ความเครียด คือ การหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกายนั่นเอง ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องมีอยู่เสมอในการดำรงชีวิต เช่น การทรงตัว เคลื่อนไหวทั่วๆไป มีการศึกษาพบว่าทุกครั้งที่เราคิดหรือมีอารมณ์บางอย่างเกิดขึ้นจะต้องมีการหดตัว เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแห่งใดแห่งหนึ่ง ในร่างกายเกิดขึ้นควบคู่เสมอ
ในทางวิชาการ ความเครียด หมายถึง ปฏิกิริยาของร่างกายและจิตใจ ที่มีต่อสิ่งที่มากระตุ้น ซึ่งคำว่าปฏิกิริยาก็ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง อาจจะเป็นการตอบสนองของร่างกายบางส่วน เช่น ปวดหัว หัวใจเต้นแรง เหงื่อออก หรือเป็นความรู้สึกกระวนกระวาย และสิ่งที่มากระตุ้น หรือสิ่งเร้าที่จะทำให้เกิดความเครียดก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน รายได้เสริมทำผ่าน net 100 % สร้างรายได้ 50,000 บ/ด ขั้นต่ำ ขอย้ำว่าขั้นต่ำ สมัครที่ www.abc.321.cn
ความเครียด มีทั้งประโยชน์และโทษ แต่ความเครียดที่เป็นโทษนั้น เป็นความเครียดชนิดที่เกินความจำเป็น แทนที่จะเป็นประโยชน์กลับกลายเป็นอุปสรรคและอันตรายต่อชีวิต เมื่อคนเราอยู่ในภาวะตึงเครียด ร่างกายก็จะเกิดความเตรียมพร้อมที่จะ
ชนิดของความเครียด
1. Acute stress คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นทันที และร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกัน โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด
- เสียง
- อากาศเย็นหรือร้อน
- ชุมชนที่คนมากๆ
- ความกลัว
- ตกใจ
- หิวข้าว
- อันตราย
2. Chronic stress หรือ ความเครียดเรื้อรัง เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง
- ความเครียดที่ทำงาน
- ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- ความเครียดของแม่บ้าน
- ความเหงา
สาเหตุของความเครียด
- สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น มลภาวะ ได้แก่ เสียงดังเกินไป จากเครื่องจักร เครื่องยนต์ อากาศเสียจากควันท่อไอเสีย น้ำเสีย ฝุ่น ละออง ยาฆ่าแมลง การอยู่กันอย่างเบียดเสียด ยัดเยียด เป็นต้น
- สภาพเศรษฐกิจที่ไม่น่าพอใจ เช่น รายได้น้อยกว่ารายจ่าย
- สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น การสอบแข่งขันเข้าเรียน
- เข้าทำงาน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น
- นิสัยในการกิน-ดื่ม ที่ส่งเสริมความเครียด เช่น ผู้ที่ดื่มกาแฟบ่อยๆ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ตลอดจนกินของกินที่มีน้ำตาลมากๆ
- มีสัมพันธภาพกับคนอื่นๆ ที่ไม่ราบรื่น มักมีข้อขัดแย้ง ทะเลาะ เบาะแว้งกับคนอื่นเป็นปกติวิสัย
- ความรู้สึกตนเองต่ำต้อยกว่าคนอื่น ต้องพยายามต่อสู้เอาชนะ
- ต้องการมีอำนาจเหนือผู้อื่น
นอกจากนี้ความเครียด ยังอาจเกิดจากอุปนิสัยหรือวิธีการดำเนินชีวิต ของคนบางคนที่มีลักษณะต่อไปนี้
- คนที่ชอบแข่งขันสูง ชอบท้าทาย ชิงดีชิงเด่นเอาชนะ
- คนที่เข้มงวด เอาจริงเอาจังกับทุกอย่างไม่มีการผ่อนปรน
- คนที่พยายามทำอะไรหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน
- คนที่มีอารมณ์รุนแรงอัดแน่นในใจเป็นประจำ
- คนที่ใจร้อน จะทำอะไรต้องให้ได้ผลทันทีไม่ชอบรอนาน
คุณมีความเครียดหรือไม่
ถามตัวคุณเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่
อาการแสดงทางร่างกาย
มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง
อาการแสดงทางด้านจิตใจ
วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
อาการแสดงทางด้านอารมณ์
โกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด ซึมเศร้า มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตัวเอง
อาการแสดงทางพฤติกรรม
รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่สุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัว
การแก้ไขเมื่ออยู่ในภาวะที่เครียดมากให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำ 10 ประการ
- ให้นอนเป็นเวลาและตื่นเป็นเวลา เวลาที่เหมาะสมสำหรับการนอนคือเวลา 22.00น.เมื่อภาวะเครียดมากจะทำให้ความสามารถในการกำหนดเวลาของชีวิต( Body Clock )เสียไป ทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับหรือตื่นง่าย การกำหนดเวลาหลับและเวลาตื่นจะทำให้นาฬิกาชีวิตเริ่มทำงาน และเมื่อความเครียดลดลง ก็สามารถที่จะหลับได้เหมือนปกติ ในการปรับตัวใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ บางครั้งเมื่อไปนอนแล้วไม่หลับเป็นเวลา 45 นาที ให้หาหนังสือเบาๆมาอ่าน เมื่อง่วงก็ไปหลับ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือให้ร่างกายได้รับแสงแดดยามเช้า เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายปรับเวลา
- หากเกิดอาการดังกล่าวต้องจัดเวลาให้ร่างกายได้พัก เช่นอาจจะไปพักร้อน หรืออาจจะจัดวาระงาน งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนก็ให้หยุดไม่ต้องทำ
- ให้เวลากับครอบครัวในวันหยุด อาจจะไปพักผ่อนหรือรับประทานอาหารนอนบ้าน
- ให้เลื่อนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆในช่วงนี้ เช่นการซื้อรถใหม่ การเปลี่ยนบ้านใหม่ การเปลี่ยนงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดความเครียด
- หากคุณเป็นคนที่ชอบทำงานหรือชอบเรียนให้ลดเวลาลงเหลือไม่เกิน 40 ชม.สัปดาห์
- การรับประทานอาหารให้รับประทานผักให้มากเพราะจะทำให้สมองสร้าง serotonin เพิ่มสารตัวนี้จะช่วยลดความเครียด และควรจะได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ
- หยุดยาคลายเครียด และยาแก้โรคซึมเศร้า
- ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอาจจะมีการเต้นรำด้วยก็ดี
หากปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วยังมีอาการของความเครียดให้ปรึกษาแพทย์
เมื่อใดต้องปรึกษาแพทย์
- เมื่อคุณรู้สึกเหมือนคนหลงทางหาทางแก้ไขไม่เจอ
- เมื่อคุณกังวลมากเกินกว่าเหตุ และไม่สามารถควบคุม
- เมื่ออาการของความเครียดมีผลต่อคุณภาพชีวิตเช่น การนอน การรับประทานอาหาร งานที่ทำ ความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง
วิธีลดความเครียด
วิธีลดความเครียดมีหลายวิธี
-
วิธีแก้ไขที่ปลายเหตุ ได้แก่ การใช้ยา เช่น ยาหม่อง ยาดม ยาแก้ปวด ยาลดกรดในกระเพาะ ยากล่อมประสาท แต่วิธีการดังกล่าวไม่ได้แก้ไขความเครียดที่ต้นเหตุ อาจทำให้ความเครียด นั้นเกิดขึ้นได้อีก วิธีที่ดีที่สุด คือ วิธีแก้ไขที่ต้นเหตุ
-
วิธีแก้ไขที่ต้นเหตุ ได้แก่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เอื้ออำนวยให้เกิดความเครียด เช่น งานอดิเรกที่ชอบ ฝึกออกกำลังกาย บริหารร่างกายแบบง่ายๆ เป็นต้น
-
เปลี่ยนแปลงนิสัยและทัศนคติต่อการดำเนินชีวิต เช่น ลดการแข่งขัน ผ่อนปรน ลดความเข้มงวด ในเรื่องต่างๆ
-
หาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการ เช่น รู้ว่าอาหาร เครื่องดื่มบางประเภท ช่วยส่งเสริมความเครียด
-
สำรวจและเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อตัวเองและผู้อื่น เช่น มองตัวเองในแง่ดี มองผู้อื่นในแง่ดี
-
สำรวจและปรับปรุง สัมพันธภาพต่อคนในครอบครัวและสังคมภายนอก
-
ฝึกผ่อนคลายโดยตรง เช่น การฝึกหายใจให้ถูกวิธี การฝึกสมาธิ การออกกำลังกายแบบง่ายๆ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนวด การสำรวจ ท่านั่ง นอน ยืน เดิน การใช้จินตนาการ นึกภาพที่รื่นรมย์
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคจากความเครียดเรื้อรัง
1. ปัจจัยทั่วไปที่มีผลต่อความเครียด ได้แก่
ปัจจัยที่มีผลความรุนแรงของความเครียด
- การอบรมเลี้ยงดูเด็ก เด็กที่ได้รับความรักความอบอุ่นและได้รับการอบรมที่ดีจะมีความทนทานต่อความเครียดมากกว่าเด็กที่มีครอบครัวที่แตกแยก มีการะเลาะกันในครอบครัว
- บุคลิกภาพของคนที่จะเครียดง่าย
- กรรมพันธุ์ คนบางครอบครัวจะมีความสามารถในการผ่อนคลายได้น้อยกว่าคนอื่น จึงทำให้เครียดเรื้อรัง
- โรคบางชนิดที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรค rheumatoid arthritis โรคภูมิแพ้
- ระยะเวลาและปริมาณความเครียดที่ได้รับ หากเจอความเครียดอย่างมากละเป็นเวลานานจะทำให้เกิดโรคจากความเครียดได้มาก
บุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดความเครียดได้ง่าย
- คนวัยรุ่น เนื่องจากยังขาดประสบการณ์ต่อการรับสภาพและการปรับตัวต่อความเครียด
- ผู้หญิงจะเกิดความเครียดได้บ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากผลของฮอร์โมนเพศ
- ผู้หญิงทำงานจะมีความเครียดทั้งที่ทำงานและที่บ้าน
- คนที่มีการศึกษาต่ำ
- ม่ายหรือคนที่หย่า
- คนตกงาน
- คนที่อยู่คนเดียว
- คนที่อาศัยในเมืองจะเครียดง่ายกว่าคนในชนบท
-
ความเครียดในวัยเด็ก พบว่าเด็กที่ครอบครัวอบอุ่นจะมีระดับฮอร์โมนความเครียดต่ำกว่าเด็กที่ครอบครัวแตกแยก สาเหตุสำคัญของความเครียดในเด็ก ได้แก่ แม่ที่เป็นโรคซึมเศร้าหรือก้าวร้าวจะเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด รองลงมาได้แก่ความยากจน และการอยู่ในชุมชนแออัด เด็กผู้หญิงจะเกิดความเครียดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่เด็กผู้ชายจะเกิดความเครียดจากการเรียนที่ตกต่ำการเปลี่ยนโรงเรียน
- ความเครียดในผู้สูงอายุ ท่านที่อยู่กับผู้สูงอายุต้องเข้าใจผู้สูงอายุด้วยเพรากลุ่มนี้จะเครียดได้บ่อยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ไม่สามารถทำได้อย่างตอนอายุน้อย การเจ็บป่วยซึ่งจะพบมากขึ้น นอกจากนั้นสถานะในสังคมก็เปลี่ยนแปลงไปจากผู้นำในครอบครัวเป็นผู้ที่ต้องพึ่งพาคนอื่น ทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย นอกจากนั้นความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับกับความเครียดก็ลดลง
- ผู้ที่ดูแลคนอื่น เช่นดูแลคู่ครองที่เป็นอัมพาต กลุ่มคนเหล่านี้จะมีโรคที่เกิดจากความเครียดได้สูงกว่ากลุ่มอื่นโดยเฉพาะกลุ่มดังต่อไปนี้
- มีรายได้ต่ำ
- อยู่กับผู้ป่วยสองต่อสอง
- ผู้ป่วยที่ต้องดูแลอยู่ในสภาพที่ช่วยตัวเองไม่ได้
- ไม่สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยที่ต้องดูแล
นอกจากนั้นยังพบว่ากลุ่มพยาบาลที่ต้องให้บริการผู้ป่วยก็มีความเครียดสูง
- ผู้ที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายโกรธง่าย โมโหร้ายจะเกิดโรคจากความเครียดได้ง่าย
- ผู้ที่ขาดญาติหรือมิตร เวลามีปัญหาไม่สามารถปรึกษาผู้อื่นจะเกิดโรคได้ง่ายกว่าคนอื่น
- เครียดจากงาน จากการสำรวจที่ประเทศอเมริกาพบว่าร้อยละ 40 บอกงานที่ทำอยู่ทำให้เกิดความเครียด ความเครียดที่เกิดจากงานมักจะเป็นความเครียดเรื้อ ทำให้เกิดเกิดอาการเสียสมาธิ ง่วงนอน ปวดหลัง เกิดอุบัติเหตุขณะทำงานได้ง่าย ลักษณะที่เกิดความเครียดงาน
- ขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างเจ้านายและลูกน้อง
- ไม่มีความมั่นคงในงาน
- ชั่วโมงทำงานมากเกินไป
- ผู้ที่จากครอบครัวเป็นเวลานาน
- รายได้ไม่เป็นไปตามความหนักและความรับผิดชอบของงาน
- ไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบ
- ความคาดหวังของคนรับบริการและเจ้านายสูงเกินความเป็นจริง