ปิโตรเลียมมีลักษณะแหล่งกักเก็บอย่างไร??
ปิโตรเลียมมีลักษณะแหล่งกักเก็บอย่างไร
ปิโตรเลียมมีลักษณะแหล่งกักเก็บอย่างไร
การกักเก็บปิโตรเลียม petroleum traps ตามคำจำกัดความของนักธรณีวิทยาแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1 Structural traps เป็นการกักเก็บที่เกิดขึ้นจากกการเกิดการเปลี่ยนแปลงของชั้นหินที่มีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอยู่ด้วย ตัวอย่างของ structural traps ได้แก่ fault trap และ anticlines 1 1 Fault trap เกิดจากชั้นหินต่างๆ ที่อยู่ที่ด้านต่างๆ ของรอยเลื่อนของหิน ได้เกิดการเคลื่อนตัวไปอยู่ในตำแหน่งที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของปิโตรเลียม ได้แก่ด้านที่มีชั้นหินที่ไม่สามารถให้ของไหลซึมผ่านไปได้ impermeable layer ที่อยู่ด้านหนึ่งของ fault เกิดการเคลื่อนตัวไปอยู่ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับชั้นหินที่มีปิโตรเลียมอยู่ petroleum bearing formation ทำให้การเคลื่อนที่ของปิโตรเลียมได้ถูกสกัดกั้นไว้โดย impermeable layer 1 2 Anticline เป็นโครงสร้างที่เกิดการโก่งตัวของชั้นหินเป็นรูปโค้ง arch ปิโตรเลียมได้เคลื่อนที่ขึ้นสู่ส่วนบนสุดของโครงสร้างนี้ โดยมีหิน impermeable ที่สกัดกั้นไม่ให้ปิโตรเลียมเคลื่อนที่ต่อไปได้ เกิดเป็น petroleum trap ต่อไป 2 Stratigraphic traps เป็นการกักเก็บที่เป็นผลจากการที่แหล่งกักเก็บ reservoir bed ได้ถูกปิดกั้นโดยชั้นหินอื่นๆ หรือชั้นหินเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเรื่องความพรุน porosity หรือความสามารถให้ของไหลซึมผ่านไปได้ permeability ใน reservoir bed นั้นเอง ข้อมูลจาก กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!