บ้านพิษณุโลก?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp อ่านข่าวท่านนายกฯ จะพักอยู่ที่บ้านพิษณุโลก เพื่อประหยัดเวลาในการเดินทางไปทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล เลยนึกอยากทราบประวัติความเป็นมาของบ้านหลังนี้ แม้นวิมาน กรุงเทพฯ
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp อ่านข่าวท่านนายกฯ จะพักอยู่ที่บ้านพิษณุโลก เพื่อประหยัดเวลาในการเดินทางไปทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล เลยนึกอยากทราบประวัติความเป็นมาของบ้านหลังนี้ แม้นวิมาน กรุงเทพฯ
ในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พ ศ ๒๕๒๕ ได้มีผู้ออกความเห็นว่า นายกรัฐมนตรีของไทยควรจะมีบ้านประจำตำแหน่งให้สมเกียรติ หนังสือพิมพ์ได้วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้อย่างครึกโครม คณะรัฐมนตรีได้ปรึกษาหารือกันและลงมติว่าควรมีบ้านประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ควรสร้างใหม่ในที่สุดจึงเลือกบ้านบรรทมสินธุ์ชึ่งเป็นสมบัติของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บ้านพิษณุโลกเดิมชื่อ “ บ้านบรรทมสินธุ์ ” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทาน พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา ม ล ฟื้น พึ่งบุญ มหาดเล็กคนโปรด ใช้เป็นเรือนหอ บ้านพิษณุโลกมีเนื้อที่ ๕๐ไร่ งานก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อ พ ศ ๒๔๖๕ โดยสถาปนิกชาวอิตาเลียนซึ่งว่างจากงานก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นผู้ออกแบบ บ้านพิษณุโลกเป็นสถาปัตยกรรมณบบ ltalian Baroque เฉพาะตัวตึกใหญ่ได้ขุดสระใหญ่เอาดินขึ้นมาถมที่ เอาหินจากราชบุรีและสระบุรีมาทำฐานราก งานก่อสร้างทั้งหมดแล้วเสร็จเมื่อ พ ศ ๒๔๖๘ บ้านพิษณุโลกเป็นตึกสูง ๓ ชั้น มีห้องใต้ดิน ชั้นล่างมีห้องโถงใหญ่สำหรับนั่งเล่น และเป็นห้องรับแขก ๒ ห้องด้วยกัน ด้านหลังห้องรับแขกเป็นห้องบัตเลอร์สำหรับบริการอาหารและเครื่องดื่มรับแขก ชั้นสองเป็นห้องนอนทั้งสองด้าน ห้องนอนของพลตรีพระยาอนิรุทธเทวาอยู่ซ้ายมือ เป็นห้องขนาดใหญ่สีชมพู ด้านหลังห้องนอนออกไปเป็นห้องอาหาร ส่วนชั้นสามเป็นห้องพระใหญ่ใต้โดมหน้าตึก ด้านหลังห้องพระเป็นห้องนอนซึ่งเปิดทะลุออกไปเป็นดาดฟ้า สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้รอบทิศห้องทุกห้องในบ้านมีเพดานสูงเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกบนเพดานมีภาพเขียนด้วยสีฝุ่นสวยงามมาก ตรงกลางเพดานมีโคมไฟฟ้าแบบ Chandelier ซึ่งเป็นพวงแก้วผลึกสีต่าง ๆ แขวนอยู่ ผนังอาคารทั้งภายนอกและภายในมีลวดลายปูนปั้นหรือไม้แกะสลักตกแต่งอย่างงดงาม ตามซุ้มประตูและบานประตูก็มีลวดลายแกะสลัก สำหรับบันไดบ้านนั้นเป็นบันไดวนที่พิสดารมาก กล่าวคือเป็นบันไดวนที่ไม่มีเสารองรับขึ้นไปจนถึงชั้นสามของตัวตึก บริเวณรอบ ๆ บ้านมีสนามและสวนแบบยุโรป ด้านหลังของบ้านมีสระน้ำขนาดใหญ่แบบทะเลสาบ มีเกาะเล็ก ๆ อยู่ตรงกลาง มีสะพานแขวนเดินข้ามได้ ในสระปลูกบัวและเลี้ยงปลานานาชนิด หน้าบ้านมีรูปปั้น quot นารายณ์บรรทมสินธุ์ ” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์พระราชทานเป็นเครื่องหมายประจำตระกูล ประดิษฐานอยู่บนแท่นศิลาในอ่างน้ำพุ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ ศ ๒๔๗๕ เจ้าของบ้านตัดสินใจขายบ้านให้แก่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในราคา ๕ แสนบาท โดยขอแบ่งที่ดินไว้ ๒๕ ไร่ ซึ่งต่อมาได้ขายให้โรงพยาบาลมิชชั่น ตอนเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ บ้านนี้ถูกใช้เป็นที่ทำการ “ กรมประสานงานไทย-ญี่ปุ่น ” เรียกชื่อตึกใหญ่ว่า “ ตึกไทยพันธมิตร quot หลังสงครามเปลี่ยนชื่อบ้านจาก “ บ้านบรรทมสินธุ์ ” เป็น “ บ้านพิษณุโลก ” ตามชื่อถนนที่ผ่าน “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!