ได้กล่าวมาแล้วว่าร่างกายของสัตว์จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติเมื่อความดันออสโมซิสของของเหลวภายนอกเซลล์กับภายในเซลล์ใกล้เคียงกัน แต่เซลล์ที่มีชีวิตลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ มีส่วนประกอบของสารภายในเซลล์ และภายนอกเซลล์บางอย่างแตกต่างกันมาก นักวิทยาศาสตร์พบว่าเซลล์มีชีวิตทั้งของสัตว์และพืชสามารถสะสมเกลือแร่บางอย่างในปริมาณที่สูงมากกว่าที่พบอยู่ในของเหลวรอบๆ เซลล์มาก และก็มีเกลือแร่บางอย่างพบอยู่ในเซลล์น้อยกว่าภายนอกเซลล์มากด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในเซลล์ที่มีชีวิต ทั้งของพืชและสัตว์จะมี Na+ ต่ำกว่าของเหลวรอบๆ และมี K+ สูงกว่าของเหลวภายนอกเซลล์ และจะเป็นอยู่เช่นนี้เรื่อยไปตราบเท่าที่เซลล์ยังมีชีวิตและทำงานได้เป็นปกติ
การที่เซลล์มีชีวิตรักษาคุณสมบัตินี้ไว้ได้เพราะมี แอคทีฟ ทรานสปอร์ต นำพลังงานเคมี ATP ที่สะสมไว้จากการหายใจระดับเซลล์มาให้เซลล์สะสม K+ และขับ Na+ ออกไปภายนอกเซลล์ เซลล์ที่ทำหน้าที่ขับถ่ายหรือควบคุมระดับความดันออสโมซิส จะทำหน้าที่ได้ดีกว่าเซลล์อื่น เพราะเซลล์พวกนี้มีลักษณะพิเศษช่วยทำให้ทำหน้าที่ควบคุมส่วนประกอบของของเหลวทั้งภายในและภายนอกเซลล์ของสัตว์ได้ด้วย จากการตรวจดูลักษณะของเซลล์ที่ทำหน้าที่ขับถ่ายและควบคุมระดับความดันออสโมซิส ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดอิเล็กตรอนพบว่าภายในโซโตปลาสซึมมีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ เต็มไปด้วยเอ็นโดปลาสมิคเรคติคิวลัมแบบเรียบ (smoothendoplasmic recticulum) และไมโตคอนเดรียมากกว่าเซลล์มีชีวิตอื่นๆ นอกจากนี้ยังพบว่าเยื้อหุ้มเซลล์ด้านในมีลักษณะยื่นลึกเข้าไปในไซโตปลาสซึม คุณลักษณะเหล่านี้ช่วยให้เซลล์ทำหน้าที่ขับถ่ายและควบคุมระดับความดันออสโมซิสได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
เรายังมีความรู้เรื่องกลไกที่เกิดขึ้นกับแอคทีฟ ทรานสปอร์ตของ Na+ และ K+น้อยมาก แต่ก็มีผู้อธิบายไว้อย่างง่ายๆ ว่ามีสารประกอบที่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์เป็นตัวคอยรับเอา K+ เข้าสู่เซลล์ และขับ Na+ ออกจากเซลล์ สมมติว่าสารประกอบนั้นคือ X ทำหน้าที่เป็นสารซึ่งพร้อมจะจับ K+ จากภายนอกเซลล์แล้วนำไปปล่อยไว้ที่ผิวด้านในของเยื่อหุ้มเซลล์ในสภาพของ KX ทันทีทันใดที่โมเลกุลของ KX สัมผัสกับผิวของเยื่อหุ้มเซลล์ด้านในก็จะแตกตัวออกแล้วปล่อย K+ เข้าไปในเซลล์ ส่วน X ที่อยู่ทางผิวด้านในจะถูกATP ช่วยเปลี่ยนเป็นสาร Y ที่มีความสามารถในการจับ Na+ จากภายในเซลล์ได้ดีกว่า K+เกิดเป็นสาร Na Y ซึ่งเมื่อมีความเข้มข้นมากเพิ่มขึ้นก็จะแพร่ไปสู่ผิวนอกของเซลล์และแตกตัวปล่อย Na+ ออกสู่ของเหลวที่อาบอยู่รอบๆ เซลล์ และในทันทีที่ Na+ แตกตัว โมเลกุลY ก็จะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็น X ตามเดิมและพร้อมที่จะดูด K+ จากภายนอกเซลล์กลับเข้ามาได้อีก
จากการศึกษาต่อมเกลือ (salt gland) ของนกทะเลบางชนิด นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีสารพวกฟอสโฟไลปิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ กรดฟอสฟาติดิก (phosphatidic acid) ในปริมาณที่สูงมากอยู่ที่บริเวณผิวของเยื่อหุ้มเซลล์ สารนี้มีคุณสมบัติในการรวมตัวกับ Na+ ได้ดีกว่า K+ สันนิษฐานกันว่าเมื่อต่อมนี้กำจัดเกลือออกมาจากที่นกกินปลาทะเลเข้าไป กรดฟอสฟาติดิกน่าจะเป็นสาร Y ตามโครงแบบที่แสดงข้างบนคอยทำหน้าที่จับ Na+ จากภายในเซลล์มาปล่อยออกสู่ภายนอก และกำจัดออกมาจากต่อมเกลือในรูปของไดโซเดียมฟอสเฟต (disodium phosphate) ส่วนไดกลีเซอไรด์ (diglyceride) ที่เกิดขึ้นก็ยังคงอยู่ที่ผิวเซลล์ อาจทำหน้าที่เป็นสาร X ดูดเอา K+ ไอออนกลับเข้าไปปล่อยภายในเซลล์และก็จะถูก ATP เปลี่ยนให้กลับเป็นกรดฟอสฟาติดิก (Y) และดึงเอา Na+ กลับออกมาได้อีก
จุดไข่ปลาเป็นการแสดงเปรียบเทียบกับแบบที่แสดงการดูดเอา K+ เข้าสู่เซลล์ซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบแน่ว่าจะเกิดขึ้นภายในเซลล์ของต่อมเกลือของนกทะเล แต่ก็สามารถพบได้ในเซลล์ที่มีชีวิตอื่นๆ
สำหรับขบวนการแอคทีฟ ทรานสปอร์ต ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ขับถ่ายชนิดอื่น รวมทั้งที่เกิดขึ้นกับเซลล์ทุกเซลล์ที่มีชีวิต จะมีกลไกเหมือนกับแบบที่แสดงในภาพเช่นกัน
(ดูเพิ่มเติมเรื่อง การหายใจ)
ขบวนการแอคทีฟ ทรานสปอร์ต ภายในเซลล์อวัยวะขับถ่าย
ขบวนการแอคทีฟ ทรานสปอร์ต ภายในเซลล์อวัยวะขับถ่าย, ขบวนการแอคทีฟ ทรานสปอร์ต ภายในเซลล์อวัยวะขับถ่าย หมายถึง, ขบวนการแอคทีฟ ทรานสปอร์ต ภายในเซลล์อวัยวะขับถ่าย คือ, ขบวนการแอคทีฟ ทรานสปอร์ต ภายในเซลล์อวัยวะขับถ่าย ความหมาย, ขบวนการแอคทีฟ ทรานสปอร์ต ภายในเซลล์อวัยวะขับถ่าย คืออะไร
ขบวนการแอคทีฟ ทรานสปอร์ต ภายในเซลล์อวัยวะขับถ่าย, ขบวนการแอคทีฟ ทรานสปอร์ต ภายในเซลล์อวัยวะขับถ่าย หมายถึง, ขบวนการแอคทีฟ ทรานสปอร์ต ภายในเซลล์อวัยวะขับถ่าย คือ, ขบวนการแอคทีฟ ทรานสปอร์ต ภายในเซลล์อวัยวะขับถ่าย ความหมาย, ขบวนการแอคทีฟ ทรานสปอร์ต ภายในเซลล์อวัยวะขับถ่าย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!