จากจิ๊กกะโล่ถึงโก๋?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp พอจะอธิบายได้หรือไม่ว่า ทำไมเราจึงเรียกวัยรุ่นพวกหนึ่งว่า nbsp จิ๊กโก๋ nbsp คำนี้มีที่มาอย่างไร nbsp เพราะเปิดพจนานุกรมแล้วไม่เจอ อานันท์ กรุงเทพฯ
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp พอจะอธิบายได้หรือไม่ว่า ทำไมเราจึงเรียกวัยรุ่นพวกหนึ่งว่า nbsp จิ๊กโก๋ nbsp คำนี้มีที่มาอย่างไร nbsp เพราะเปิดพจนานุกรมแล้วไม่เจอ อานันท์ กรุงเทพฯ
ดร นิตยา กาญจนะวรรณ กลาวถึงเรื่องนี้ไว้ใน “ สตรีสาร quot ธันวาคม พ ศ ๒๕๓๖ ดังนี้ ที่มาของคำ จิ๊กกะโล่ มาจากศัพท์เดิมในภาษาอังกฤษคือ gigolo มีความหมายที่ไม่ดีนัก นั่นคือผู้ชายบริการทางเพศหรือผู้ชายที่รับจ้างเป็นคู่ควงหรือคู่เต้นรำของผู้หญิงความหมายแรกนั้น ในสมัยนี้คงจะเรียกกันง่าย ๆ ได้ว่าไอ้ตัว แต่ความหมายหลังนั้นสันนิษฐานว่าจะมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า gigoletten ที่แปลว่า หญิงเต้นรำหรือโสเภณี หรือมาจาก giguer ซึ่งแปลว่า เต้นรำ หรืออาจจะมาจากคำว่า gigue ซึ่งแปลว่า ซอ ก็ได คำนี้เมื่อเข้ามาสู่ภาษาไทยในสมัยแรกหมายถึงหนุ่มสำอางแต่งตัวโก้ ๆ จะเป็นคู่เต้นรำหรือไม่ก็ได้ แต่มีความหมายกึ่ง ๆ ไอ้ตัว หรือแมงดา และต้องมีลักษณะหยิบหย่ง ไม่ทำงานทำการเป็นหลักฐานด้วย ต่อมาในสมัยทศวรรษที่ ๕๐ เด็กหนุ่ม ๆ ชาวไทยนิยมแต่งกายชนิดที่เรียกว่า เฉี่ยว ๆ เท่ ๆ แบบอเมริกัน ตามอย่างเจมส์ ดีน และเอลวิส เพรสลีย์ แต่ไม่ใช่แต่งรัดรูปจนคับติ้วอย่างที่คนบางคนเข้าใจ คำว่า จิ๊กโก๋ จึงเกิดขึ้น โดยเพี้ยนมาจากจิ๊กกะโล่ ความหมายเงา ๆ ที่เหลือคือ การแต่งกายอย่างโก้หรูและมีลักษณะคล่องแคล่ว ต่อมาเพื่อหลีกเลี่ยงความหมายที่ไม่ดีของคำว่า จิ๊กกะโล่ คำว่า จิ๊กโก๋ จึงกร่อนลงไปอีก จนกลายเป็น โก๋ เฉย ๆ เนื่องจากหนุ่ม ๆ ในสมัยนั้นนิยมไว้ผมทรงสูง หวีเสยขึ้นและใส่น้ำมันเงาวับแบบเอลวิส ไม่ใช่ทรงลานบินอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด ผู้ที่ไม่ชอบใจจึงมักจะเรียกอย่างรังเกียจว่าพวกจิ้งเหลน เพราะเป็นสัตว์เลื้อยคลานลักษณะคล่องแคล่วว่องไวที่มีเกล็ดเป็นมันเงา แต่คำนี้โก๋ไม่ค่อยจะชอบนัก เพราะมีความนัยเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยาม ความเข้าใจผิดในเรื่องการแต่งกายว่าคงจะรัดรูปคับติ้ว ซึ่งเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นในสมัยต่อมา ประกอบกับคำว่า จิ้งเหลนทำให้บางคนคิดว่า จิ๊กโก๋ เพี้ยนมาจาก เก็กโก gecko ที่แปลว่า ตุ๊กแก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ที่จริงแล้ว โก๋ เพี้ยนมาจาก จิ๊กกะโล่ตามที่อธิบายมาข้างต้น “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!