ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย, ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย หมายถึง, ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย คือ, ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความหมาย, ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย คืออะไร
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 กำหนดให้ ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตัวอย่างคดีทำร้ายร่างกาย
นาย ก กำลังทำร้ายภรรยา นาย ข เข้ามาช่วยโดยเข้าไปล๊อคคอ พยายามกดลงพื้น(ไม่ได้เตะต่อย) ต่อมา นาย ก แจ้งความหาว่า นาย ข ทำร้ายร่างกาย โดยมีใบรับรองแพทย์ลงความเห็นว่า ปวดหลังน่าจะรักษาเกิน 30 วันแบบนี้นาย ข จะมีความผิดหรือป่าวคะ ถ้าผิดจะได้รับโทษอะไรบ้าง
ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้กระทำร้ายซึ่งจะมีความผิดดังกล่าว จะต้องมีเจตนาจะกระทำการประทุษร้ายแก่กาย หรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทกระทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด ดังนั้น กรณีที่ นาย ข. เห็น นาย ก. กำลังใช้กำลังทำร้ายร่างกายภรรยาของเขา ด้วยความที่เขาเป็นพลเมืองดี ทนไม่ได้จากการเห็นผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายภรรยาอันไม่เป็นธรรมจากการกระทำความผิดของ นาย ก. ซึ่งไม่ใช่ว่า นาย ก. เป็นสามีแล้วจะใช้สิทธิทำร้ายร่างกายภรรยาของตนได้แต่อย่างใด การกระทำของนาย ข. ที่ได้เข้าไปล็อคคอ นาย ก. กดลงพื้นโดยไม่ได้เตะต่อย นาย ก. แต่อย่างใด ล้วนเป็นการกระทำไปเพื่อการห้ามปราบนาย ก. ที่กระทำละเมิด ประทุษร้ายต่อร่างกายภรรยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการกระทำของพลเมืองดีที่น่าเอาเป็นแบบอย่างของสังคม นาย ข. จึงไม่มีเจตนาทำร้ายร่างกาย นาย ก. ย่อมขาดองค์ประกอบความผิดฐานทำร้ายร่างกาย นาย ข. จึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย นาย ก. ตาม ป.อ. มาตรา 295
การยอมความในคดีทำร้ายร่างกาย
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายนั้นแม้ผู้เสียหายจะยอมความแต่ก็ไม่มีผลให้คดียุติ เพราะการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา ๒๙๕ ป.อ. เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน โดยคดีความผิดต่อแผ่นดินนั้นเป็นความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย และเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่ความจะไปทำความตกลงยอมความกันไม่ได้ แม้ว่าคู่ความจะได้ทำการยอมความหรือถอนฟ้องคดีไปแล้ว พนักงานสอบสวนยังอาจดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ต้องหาได้ อย่างไรก็ดีการยอมความในคดีอาญาของผู้เสียหายเองนั้นอาจมีผลเป็นการยอมความในส่วนคดีละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย หากในการยอมความนั้นมีเนื้อหาบ่งถึงการยอมความในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาด้วย
ตัวอย่างคดีทำร้ายร่างกาย
นาย ก. ทำร้ายร่างกายนาย ข. นาย ข. จึงได้ยื่นฟ้อง นาย ก. ต่อศาล ระหว่างที่ศาลกำลังพิจารณาคดีอยู่ นาย ข. ไม่ติดใจจะดำเนินคดีกับนาย ก. ต่อไป นาย ข. ก็สามารถถอนฟ้องคดีดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นผลทำให้คดีนี้ระงับไป นาย ข. จะยื่นฟ้อง นาย ก. ในเรื่องนี้อีกไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากคดีทำร้ายร่างกายเป็นคดีอาญาแผ่นดินคดียังไม่ยุติ เมื่อนาย ก. ทำร้ายร่างกายนาย ข. ดังกล่าว พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและจับกุมนาย ก. มาดำเนินคดีได้ แม้นาย ข. จะได้ถอนฟ้องนาย ก. ไปแล้วก็ตาม
ข้อมูลจาก Internet
เรียบเรียงโดย Sanook! Guru
ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย, ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย หมายถึง, ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย คือ, ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความหมาย, ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!