิล์มม้วนที่แนบกับกระดาษชุบน้ำยาเคมีสร้างภาพ กล้องจะขับฟิล์มที่ถ่ายภาพแล้วออกมาในเวลา ๑ นาที แล้วผู้ใช้จะรอให้ภาพปรากฏในเวลาประมาณ ๑ นาที จึงลอกกระดาษชั้นที่เป็นเนกาทีฟออกมา แผ่นที่เหลือเป็นภาพโพสิทีฟที่ต้องการ ซึ่งภาพในระยะแรก ๆ นั้นจะมีสีน้ำตาลหรือขาว-ดำ แต่ภายหลังในปี ค ศ ๑๙๕๑ ก็สามารถผลิตเป็นภาพสีซึ่งมีสีอื่น ๆ อยู่ด้วย ทว่าสีสันยังไม่ตรงกับสีตามธรรมชาตินัก เพี้ยนไปทางสีน้ำตาล ในปี ค ศ ๑๙๖๓ บริษัท quot โพลารอยด์ ” เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสาชูเซตส์ แห่งสหรัฐอเมริกา ก็เริ่มผลิตฟิล์มสีสำเร็จรูปออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก แต่ก็ยังเป็นแบบลอกภาพในแบบเดิมเพิ่งจะปรับปรุงโดยใช้เป็นกระดาษแผ่นเดียว และทำให้เกิดภาพที่มีสีสันตามธรรมชาติ ในปีค ศ ๑๙๗๒ และต่อมาบริษัทโกดักก็ได้ผลิตฟิล์มชนิดนี้ออกมาในปี ค ศ ๑๙๗๖ และผลิตกล้องถ่ายภาพที่ใช้กับฟิล์มสำเร็จรูปออกมาอีกหลายรุ่น ภายหลังจากที่โพลารอยด์ได้ผลิตกล้อง “ โพลารอยด์ quot รุ่น ๙๕ ออกมาเป็นครั้งแรกในปี ค ศ ๑๙๔๘ จนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในหมู่คนไทยในนามของกล้องและฟิล์ม “ โพลารอยด์ ” ตามชื่อของผู้ผลิตกล้องชนิดนี้เป็นครั้งแรกดังกล่าว หลังจากที่มีการผลิตฟิล์มโพลารอยด์ออกจำหน่ายไม่นานก็มีผู้คิดแม็กกาซีนเพื่อใช้กับกล้องถ่ายภาพชนิดเลนส์เดี่ยวกันมากขึ้น โดยทำให้ฝาหลังกล้องสามารถถอดเปลี่ยนใช้กับแม็กกาซีนดังกล่าวได้ แต่โดยมากมักใช้กันในหมู่ช่างภาพมืออาชีพเพื่อตรวจสอบการจัดภาพ การให้แสง ก่อนการถ่ายด้วยฟิล์มที่ใช้งานจริง ซึ่งนับว่าให้ประโยชน์คุ้มค่ามาก เนื่องจากสามารถเห็นภาพได้หลังจากถ่ายเสร็จเพียงไม่กี่วินาที แทนที่จะต้องรอผลจากฟิล์มแบบอื่น ๆ ที่ต้องใช้เวลามากกว่า ปัจจุบันยังมีโพลารอยด์เป็นฟิล์มสไลด์ด้วย ดังนั้นในอนาคต ถ้าหากมีการปรับปรุงคุณภาพต่าง ๆ เช่น ความคงทน ความคมชัด เกรน ฯลฯ ให้ดีทัดเทียมกับฟิล์มชนิดอื่น ๆ แล้ว กระบวนการล้าง อัด ขยาย ก็จะกลายเป็นวิธีการที่ล้าสมัยไป “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!