ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สาวขี้โรคสังสรรค์อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ, สาวขี้โรคสังสรรค์อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ หมายถึง, สาวขี้โรคสังสรรค์อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ คือ, สาวขี้โรคสังสรรค์อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ ความหมาย, สาวขี้โรคสังสรรค์อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
สาวขี้โรคสังสรรค์อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ

        การสังสรรค์อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในช่วงที่มีเทศกาล เรื่องสุขภาพก็เป็นสิ่งที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะถ้าปาร์ตี้หนักเกินไปสุขภาพร่างกายก็อาจทรุดโทรมลงได้ แต่ถ้าบางคนมีโรคประจำตัว อย่าง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ล่ะ อยากจะสนุกสนานกับเทศกาลและการสังสรรค์ กับเค้าบ้าง ดีกว่านั่งหดหู่ดูเค้าฉลองกัน

       ผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ จะมีคำแนะนำเรื่องอาหารและการดูแลสุขภาพต่างกันไป เช่น

      - ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เช่น การสังสรรค์ต่อเนื่อง อดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ

      - ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง หรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม ไวน์หวาน หากรับประทานอาหารมากขึ้น อาจจำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา โดยเฉพาะยาฉีดอินซูลินขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีภาวะเจ็บป่วยที่ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง อาจจำเป็นต้องปรับลดขนาดยาลง ควบคู่ไปกับการตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเองบ่อยขึ้น เพื่อเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจสูงหรือต่ำผิดปกติ จนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยและญาติที่ดูแลควรมีความรู้เบื้องต้นในการแก้ไขภาวะผิดปกติต่างๆ เช่นเมื่อผู้ป่วยมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น ใจสั่น หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม ตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วผู้ป่วยพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หากยังรู้สึกตัวดี ควรหาน้ำหวาน น้ำผลไม้ 1 แก้ว หรือลูกอมให้ผู้ป่วยรับประทาน เพื่อเป็นการปฐมพยาบาลก่อนพาไปพบแพทย์

     - ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ขาหมู ไข่แดง อาหารประเภททอด หอย ปลาหมึก เป็นต้น เพราะระดับไขมันในเลือดที่สูง จะส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันง่ายขึ้น แม้ทานยาลดระดับไขมันอยู่เสมอ หากไม่ควบคุมอาหารด้วย อาจทำให้อาการของโรคเป็นมากขึ้นได้

      นอกจากการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคแต่ละโรคแล้ว การบริโภคอาหารและการดื่มน้ำที่สะอาด ก็เป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารแปลกๆที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ท้องเสีย อาเจียนและติดเชื้อรุนแรงได้
       และในช่วงที่มีวันหยุดยาวหลายๆ วัน คนที่วางแผนไปท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวๆ ก็ควรเตรียมตัวดูแลสุขภาพให้พร้อมก่อนเดินทางไปเที่ยวด้วย ข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างง่ายๆ ก่อนจะเดินทางไปเที่ยวมาฝาก ได้แก่

      - สำรวจตรวจเช็คสุขภาพให้พร้อม หากมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานเป็นทุนเดิม ควรควบคุมความดันโลหิตและระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยการทานยาหรือฉีดยาอย่างสม่ำเสมอ หากยังควบคุมความดันโลหิตหรือระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ สำหรับโรคอื่นๆ เช่นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกเดินทางเสมอ เพื่อประเมินความเสี่ยงและรับคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม

      - ตรวจสอบระบบประกันสุขภาพหรือความคุ้มครองเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบภัย แน่นอนว่าในระหว่างเทศกาลเฉลิมฉลองที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวันนั้น อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยรุนแรง และมักเกิดปัญหาเสมอๆในเรื่องของการตรวจสอบสิทธิ การคุ้มครองต่างๆ ทั้งการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นวันหยุดต่อเนื่องยาว ทำให้การติดต่อประสานงานเป็นไปอย่างยากลำบาก หากไม่ได้เตรียมตัวตรวจสอบสิทธิ เงื่อนไขการคุ้มครองหรือบุคคลที่จะติดต่อได้ไว้ล่วงหน้า ดังนั้นก่อนออกเดินทางจึงควรมีการตรวจสอบ เตรียมเอกสารประกันภัย ช่องทางการติดต่อบุคคลต่างๆ ไว้ให้พร้อมเสมอ เพื่อให้การติดต่อประสานงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น

      - พกสมุดประจำตัวผู้ป่วยไปด้วยเสมอ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมักเกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรืออุบัติเหตุต่างๆระหว่างการเดินทางหรือการเฉลิมฉลองในเทศกาล บางครั้งเป็นการเจ็บป่วยรุนแรง ผู้ป่วยไม่สามารถให้ข้อมูลแก่แพทย์ได้ การมีสมุดประจำตัวผู้ป่วยที่ระบุรายละเอียดการรักษา สถานพยาบาลประจำ ข้อมูลเกี่ยวกับโรคทั้งหมดที่เป็น รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์หรือที่อยู่ผู้ที่จะติดต่อได้กรณีฉุกเฉิน เหล่านี้ย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในการที่แพทย์จะได้ให้การรักษาอย่างถูกต้อง ส่งผลให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และต่อเนื่อง

      - พกยาประจำตัวไปด้วยเสมอ การลืมนำยาประจำตัวไปด้วยในขณะเดินทางหรือร่วมงานสังสรรค์ต่างๆ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากโรคบางชนิดจำเป็นต้องทานยาให้ตรงเวลาเพื่อรักษาระดับยาให้คงที่ การลืมทานยาแม้เพียงมื้อเดียว อาจส่งผลให้อาการของโรคกำเริบ ดังนั้นการมียาสำรองพกติดตัวอีกชุดหนึ่ง จะช่วยลดโอกาสการขาดยาได้ และควรเตรียมยาสามัญประจำบ้านเช่น ยาลดไข้ ยาลด น้ำมูก ยาแก้ปวดท้อง ผงเกลือแร่ ติดตัวไปด้วยในกรณีที่ต้องเดินทางไกลๆ อาจช่วยลดภาระการหาซื้อยา และทำการรักษาเบื้องต้นได้

     ข้อแนะนำจากแพทย์ในการดูแลสุขภาพช่วงเทศกาล
      - รักษาร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอ
      - ทานอาหารสุก ปรุงใหม่ สะอาด ระมัดระวังความสะอาดของน้ำดื่ม การปนเปื้อนสิ่งสกปรก รวมทั้งการผสมสารเสพติด (หากไปเที่ยวนอกบ้าน)
      - ไม่ควรบริโภคของมึนเมา บริโภคยาหรือสารที่ให้สติ ความระแวดระวังตน ความสามารถในการตัดสินใจลดลง
      - มี สติ รู้ตัวอยู่เสมอ ควรฝึกให้มีการสังเกตและรับรู้ต่อเหตุการณ์ผิดปกติ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ตน
      - ควรหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือ เกิดโรคระบาด

 

ที่มาข้อมูลและภาพ thaiza.com


สาวขี้โรคสังสรรค์อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ, สาวขี้โรคสังสรรค์อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ หมายถึง, สาวขี้โรคสังสรรค์อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ คือ, สาวขี้โรคสังสรรค์อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ ความหมาย, สาวขี้โรคสังสรรค์อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu