การบริหารเท้า เพื่อสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน
บริหารเท้าแบบง่ายๆ สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาใช้เวลาเพียงเล็กน้อย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ไปเลี้ยงปลายเท้าได้ดีขึ้น
เริ่มต้นด้วย การนั่งตัวตรงบนเก้าอี้ (ไม่พิงพนักเก้าอี้) เท้าวางราบติดกับพื้น
ท่าที่ 1 : งอ เหยียด นิ้วเท้า
- กระดูกนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้าง ขึ้นมาข้างบนแล้วงอนิ้วเท้าลงเข้าหาฝ่าเท้า ขึ้น-ลง โดยไม่ยกส้นเท้า ทำประมาณ 8-12 ครั้ง
ท่าที่ 2 : ตั้งส้นเท้า เขย่งปลายเท้า
- กระดกปลายเท้าให้สูงจากพื้นมากที่สุด โดยส้นเท้ายังวาง
- เขย่งปลายเท้า ยกส้นเท้าให้สูงที่สุด
ท่าที่ 3 : ปลายเท้าวาด วงกลม
ให้ส้นเท้าอยู่กับพื้นกระดกปลายเท้าขึ้นทั้ง 2 ข้าง
- หมุนปลายเท้า วาดอกกด้านนอกเป็นวงกลม ตามเข็มนาฬิกา ทำประมาณ 8-12 ครั้ง
- หมุนปลายเท้าเข้าด้านในเป็นวงกลม ทวนเข็มนาฬิกา ทำประมาณ 8-12 ครั้ง
ท่าที่ 4 : หมุนส้นเท้าเป็นวงกลม
ให้ปลายเท้าอยู่กับพื้น ยกส้นเท้าหมุนส้นเท้าเป็นวงกลมให้กว้างที่สุด แล้วหมุนกลับทิศ ทำประมาณ 8-12 ครั้ง
ท่าที่ 5 : ยืด เหยียด ขึ้น-ลง
1. ยกขาขึ้นให้ขนานกับพื้น โดยเข่าเหยียดตรง
2. กระดกปลายเท้าขึ้นด้านบนให้มากที่สุด
3. แล้วงุ้มปลายเท้าชี้ลงพื้นให้มากที่สุด (ทำซ้ำๆ )
4. ทำเช่นนี้กับขาอีกข้างหนึ่ง
(ทำประมาณ 8-12 ครั้ง ทำทีละข้าง)
ท่าที่ 6 : เหยียดขา หมุนปลายเท้า
(ต่อจากทาที่ 5)
- หมุนปลายเท้าเป็นวงกลมเหมือนเขียนเลขศูนย์กลางอากาศ แล้วหมุนกลับทิศ ทำเช่นนี้กับเท้าอีกข้างหนึ่ง
ทำประมาณ 8-12 ครั้ง
ท่าที่ 7 : ฉีกกระดาษปั้นลูกบอล
1. หยิบกระดาษหนังสือพิมพ์ มา 1 คู่ กางออก วางลงที่พื้น
2. ใช้เท้าทั้ง 2 ข้าง ฉีกกระดาษ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนแยกเก็บไว้หนึ่งส่วน
3. ใช้เท้าทั้ง 2 ข้าง ขยุ้มกระดาษ ส่วนที่ 1 ให้เป็นลูกบอลกลม ๆ
4. ใช้นิ้วเท้า 2 ข้าง คลี่ลูกบอลออก แล้วฉีกกระดาษให้เป็นชิ้น ๆ ฉีกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
5. นำกระดาษหนังสือพิมพ์ส่วนที่แยกเก็บไว้ มาวางคลี่ออกใช้นิ้วเท้าหยิบกระดาษที่ฉีกเป็นชิ้น ๆ มาวางบนแผ่นกระดาษที่คลี่ออกนี้ จนครบทุกชิ้น จากนั้นใช้เท้า 2 ข้าง ปั้นห่อกระดาษให้เป็นลูกบอลก้อนกลมๆ ให้แน่นที่สุด เท่าที่จะทำได้
ท่าที่ 8 : บริหารเข่า นั่งเหยียดขา
นั่งตัวตรง หลังชิดพนักเก้าอี้
ห้อยขาทั้ง 2 ข้าง
เหยียดขาขึ้นช้าๆ จนเข่าเหยียดตรง ทำทีละข้าง นับ 1-5 แล้ว วางลงที่เดิม (ทำข้างละประมาณ 8-12 ครั้ง)
ท่าที่ 9 : บริหารเข่า งอขาขึ้นด้านหลัง
1. ยืนตัวตรง เกาะขอบโต๊ะ หรือพนักเก้าอี้
2. งอขาขึ้นทางด้านหลังช้า ๆ ทีละข้างจนสุดแล้ววางขาลงที่เดิม
3. ทำขาซ้าย-ขาขวา สลับกัน ข้างละประมาณ 8-12 ครั้ง
เมื่อมีบาดแผลที่เท้าควรทำอย่างไร
1. ล้างบาดแผลด้วยน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว หรือน้ำเกลือล้างแผล
2. ใช้สำลีที่ฆ่าเชื้อแล้วชุบน้ำยาเบตาดีนเช็ดแผล
- กรณีแผลเล็ก
- เริ่มเช็ดจากในแผลแล้ววนออกมารอบแผลโดยไม่เช็ดซ้ำที่เดิม
- กรณีแผลกว้างแต่ไม่ลึก
เช็ดขอบแผลก่อนแล้ววนออกมาด้านนอกแผล หลังจากนั้นใช้สำลีอีกก้อนหนึ่งชุบน้ำยาเบตาดีน เช็ดในแผลแล้ววนออกมานอกแผลให้สะอาด โดยไม่เช็ดซ้ำที่เดิม
- กรณีที่แผลใหญ่และลึกมาก ควรรีบมาพบแพทย์
3. หลังจากล้างแผลเสร็จ ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลฆ่าเชื้อ
4. ควรทำแผลหลังอาบน้ำเช้า