ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
แมกซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันเสียชีวิต

     14 มิถุนายน พ.ศ. 2463 แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) นักสังคมวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวเยอรมัน เสียชีวิต เวเบอร์เป็นผู้ก่อตั้งวิชาสังคมศาสตร์สมัยใหม่ และรัฐประศาสนาศาสตร์ เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2407 ที่เมืองเออร์เฟิร์ต (Erfurt) ชื่อเดิมคือ Maximilian Carl Emil Weber ตอนอายุ 13 ปีเขาเขียนความเรียง 2 ชิ้นคือ "ทิศทางของประวัติศาสตร์เยอรมัน พร้อมกับการอ้างอิงพิเศษถึงจุดยืนของจักรพรรติและสันตะปาปา" (About the course of German history, with special reference to the positions of the emperor and the pope) และ "อาณาจักรโรมัน ตั้งแต่ช่วงของคอนสแตนตินที่หนึ่ง จนถึงช่วงของการอพยพของประเทศ" (About the Roman Imperial period from Constantine to the migration of nations) ในปี 2425 เข้าเรียนนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก (University of Heidelberg) และมหาวิทยาลัยเบอร์ลินจนจบปริญญาเอกด้านกฎหมาย นอกจากนั้นเขายังสนใจวิชาเศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ยุคกลาง (medieval history) และเทววิทยา (theology) เขาทำงานเป็นทนายและเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นก็ยังทำงานวิชาการและเขียนบทความออกมาอีกจำนวนมาก ผลงานชิ้นของเขาคือความเรียง “จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณทุนนิยม” (The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism) ซึ่งเขาโยงศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์เข้ากับระบบทุนนิยม เพราะอุดมคติในนิกายโปรเตสแตนต์คือการทำงานหนักและกินอยู่อย่างประหยัด ซึ่งเป็นมูลเหตุให้เกิดการสะสมทรัพย์เพื่อใช้ในการลงทุน งานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นคือ “การเมืองในฐานะที่เป็นอาชีวะ" (Politics as a Vocation) ซึ่งเขาได้นิยาม "รัฐ" ว่าคือหน่วยองค์ (entity) ซึ่งผูกขาดการใช้กำลังทางกายภาพที่ถูกกฎหมาย การเมืองจึงเป็นเรื่องของอำนาจ นิยามนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่มาจนถึงทุกวันนี้

แมกซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันเสียชีวิต, แมกซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันเสียชีวิต หมายถึง, แมกซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันเสียชีวิต คือ, แมกซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันเสียชีวิต ความหมาย, แมกซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันเสียชีวิต คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

วันนี้ในอดีต : 08 มิถุนายน

วันนี้ในอดีต : เดือนมิถุนายน

วันนี้ในอดีต : เดือนมิถุนายน

คำยอดฮิต

Sanook.commenu