ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พิพิธภัณฑสถานมีระบบป้องกันภัยอย่างไร?, พิพิธภัณฑสถานมีระบบป้องกันภัยอย่างไร? หมายถึง, พิพิธภัณฑสถานมีระบบป้องกันภัยอย่างไร? คือ, พิพิธภัณฑสถานมีระบบป้องกันภัยอย่างไร? ความหมาย, พิพิธภัณฑสถานมีระบบป้องกันภัยอย่างไร? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

พิพิธภัณฑสถานมีระบบป้องกันภัยอย่างไร?

nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมีระบบการรักษาความปลอดภัยอย่างไรบ้าง nbsp มีเทคโนโลยีก้าวหน้าเหมือนประเทศอื่นบ้างหรือไม่ โกวิทย์ กรุงเทพฯ

คำตอบ

            “ ซองคำถาม ” ขอไม่เจาะจงถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร แต่จะเล่าเรื่องนี้จากข้อมูลที่หามาได้   ซึ่งเป็นวิธีสากลสุดแท้แต่ว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งใดจะเลือกใช้             โดยหลักการแล้ว   พิพิธภัณฑสถานพยายามจะแสดงสิ่งของให้ดึงดูดความสนใจผู้เข้าชมได้มากที่สุด   จึงแสดงในตู้ลูกกรงเหล็กไม่ได้ ยิ่งกว่านั้นจะต้องจัดแสดงให้ผู้ชมได้ดูใกล้ ๆ ซึ่งเป็นการเสี่ยงอันตรายไม่น้อย ส่วนใหญ่จึงจัดแสดงบนยกพื้นและมีเชือกกั้น ไม่ให้ผู้ชมเอื้อมถึง แต่สำหรับวัตถุมีค่า ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องจัดแสดงโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ             อันที่จริงภัยของทรัพย์สินมีค่าในพิพิธภัณฑสถานมีหลายอย่าง อาทิ โจรผู้ร้าย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติ เช่น อุณหภูมิความชื้น แสงสว่าง เป็นต้น แต่ที่คนส่วนใหญ่อยากรู้เห็นจะเป็นการป้องกันภัยจากโจรผู้ร้ายเสียมากกว่า             โดยทั่วไป   การวางแผนรักษาความปลอดภัยในพิพิธภัณฑสถานจะมีมาตั้งแต่การเลือกสถานที่ตั้ง คือต้องอยู่ในที่ ซึ่งไม่มีอันตรายจากภาวะธรรมชาติแวดล้อม ไม่อยู่ในแหล่งแออัดหรือแหล่งอุตสาหกรรมซึ่งอาจเกิดผลร้ายทั้งเรื่องเขม่าควันไฟ อากาศเสีย และอาจเกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย ขณะเดียวกันก็ไม่อยู่ในที่เปลี่ยวห่างไกลชุมชนซึ่งอาจจะเกิดโจรกรรม พื้นที่สร้างพิพิธภัณฑสถานควรมีบริเวณพอสมควร มีทางออกมากกว่าหนึ่งทางในภาวะฉุกเฉิน             ระบบป้องกันภัยต่าง ๆ จะต้องวางแผนไปพร้อมกับการออกแบบก่อสร้างอาคาร   เช่น   การใช้ประตูเหล็กซ่อนในผนัง   การใช้ระบบอัตโนมัติเมื่อเกิดเสียงสัญญาณเตือนภัย   ประตูจะปิดเองทันที เป็นต้น อาคารพิพิธภัณฑสถานที่ถูกหลักการ จะต้องมีประตูเข้าอาคารประตูเดียว ผู้ชมจะเข้าและออกทางเดียวกันซึ่งเป็นการง่ายแก่การคุ้มครอง หากเกิดเหตุโจรกรรม เมื่อปิดประตูใหญ่ก็จะกักขังผู้ชมไว้ในอาคารได้ทั้งหมด             ระบบป้องกันภัยที่ใช้ป้องกันพิพิธภัณฑสถานมีมากมายเทคนิคพื้นฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป   ได้แก่   การสร้างรั้วล้อมที่มั่นคงแข็งแรง ใช้ระบบกุญแจใส่ประตูห้องและตู้จัดแสดง   ตู้กระจกพิเศษกันสั่นสะเทือนและยิงไม่เข้า   สร้างห้องนิรภัยหรือตู้นิรภัยที่ป้องกันทั้งไฟและโจร ใช้บานประตูเหล็กสำหรับห้องสำคัญ และทำประตูเปิดปิดอัตโนมัติ             ด้วยเทคโนโลยีอันก้าวหน้า ทำให้มีการคิดค้นสัญญาณเตือนภัยระบบต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดักที่จะรายงานเป็นสัญญาณเสียง   เครื่องดักอาจซ่อนไว้ใต้พรม ประตู หน้าต่างหรือที่วัตถุมีค่านั้น เมื่อเกิดความร้อนหรือแรงสั่นสะเทือนแล้วแต่ระบบ เครื่องดักก็จะส่งสัญญาณเสียงให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทราบ จากนั้นประตูเข้าออกซึ่งมีประตูเดียวจะถูกปิดโดยอัตโนมัติ             นอกจากนั้นอาจใช้เทคนิคทางเคมี เช่น ติดตั้งเครื่องดักโดยใช้ส่วนผสมของสารเคมี เมื่อมีสิ่งผิดปรกติเกิดขึ้นจะเกิดเป็นควันหรือแสงไฟแวบขึ้นที่เครื่องรับ หรือติดตั้งเครื่องดักโดยมีส่วนผสมของสารเคมีให้เกิดเสียงระเบิดเมื่อมีสิ่งผิดปรกติเกิดขึ้นสุดท้ายอาจใช้สารเคมีที่เป็นสีย้อมอาบของมีค่าไว้ เมื่อคนร้ายจับต้องของมีค่าก็จะมีรอย   และสีจะติดที่มือหรือเสื้อผ้าผู้ร้าย ช่วยในการจับตัวคนร้ายได้             อย่างไรก็ตาม   ระบบรักษาความปลอดภัยนั้นยังต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่รักษาการณ์เป็นสำคัญ   เพราะเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ อาจขัดข้องได้ และอุปกรณ์ทำหน้าที่เพียงแจ้งเหตุให้ทราบเท่านั้นการสกัดกั้นคนร้ายเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาการณ์ พิพิธภัณฑสถานบางแห่งอาจเชื่อมโยงระบบเตือนภัยไปยังสถานีตำรวจใกล้เคียงด้วย             แต่ไม่ว่าเทคโนโลยีของอุปกรณ์ป้องกันภัยจะก้าวหน้าเพียงใด ก็ใช่ว่าจะคุ้มครองทรัพย์สินมีค่าได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จอมโจรผู้มีภูมิรู้ทางวิทยาการยังพยายามคิดหาวิธีโจรกรรมอยู่เนือง ๆ ดังที่เราเห็นกันในภาพยนตร์ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”  

พิพิธภัณฑสถานมีระบบป้องกันภัยอย่างไร, พิพิธภัณฑสถานมีระบบป้องกันภัยอย่างไร หมายถึง, พิพิธภัณฑสถานมีระบบป้องกันภัยอย่างไร คือ, พิพิธภัณฑสถานมีระบบป้องกันภัยอย่างไร ความหมาย, พิพิธภัณฑสถานมีระบบป้องกันภัยอย่างไร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu