ยูเรกา - ฉันพบแล้ว !?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp ได้ยินบางคนเมื่อทำงานสำเร็จ หรือค้นพบอะไรบางอย่าง nbsp ก็จะร้องว่า nbsp ยูเรกา คำนี้มีความหมายว่าอะไรและมีความเป็นมาอย่างไร จิตจินต์ จ นครราชสีมา
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp ได้ยินบางคนเมื่อทำงานสำเร็จ หรือค้นพบอะไรบางอย่าง nbsp ก็จะร้องว่า nbsp ยูเรกา คำนี้มีความหมายว่าอะไรและมีความเป็นมาอย่างไร จิตจินต์ จ นครราชสีมา
เจ้าของคำพูดนี้ คือ อาร์คีมีดีส เกิดราวปี ๒๙๐-๒๘๐ ตายราวปี ๒๑๒-๒๑๑ ก่อนคริสตกาล เล่ากันว่า พระราชาแห่งซีราคิวส์ ชื่อ ฮิเอโร ทรงสงสัยว่า มงกุฎทองคำที่จ้างช่างทำจะถูกปลอมปนด้วยโลหะชนิดอื่น จึงรับสั่งให้อาร์คีมีดีสหาวิธีทดสอบ อาร์คีมีดีสพบว่า มงกุฎทองคำที่ช่างทำขึ้นมีน้ำหนักเท่ากับน้ำหนักทองคำที่ใช้จริง ดังนั้นสิ่งเดียวที่จะพิสูจน์ได้ว่าช่างโกง หรือไม่ ก็คือการหาปริมาตรของมงกุฎ เพราะถ้ามงกุฏถูกปลอมปนด้วยโลหะอื่น ก็จะต้องมีปริมาตรไม่เท่ากับมงกุฎที่ทำจากทองคำล้วน ๆ แต่การหาปริมาตรของวัตถุที่มิได้มีรูปร่างเป็นทรงเรขาคณิตพื้นฐาน เช่น สี่เหลี่ยม ทรงกลม ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย อาร์คีมีดีสคิดเท่าไรก็คิดไม่ออก จนวันหนึ่งเมื่อเขาอาบน้ำเขาสังเกตเห็นน้ำล้นจากอ่างเมื่อเขาหย่อนตัวลงอ่าง แล้วในวินาทีนั้นเอง อาร์คีมีดีสก็ค้นพบสิ่งที่เขาครุ่นคิดมานาน เขาออกไปที่ถนน ร้องตะโกนด้วยภาษากรีฤว่า “ ยูเรกา-eureka ” ซึ่งมีความหมายว่า “ ฉันพบแล้ว ” หรือ quot ได้ตัวแล้ว ” สิ่งที่อาร์คีมีดีสค้นพบก็คือ ปริมาตรน้ำที่ล้นออกมาจะเท่ากับปริมาตรของวัตถุที่เข้าไปแทนที่ เขานำมงกุฏของพระราชามาหย่อนในน้ำ และวัดปริมาตรน้ำที่ล้นออกมา จึงพบว่าช่างทำมงกุฎโกงพระราชาจริง ๆ เพราะน้ำมีปริมาตรมากกว่าปริมาตรของมงกุฎที่ทำจากทองคำแท้ ช่างทำมงกุฎเอาเงินผสมลงไปด้วย แต่เงินนั้นเบากว่าทอง ฉะนั้นมงกุฎที่ทำด้วยโลหะผสมระหว่างเงินกับทองจะกินที่หรือมีปริมาตรมากกว่ามงกุฎที่ทำด้วยทองคำแท้ หลายคนที่เคยรู้เรื่องของอาร์คีมีดีส เมื่อค้นพบอะไรบางอย่าง เป็นต้นว่าหาคำตอบของโจทย์คณิตศาสตร์ได้ก็แสดงอาการดีใจด้วยการตะโกนว่า “ ยูเรกา ” ซึ่งฟังดูเก๋พอใช้ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!