โรคตึกเป็นพิษ ภัยเงียบคนทำงาน
โรคตึกเป็นพิษ ภัยเงียบคนทำงาน, โรคตึกเป็นพิษ ภัยเงียบคนทำงาน หมายถึง, โรคตึกเป็นพิษ ภัยเงียบคนทำงาน คือ, โรคตึกเป็นพิษ ภัยเงียบคนทำงาน ความหมาย, โรคตึกเป็นพิษ ภัยเงียบคนทำงาน คืออะไร
วัยทำงานอย่างคุณ การทำงานอยู่ตึก อาคารสูงๆ คุณเคยมีอาการอ่อนล้า ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ คัดจมูก ไอ จาม เกิดผดผื่นคัน ระคายเคืองดวงตาบ้างไหม ระวังอาจจะเป็นเสียสุขภาพได้ เพราะเรามีโรคคนทำงานชนิดใหม่ คือ โรคตึกเป็นพิษ...
โรคตึกเป็นพิษคืออะไร? โรคตึกเป็นพิษ หรือ Sick Building Syndrome (SBS) ก็คืออาการที่เกิดขึ้นจากมลพิษภายในอาคารที่วางระบบหมุนเวียนอากาศไม่ดี จึงทำให้สารระเหยที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องใช้สำนักงาน เช่น เครื่องซีร็อกซ์ พรินเตอร์ รวมถึงสารระเหยจากสีทาผนัง ไม้อัด สารเคลือบเงาทั้งหลาย หรือแม้กระทั่งไรฝุ่นในพรม วนเวียนอยู่ภายในระบบปรับอากาศของตึกน่ะ
อาการที่ปรากฏก็คือ อ่อนล้า ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ คัดจมูก ไอ จาม เกิดผดผื่นคัน ระคายเคืองดวงตา และมีความผิดปกติของประสาทรับกลิ่น เป็นต้นก็ร้ายแรงขนาดนี้แม้คุณหมอจะระบุว่าไม่ใช่ แต่ในความรู้สึกของพนักงานที่เหลือ อาการเหล่านี้ก็น่ากลัวประดุจการกระทำของผีร้ายนั่นทีเดียว
มีข้อสังเกตให้พิจารณาสองประการ 1. คนที่อยู่ในห้องหรือในตึกเดียวกันมีอาการพวกนี้เหมือนกันหรือไม่ 2. อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในตึกเท่านั้น เมื่อออกมาภายนอกจะไม่หลงเหลืออาการอยู่อย่างนั้นหรือไม่ ***ถ้าใช่ทั้งสองข้อล่ะก็...แปลว่าปีศาจแสนทันสมัยนาม Sick Building Syndrome ได้เร้นตัวอยู่ตามซอกหลืบต่างๆ ในออฟฟิศคุณเสียแล้วล่ะและเจ้าปีศาจตนนี้ก็จะรังควานพนักงานจนเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งหากไม่มีการแก้ไข ฤทธิ์เดชของเจ้าผีร้ายก็จะยิ่งแผ่กว้างครอบคลุมไปทั้งองค์กร เพราะเมื่อคนทำงานมีสภาพไม่พร้อมย่อมทำงานได้ไม่เต็มที่ สุดท้ายอาจแย่ถึงขนาดส่งผลต่อกิจการขององค์กรเลยทีเดียว
วิธีปัดรังควาญปีศาจ SBS 1. จัดการเรื่องการหมุนเวียนของอากาศให้ดีขึ้น เช่น ติดตั้งพัดลมดูดอากาศ หรือเปิดหน้าต่างตอนที่ปิดแอร์ เพื่อให้อากาศที่ค้างอยู่ในตึกระบายออกไปบ้าง 2. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นกำเนิดของไอระเหยที่เป็นพิษให้น้อยที่สุด หรือเลือกวัสดุชนิดอื่นทดแทน เช่น ใช้สีทาผนังแบบที่ไม่มีโลหะหนักผสม ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้จริง หรือใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้อัดแบบที่ปล่อยไอระเหยน้อยกว่าปกติ 3. จัดบริเวณที่มีการฟุ้งกระจายของสารระเหยแยกจากห้องทำงานของพนักงาน เช่น ห้องถ่ายเอกสาร ห้องพรินต์งาน ห้องเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 4. ทำความสะอาดในส่วนต่างๆ ให้บ่อยขึ้น เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละออง เชื้อรา แบคทีเรียต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและพัดลมดูดอากาศ 5. หาต้นไม้ในร่มมาปลูกและตั้งไว้ตามจุดต่างๆ ในห้อง เพื่อช่วยฟอกอากาศและลดปริมาณสารพิษ ยิ่งถ้าเป็นไม้ประดับที่ดูดสารพิษได้ก็ยิ่งเลิศมากและหลังจากที่ทุกคนช่วยกันทำความสะอาดโต๊ะตู้ อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ให้มีฝุ่นจับ รวมทั้งจัดให้มีการระบายอากาศที่ดีขึ้น ก็ไม่มีใครป่วยอีกเลย
ที่มา : 108health.com
โรคตึกเป็นพิษ ภัยเงียบคนทำงาน, โรคตึกเป็นพิษ ภัยเงียบคนทำงาน หมายถึง, โรคตึกเป็นพิษ ภัยเงียบคนทำงาน คือ, โรคตึกเป็นพิษ ภัยเงียบคนทำงาน ความหมาย, โรคตึกเป็นพิษ ภัยเงียบคนทำงาน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!