จังหวัดตากนอกจากประเพณีลอยกระทงเช่นเดียวกับจังหวดอื่นทั่วไปแลว ยังมีการลอยกระทงสายที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน เริ่มแรกของประเพณีเกิดขึ้นที่อําเภอบานตากและเปนรูปแบบในการจัดประเพณีลอยกระทงสายในอําเภอใกล้เคียง ปจจุบันประเพณีลอยกระทงสาย ไดรับการสนับสนุนและเผยแพร่จัดงานในระดับจังหวัด และถือได้วาเป็นประเพณีที่เปนเอกลกษณ์ ของจังหวัดตาก และเปนที่ยินดีกับชาวจังหวัดตากอย่างยิ่งที่การต้อนรับผู้นํา เอเปค 21ประเทศในการลอยกระทงสายของจังหวัดตากและการลอยโคมของจังหวัดเชียงใหม่ได้รวมแสดงในราชพิธีพยหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ ทําใหประเพณีลอยกระทงสายของจังหวัดตากเปนที่รูจักกันทั่วประเทศและขยายไประดับโลก การลอยกระทงสายนี้มีการพัฒนาการคัดมาจากประเพณีการลอยกระทงเปนสิ่งที่เกิดจากภูมิปญญาท้องถิ่น ที่มีความพรอมด้วยปัจจัยวัสดุธรรมชาติ คือกะลามะพร้าว ซึ่งมะพร้าวมีมากในภูมิภาคนี้ซึ่งเห็นได้ จากอาหารพื้นเมืองของชาวจังหวดตากที่มีสวนประกอบของมะพร้าวเปนสําคัญ อาหารที่เป็นที่รูจักกันดีได้แก่ ไส้เมี่ยง เมี่ยงคำ เปนตน จากวัสดุธรรมชาติที่ใชปจจัยเอื้อก่อให้ เกิดความคิดสร้างสรรค์ ผนวกกับการมีนิสัยที่รักสนุกสนานรื่นเริง จึงเกิดประเพณีลอยกระทงสายขึ้นเป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปญญาท้องถิ่น การจัดประเพณีลอยกระทงสายแตเดิมเริ่มที่อําเภอบ้านตากนั้น จะตรงกับชวงวันเพ็ญ 15ค่ำของทุกปี หลังจากที่จัดงานลอยกระทงเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการจัดลอยกระทงสายจึงจัดกันในแรม 11 ค่ำ มีกิจกรรมที่สําคัญคือ ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตอนเช้าจะทำบุญตักบาตร ฟงเทศน์ ตอนบ่ายจะมีการแข่งเรือของแต่ล่ะหมู่บาน สวนในช่วงตอนเย็นจะมีการจุดประทีปที่บานและลอยกระทงของแต่ละคน สวนในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ตอนพลบค่ำ พระสงฆ์และชาวบานมาสวดมนตและปลอยโคมลอย เมื่อเสร็จพิธีจึงมีการปล่อยกระทงสาย การลอยกระทงสายนั้นประกอบด้วย 3 ประเภทด้วยกัน คือ กระทงนํา กระทงตาม และกระทงปิดท้าย กระทงนํา จะประดิษฐ์ประดอยอย่างสวยงามบนแพหยวกกลวย ตัวกระทงจะทำด้วยใบตองหรือจากวัสดุธรรมชาติและจะลอยเปนอันดับแรก กระทงตาม จะมีสวนประกอบด้วยตัวกระทงและไส้กระทง ตัวกระทงจะทําด้วยกะลามะพราวแห้งที่ ไมมีรู สวนไส้กระทงมีหลากหลายชนิด เชน ขี้ไต้ แกนข้าวโพดหรือซางขาวโพด กาบ(เปลือก)มะพร้าว ตีนกา ผาชุบน้ำมัน เปนตน กระทงปิดท้าย จะมีลักษณะคล้ายกระทงนํา แต่เล็กกว่าและลอยหลังจากที่ลอยกระทงตาม(กะลามะพราว)เรียบร้อยแล้ว จากลักษณะภูมิประเทศของอำเภอบ้านตาก และจังหวัดที่ใกล้ชิดกับแม่น้ำมีการพัฒนาบานเมืองมานานแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และการตั้งแหล่งถิ่นฐานของชุมชนของคนในพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับแหลงน้ำ จากสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติที่เปนปจจัยเอื้อผนวกกับความสามารถในภูมิปญญาทองถิ่นจึงเกิดเป็นประเพณีที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อันสะท้อนให้ เห็นถึงความ รักใคร่สามัคคีกันในหมู่คณะที่มีมาแตโบราณจวบจนปจจุบัน
เรื่องน่ารู้ใน วันลอยกระทง