เพลงฉ่อย เป็นเพลงพื้นเมืองที่ไม่ทราบถิ่นกำเนิด เป็นการละเล่นเพลงพื้นเมืองที่แพร่หลายมากที่สุดเพลงหนึ่ง มีคนร้องเล่นกันอย่างกว้างขวาง ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบการร้องนั้น มีแต่การปรบมือเป็นการให้ประกอบจังหวะอย่างเดียว แต่ส่วนภายหลังเขาเอา "กรับ" มาตีด้วย การแต่งตัวนั้น ชายหญิงนุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อคอไทย คอกลมกระดุม 3 เม็ด มีผ้าขาวม้าเคียนพุง ส่วนหญิงใส่เสื้อสบาย ๆ แต่มีสไบเฉียง ทุกครั้งและขาดมิได้ เวลาเขียนคิ้วใช้ผงถ่านกากมะพร้าว
ประวัติ
เพลงฉ่อย มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เพลงไอ้เป๋ เนื่องจากพ่อเพลงฉ่อย ยุคแรกชื่อ ตาเป๋ มี ยายมา เป็นภรรยา เริ่มแรกเพลงฉ่อย หรือ เพลงเป๋ เป็นที่นิยมในแถบ จังหวัดฉะเชิงเทรา และ จังหวัดใกล้เคียง ประมาณก่อนยุค พ.ศ. 2437 เป็นต้นมา ส่วนครูเพลงฉ่อย ยุคแรกเริ่มก็มี ครูเปลี่ยน - ครูเป๋ - ครูฉิม - ครูศรี - ครูบุญมา - ครูบุญมี ครูเพลงเหล่านี้มีแค่ชื่อ และ ตำนานส่วนประวัติไม่มีเลย เพลงฉ่อย นี้ปรับปรุงและดัดแปลงมาจาก เพลงโคราช - เพลงเรือ และเพลงปรบไก่ เป็นต้น ก็สาเหตุเนื่องจาก เวลาปรบมือเป็นจังหวะเพลงปรบไก่ ร้องบทไหว้ครูและเกริ่นอย่างเพลงโคราช ใช้กลอนก็ใช้คล้ายกับเพลงเรือ แต่อย่างไรเพลงฉ่อย ก็น่าจะอยู่ในยุคต้นสมัยรัชกาลที่ 5
โคลงของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ..มีว่าดังนี้..
บางคนเล่นเรื่องร้อง ขับขาน แพนขลุ่ยซอประสาน แอ่วชู้ อย่างต่ำขับขอทาน โทนฉิ่ง กรับนา ริเล่นตามตนรู้ ดอกสร้อยเพลงสวรรค์ ปรบไก่ครึ่งท่อนทั้ง สักวา ร้องยักลำนานา ปลอบพ้อ แก้โต้ตอบไปมา ไม่สุด สิ้นเอย ออดแอดอ้อยอิ่งจ้อ จากแล้วพายตาม
นอกจากนี้แล้วเพลงฉ่อย ยังมีชื่ออื่นอีก "ฝ่ายเหนือ" อาจหมายถึงจังหวัดทางล่างเช่น จังหวัดอุทัยธานี - จังหวัดนครสวรรค์ - จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น
ส่วนคำว่า "เพลงตะขาบ" (ต้นฉบับเดิมใช้ ข.ขวด) คนเพลงเก่า ๆ เรียกเพลง..วง.. เพราะของเดิมยืนเป็นวง เล่นกับลานดิน เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีเวที ดั่งกับปัจจุบันนี้ ส่วนบ้างคนก็เรียกว่า "เพลงฉ่า" เพราะเวลารับเพลง รับว่า เอ่ชา เอ๊ช้า ชาฉ่าชา หนอยแม่ เลยเรียกติดกัน จนปัจุบันคนก็ยังเอามาร้อง เล่นกันส่วนมากเป็นท่อนนี้ ชาวโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ก็เรียกศัพย์บัญญัติแปลก ๆ พิสดารอีกว่า "เพลงทอดมัน"
- รวมอายุของบทเพลงฉ่อยแล้ว อายุไม่น่าเกิน 126 ปี
เอกลักษณ์เพลงฉ่อยบางส่วน
- ทางจังหวัดอุทัยธานี - จังหวัดนครสวรรค์ รับเพลงว่า เอ่ชา เอชา เอ๊ชา ฉ่าชาเอย
- ส่วนทาง จังหวัดอยุธยา - จังหวัดอ่างทอง - จังหวัดสุพรรณบุรี รับเพลงว่า เอ่ชา ชา ชาฉ่าชาเอย
- ส่วนทางใต้ กรุงเทพมหานคร - จังหวัดราชบุรี รับเพลงว่า เอ่ชา เอชา ชาชาฉ่าชา หนอยแม
ยกตัวอย่างเพลงฉ่อย
- เพลง กับข้าวเพชฌฆาต
- ขับร้องโดย ขวัญจิต ศรีประจันต์ ( ศิลปินแห่งชาติ )
- คำร้อง - ทำนอง จิ๋ว พิจิตร
- ดัดแปลงมาจากเพลงฉ่อยประยุกต์ ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
- วันนี้เป็นงานวันเกิด กินเลี้ยงกันเถิดสนุกกันดี น้องทำอาหารต้องการเลี้ยงพี่ กับข้าววันนี้อร่อยถึงใจ ... ( ดนตรี )
แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/เพลงฉ่อย