ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ลูกก้าวร้าว ควรรับมืออย่างไร, ลูกก้าวร้าว ควรรับมืออย่างไร หมายถึง, ลูกก้าวร้าว ควรรับมืออย่างไร คือ, ลูกก้าวร้าว ควรรับมืออย่างไร ความหมาย, ลูกก้าวร้าว ควรรับมืออย่างไร คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ลูกก้าวร้าว ควรรับมืออย่างไร

พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กปัจจุบันเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย บางครั้งไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเป็นปัญหาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และมุมมองที่แตกต่างกัน บางครั้งพฤติกรรมก้าวร้าวก็มีประโยชน์เพื่อช่วยปกป้องเด็กจากสถานการณ์ที่คุกคามหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็กได้
          พฤติกรรมก้าวร้าวเป็นได้ทั้งที่กระทำโดยการใช้กำลังทำลายข้าวของ ทำร้ายผู้อื่น หรือกระทำโดยวาจา ด่าว่าหยาบคาย เสียดสี กระทบกระเทียบ ทำร้ายจิตใจความรู้สึกของผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลต่อความรู้สึก ความสัมพันธ์กับ ผู้อื่นทั้งสิ้น
          โดยทั่วไปพฤติกรรมก้าวร้าวจะถือว่าเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อเกิดขึ้นบ่อยและมีความรุนแรง กระทบต่อการ ดำเนินชีวิตของเด็ก ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัว เพื่อน หรือครู ซึ่งปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวนี้หากไม่ได้รับการดูแลแก้ไขที่เหมาะ สมจะกลายเป็นอุปนิสัยติด ตัวจนถึงวัยผู้ใหญ่ กลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ถ้าหากจะต้องเป็นพ่อแม่คนและใช้พฤติกรรมก้าวร้าวในการแก้ปัญหาก็จะกลายเป็นแบบอย่างให้เด็กรุ่นลูกดำ เนินตาม สร้างปัญหาให้กับคนรุ่นต่อๆไปไม่จบสิ้น
          สาเหตุของปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กขึ้นกับปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ปัจจัยทางชีวภาพ จิต ใจ และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ โครง สร้างทางสมองและระดับของสารเคมีที่ทำหน้าที่นำสัญญาณประสาทในสมอง ซึ่งจะมีผลต่อพื้นอารมณ์ของเด็กแต่ละคนทำให้เป็นคนใจ ร้อนหรือใจเย็น
          ส่วนปัจจัยทางด้านจิตใจ ได้แก่ ลักษณะบุค ลิกภาพของเด็กที่เกิดจากการเลี้ยงดู ทำให้เกิดมีความมั่นคงทางด้านอารมณ์สูงหรือต่ำ มีความอดทนรอคอยได้มากหรือน้อย หรือเด็กที่ถูกเลี้ยงดูโดยการตามใจ เอาแต่ใจตัวเอง มักมีปัญหาในด้านนี้ ส่วนปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ตัว อย่างพฤติกรรมก้าวร้าวในครอบ ครัว ตัวอย่างพฤติกรรมก้าวร้าว ผ่านทางสื่อ อาทิ ทีวี วิดีโอเกม หรือภาพยนตร์
          การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวแบ่งได้เป็น 2 ระดับคือ การป้องกันก่อนเกิดปัญหา และการรับมือขณะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว การป้องกันก่อนเกิดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือ พ่อแม่ต้องทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่างในการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง ไม่ใช้ความรุนแรง และใช้วิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ การพูดจาที่ดี ท่าทีที่ดี เพราะถ้าหากพ่อแม่ทำไม่ได้ก็เป็นไปได้ยากที่จะสอนลูกได้สำเร็จ
          นอกจากพ่อแม่จะทำได้แล้ว ก็ยังต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงฝึกให้เด็กรู้ว่าคนเรามีความรู้สึกไม่พอใจได้แต่ต้องแสดงออกให้เหมาะสม สอนให้เด็กรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักสิทธิของตนเองและเคารพสิทธิผู้อื่น มีทักษะในการควบ คุมอารมณ์ตนเอง การสื่อสารด้วยคำพูดถึงอารมณ์ ความรู้สึกไม่พอใจของตนเองออกมา การชะลออารมณ์โกรธ เช่น นับ 1 ถึง 10 การฝึกผ่อนลมหาย ใจ การให้อภัยไม่ถือโกรธ เป็น ต้น รวมทั้งการชมเด็กเมื่อเด็กสามารถควบคุมตนเองและแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม นอกจากนี้พ่อแม่ควรต้องดูแลสื่อที่เด็กได้รับ อาทิ ทีวี. ภาพ ยนตร์ เกม ควรหลีกเลี่ยงประ เภทที่มีเนื้อหาเป็นความก้าว ร้าวรุนแรง สำหรับการป้องกันปัญหาที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือ การทำให้บรรยากาศในบ้านอบอุ่น มีความใกล้ชิดกันระ หว่างสมาชิกในครอบครัว เด็กจะมีความอบอุ่นใจ มีความมั่น คงทางจิตใจ การควบคุมอารมณ์ ก็จะทำได้ดีขึ้นด้วย

สำหรับการช่วยเหลือขณะเด็กเกิดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ได้แก่
          1. สื่อให้เด็กรู้ว่าผู้ใหญ่ยอมรับอารมณ์ความรู้สึกของเขาแต่ไม่ยอมรับพฤติกรรมก้าวร้าว และแนะให้เด็กแสดง ออกทางอื่นที่เหมาะสมกว่า เช่น แม่พูดว่า "แม่รู้ว่าหนูโกรธ แต่หนูจะใช้วิธีทำลายข้าวของแบบนี้ไม่ได้ ถ้าหนูโมโหมากต้องไประบายอารมณ์ทางอื่นแทน หนูจะขว้างปาหมอนหรือทุบตีตุ๊กตาก็ได้"

          2. ถ้าเห็นว่าการกระทำของเด็กรุนแรง มีการทำลายข้าวของเสียหายหรืออาจเกิดอันตราย ผู้ใหญ่อาจจำเป็นต้องเข้าจัดการทันที โดยการจับเด็กไว้ หรือกอดไว้เพื่อระงับเหตุ

          3. ผู้ใหญ่ต้องรับฟังเด็ก ให้โอกาสเด็กอธิบายเล่าเหตุการณ์โดยไม่ด่วนสรุปว่าเขาผิด บางครั้งเด็กต้องการเพียงการรับฟังจากผู้ใหญ่บ้าง

          4. เมื่อเด็กสงบควรชี้แจงเหตุผลให้เด็กเข้าใจถึงสาเหตุที่ไม่ควรทำด้วยคำอธิบายที่กะทัด รัดชัดเจน

          5. หลีกเลี่ยงคำพูด คำตำหนิ ที่ทำให้เกิดปมด้อย ถ้อย คำเช่นว่า เด็กนิสัยไม่ดี เด็กดื้อ เด็กเกเร เด็กก้าวร้าว อันธพาล ถ้าจะตำหนิก็ตำหนิที่การกระทำ เช่น "แม่ไม่ชอบที่หนูเอาไม้ไปขว้างคุณปู่แบบนี้"

          6. ให้เด็กรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองกระทำลงไป เช่น เก็บกวาดข้าวของที่เสียหายจากการอาละวาด ขอโทษผู้ใหญ่ งดค่าขนม งดดูทีวี หรือเล่นเกม เป็นต้น

การแก้ไขปรับพฤติกรรมเด็กเป็นงานยาก ต้องใช้ความอดทนพยายามและความสม่ำ เสมอ แต่ถ้าทำได้สำเร็จก็ถือว่าคุ้มค่าเหนื่อย เพราะเราจะได้คนที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมไทยที่ต้องการความสงบและความสมานฉันท์เช่นในยุคสมัยนี้

ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข โดย นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย


ที่มาข้อมูและภาพ thaihealth.or.th

ลูกก้าวร้าว ควรรับมืออย่างไร, ลูกก้าวร้าว ควรรับมืออย่างไร หมายถึง, ลูกก้าวร้าว ควรรับมืออย่างไร คือ, ลูกก้าวร้าว ควรรับมืออย่างไร ความหมาย, ลูกก้าวร้าว ควรรับมืออย่างไร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu