อาณาจักรล้านนามีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์-กลางด้านการเมืองและวัฒนธรรมของภาคเหนือตั้งแต่สมัยพ่อขุนมังรายแห่งเมืองนครเงินยางเชียงแสน เสด็จลงมาปราบปรามแคว้นหริภุญไชยได้ และทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๑๘๓๙เมืองเชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาตลอดมา ล้านนาเริ่มเสื่อมอำนาจลงในพ.ศ. ๒๐๖๙ และตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่าตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๗สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงยึดเมืองเชียงใหม่เข้ารวมอยู่ในพระราชอาณาจักรได้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๗เป็นต้นมา
เครื่องถ้วยล้านนามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ส่วนมากมักทำด้วยเนื้อดินละเอียดและบางไม่หนักและเทอะทะอย่างเครื่องสังคโลก แต่น้ำเคลือบนั้นส่วนใหญ่แล้วสวยงามสู้เคลือบสังคโลกไม่ได้ แม้ว่าบางเตา เช่น เตากาหลง และเตาที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จะทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีเขียวแบบเซลาดอนได้สวยงามไม่แพ้เครื่องสังคโลกก็ตาม ลักษณะเตาเผาในเขตภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นเตากูบก่อด้วยดินแล้วเผาให้แข็งตัว ลักษณะรูปร่างและการแบ่งสัดส่วนของเตาคล้ายกับเตาสมัยสุโขทัย คือ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหน้าเป็นที่ใส่เชื้อเพลิง ตอนกลางเป็นที่ตั้งผลิตภัณฑ์เข้าเผา และส่วนท้ายเป็นปล่องไฟระบายความร้อน ผลิตภัณฑ์แต่ละแหล่งคล้ายกันมาก จะแตกต่างเฉพาะในรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น แหล่งเตาเผาที่สำคัญคือ
เตาเวียงท่ากาน ตั้งอยู่ที่เวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นคนโทและคนทีเนื้อดินปั้นแบบกึ่งสโตนแวร์ เนื้อบางละเอียดไม่เคลือบ ตกแต่งลวดลายด้วยการทาน้ำดินหรือสลิปสีแดง แล้วเขียนลวดลายด้วยสีขาวที่บริเวณรอบตัวและไห เป็นลายแนววงกลมซ้อนและลายดอกไม้ก้านขด เป็นต้น ผลิตภัณฑ์จากเตาเวียงท่ากานน่าจะมีการพัฒนาการก่อนเตาอื่นๆ และอาจจะผลิตกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗ แล้วจากการที่พบผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาเผานี้เป็นจำนวนมากที่เมืองหริภุญไชย จึงเรียกชื่อภาชนะเหล่านี้ว่า เครื่องถ้วยหริภุญไชย
เตาสันกำแพง ตั้งอยู่ที่อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะผลิตภัณฑ์มีเนื้อดินปั้นสีเทาอมแดงและหยาบ เคลือบด้วยน้ำเคลือบสีขาวนวล มีสีเขียวอ่อนและน้ำตาล มักจะมีลักษณะเคลือบขุ่น โดยทั่วไปตกแต่งด้วยลายเขียนใต้เคลือบสีดำ ลายที่นิยมมากที่สุดเป็นลายปลาคู่ซึ่งว่ายน้ำตามกันภายในวงกลม ซึ่งลักษณะลายปลาแบบนี้จีนเรียกว่า "หยิน-หยาง" แต่ที่น่าสนใจ คือลายปลาคู่ประทับลงในเนื้อดินปั้น ลักษณะของจานปลานี้คล้ายกับเครื่องถ้วยจีนมาก ส่วนลวดลายอื่นๆ ก็มี เช่น ลายวงกลมซ้อนกัน ลายรูปสัตว์ในวงกลม และลายดอกไม้ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาก ได้แก่ จาน ชาม ขวด ตะคัน ไห กระปุกและคนที เป็นต้น
เตาสันทราย ตั้งอยู่ที่บ้านสันทราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นภาชนะเคลือบสีน้ำตาล ปรากฏรอยน้ำเคลือบสีน้ำตาลเข้มไหลเยิ้มลงเป็นทางตลอดใบ แต่มีภาชนะที่เคลือบ ๒ สีด้วย เช่น ไห ซึ่งตัวไหเคลือบสีน้ำตาลส่วนคอถึงปากเคลือบสีเขียว
เตาบ้านโปงแดง หรือเตาพาน ตั้งอยู่ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ลักษณะผลิตภัณฑ์มีเนื้อดินปั้นบางละเอียดฝีมือประณีต เคลือบใสมีสีขาวนวล สีน้ำตาลอ่อน สีเขียวอ่อน การตกแต่งมีทั้งเคลือบสีเดียวและเขียนลายใต้เคลือบด้วยสีดำหรือตกแต่งด้วยลายขูดขีดใต้เคลือบเป็นลายดอกไม้และลายวงกลมซ้อน
เตาวังเหนือ ตั้งอยู่ที่อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง เตาในบริเวณนี้ตั้งอยู่กระจัดกระจายไปหลายหมู่บ้านโดยเฉพาะที่ทุ่งฮั้ว จึงเรียกเครื่องถ้วยจากที่นี้อีกชื่อหนึ่งว่า "เครื่องถ้วยเตาทุ่งฮั้ว" ลักษณะผลิตภัณฑ์ส่วนมากมีเนื้อดินปั้นบางและละเอียดมาก ฝีมือประณีตกว่าที่อื่นๆ ในภาคเดียวกัน เคลือบด้วยน้ำเคลือบที่บางมากเป็นสีขาวนวล หรือสีเขียวใส และมักไม่ประดับลวดลายใดๆ ผลิตภัณฑ์ที่พบ เช่น กระปุกเล็กๆจาน ชาม ถ้วย ขวด เป็นต้น
เตาเวียงกาหลง ตั้งอยู่ที่อำเภอเวียงกาหลงจังหวัดลำปาง ใกล้ฝั่งแม่น้ำลาว ลักษณะผลิตภัณฑ์มีเนื้อดินปั้นขาวบางและละเอียด ตกแต่งด้วยการเคลือบใสสีเขียวอ่อนปนเทาเขียนลายใต้เคลือบสีดำ ลายที่นิยมมากเป็นลายหวัดๆ คล้ายลายนกหรืออีกากำลังบิน นอกจากนั้นก็มีลายดอกไม้และลายก้านขดด้วย
เตาพะเยา ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยาลักษณะผลิตภัณฑ์มีเนื้อดินปั้นสีนวล น้ำเคลือบสีน้ำตาลทอง ใต้ก้นและรอยขอบปาก ไม่เคลือบทั้งนี้เพราะเกี่ยวกับการวางซ้อนในเวลาเข้าเตาเผา
เตาบ่อสวก ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อสวก จังหวัดน่านลักษณะผลิตภัณฑ์มีเนื้อดินปั้นแกร่งสีน้ำตาล น้ำเคลือบสีน้ำตาลปนเขียว เคลือบบางเตาขุนยวม ตั้งอยู่ที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลิตภัณฑ์มีเนื้อดินปั้นสีเทา น้ำเคลือบสีน้ำตาล เคลือบบาง
เครื่องถ้วยล้านนา
เครื่องถ้วยล้านนา, เครื่องถ้วยล้านนา หมายถึง, เครื่องถ้วยล้านนา คือ, เครื่องถ้วยล้านนา ความหมาย, เครื่องถ้วยล้านนา คืออะไร
เครื่องถ้วยล้านนา, เครื่องถ้วยล้านนา หมายถึง, เครื่องถ้วยล้านนา คือ, เครื่องถ้วยล้านนา ความหมาย, เครื่องถ้วยล้านนา คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!