ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สำเนียงแต้จิ๋ว, สำเนียงแต้จิ๋ว หมายถึง, สำเนียงแต้จิ๋ว คือ, สำเนียงแต้จิ๋ว ความหมาย, สำเนียงแต้จิ๋ว คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
สำเนียงแต้จิ๋ว


      สำเนียงแต้จิ๋ว (潮州) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน หมิ่น-หนาน จัดเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาของฮกเกี้ยน และ เป็นหนึ่งในภาษาที่พูดกันในภูมิภาคของจีน คำว่าแต้จิ๋วในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Teochew (Diojiu, Teochiu, Tiuchiu, Teochew เขียนสะกดหลากหลาย) หรือ Chaozhou (เฉาโจว อ่านตามภาษาจีนกลาง)

ชื่อเรียก

        สำเนียงแต้จิ๋ว มีชื่อเรียกในประเทศจีนแตกต่างกันหลายอย่างเดิมนิยมเรียกว่า เตี่ยจิวอ่วย หรือ เฉาซ่านฮว่า (ภาษาจีนกลาง) หมายถึงภาษาพูดถิ่นแต้จิ๋ว ต่อมาเมื่อเมืองซัวเถาเจริญรุ่งเรื่องขึ้นเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเมืองแทนเมืองแต้จิ๋ว คนต่างถิ่นจึงนิยมเรียกภาษานี้ว่า ซ่านโถวฮว่า หรือ ซัวเถาอ่วย ในภาษาแต้จิ๋ว หมายถึงภาษาพูดถิ่นซัวเถา ต่อมานิยมเรียกว่า เฉาซ่านฮว่า (เตี่ยซัวอ่วย) หมายถึง ภาษาพูดถิ่นแต้จิ๋ว-ซัวเถา เพื่อให้ครอบคลุมท้องถิ่นที่พูดภาษานี้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในแวดวงวิชาภาษาศาสตร์และภาษาถิ่นจีนนิยมเรียกว่า เฉาซ่านฟางเอี๋ยน (เตี่ยซัวฮวงงั้ง) หมายถึงภาษาถิ่นแต้จิ๋ว อีกชื่อหนึ่งที่นิยมใช้เป็นภาษาหนังสือเรียกภาษาถิ่นนี้คือ เฉาอี่ว์ (เตี่ยงื่อ) หมายถึงภาษาของจีนแต้จิ๋วหรือภาษาแต้จิ๋วนั่นเอง

       มีอีกชื่อหนึ่งที่ชาวจีนแคะใช้เรียกภาษานี้จนเป็นที่รู้จักคือภาษาฮกล่อ (ภาษาแคะว่า ฮอล่อว้า) เนื่องจากคำว่าฮกล่อเป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์แต้จิ๋วที่แพร่หลายอีกชื่อหนึ่ง

ประวัติและท้องถิ่นที่พูด

       สำเนียงแต้จิ๋วในปัจจุบัน เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาจีนโบราณของตระกูลหมิ่นหนาน เมื่อประมาณ คริตศตวรรษ ที่ 9 จนถึง ที่ 15 มีกลุ่มชาว หมิ่น (หมิ่น) ได้อพยพลงใต้จากมณฑลฝูเจี้ยน (หรือฮกเกี้ยน) มาที่ทางตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง ในเขตที่เรียกว่า เฉาซั่น การอพยพดังกล่าวมีสาเหตุมาจากประชากรที่มากขึ้นในมณฑลฝูเจี้ยน

       เนื่องจากภูมิประเทศใหม่ที่ค่อนข้างตัดขาดจากมณฑลฮกเกี้ยนเดิม และการได้รับอิทธิพลจากภาษากวางตุ้งและแคะ ภาษาแต้จิ๋วจึงได้กลายมาเป็นภาษาเอกเทศในภายหลัง ภาษาแต้จิ๋วนั้นจะพูดในเขตที่เรียกรวมกันว่า "เฉาซั่น" ซึ่งมีเมืองแต้จิ๋ว (หรือ เฉาโจว ในภาษาจีนกลาง) และซัวเถา (หรือ ซั่นโถว ในภาษาจีนกลาง) เป็นหลัก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "เฉาซั่น" ดังกล่าว นอกจากนั้น ยังพูดกันในเมืองเจียหยาง เฉาหยาง ผู่หนิง เฉาอัน เร่าผิง ฮุยไหล และ เฉิงไห่

       เขตเฉาซั่นเคยเป็นเขตหนึ่งที่มีคนจีนอพยพออกนอกประเทศเป็นอันมากไปยังเอเซียอาคเนย์ในคริสต์ศตวรรษที่18-20 ซึ่งทำให้ภาษาแต้จิ๋วเป็นภาษาหลักหนึ่งในภาษาที่พูดกันมากในกลุ่ม ชาวจีนอพยพ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย กัมพูชา สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ฮ่องกง และยังมีในทวีปยุโรป และ ทวีปอเมริกา ที่มีชาวจีนแต้จิ๋วอพยพไป

       อย่างไรก็ตาม ในยุคโลกาภิวัตน์นั้นภาษาแต้จิ๋วได้ลดความนิยมลงไปมากในหมู่ชาวแต้จิ๋ว เช่น ในสิงคโปร์ เยาวชนที่เดิมพูดแต้จิ๋วได้เปลี่ยนไปพูดภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง และ ฮกเกี้ยนมากขึ้น เนื่องจากวัฒนธรรมส่วนใหญ่และอิทธิพลของสื่อสารมวลชน แต่โดยรวมแล้วภาษาแต้จิ๋วก็ยังคงเป็นภาษาที่พูดกันในหมู่คนจีนในสิงคโปร์เป็นอันดับสองรองจากภาษาฮกเกี้ยน ถึงแม้ว่าภาษาจีนกลางกำลังเข้ามาแทนที่ภาษาท้องถิ่นเหล่านี้ในฐานะภาษาแม่ในหมู่เยาวชนยุคใหม่ก็ตาม

สัทศาสตร์
      อักษรละตินตัวเอนหมายถึงอักษรที่นิยมใช้ทับศัพท์แทนเสียง อักษรไทยในวงเล็บคือเสียงอักษรที่ใกล้เคียง

เสียงพยัญชนะ

เสียงพยัญชนะของภาษาแต้จิ๋ว   ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานอ่อน เส้นเสียง นาสิก /m/ m (ม) /n/ n (น) /ŋ/ ng (ง)   กัก ไม่ก้อง ธนิต /pʰ/ p (พ) /tʰ/ t (ท) /kʰ/ k (ค)   ไม่ก้อง สิถิล /p/ b (ป) /t/ d (ต) /k/ g (ก) /ʔ/ - (อ) ก้อง /b/ bh (บ)   /ɡ/ gh (ก̃)   ผสม
เสียดแทรก
ไม่ก้อง ธนิต   /tsʰ/ c (ช)     ไม่ก้อง สิถิล   /ts/ z (จ)     ก้อง   /dz/ r (จ̃)     เสียดแทรก   /s/ s (ซ)   /h/ h (ฮ) เปิด   /l/ l (ล)    


เสียงสระและพยัญชนะสะกด
       เสียงสระอาจเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้ แต่สำหรับเสียงสระ+สะกดกักแสดงด้วยเสียงสั้นเท่านั้น คล้ายวิธีอ่านสระเสียงสั้นในภาษาไทย สระขึ้นจมูกมิได้หมายความว่าสะกดด้วย น แต่เวลาออกเสียงสระให้ปล่อยลมทางจมูกด้วย

เสียงสระของภาษาแต้จิ๋ว  กลุ่มสระ อ้าปาก แย้มฟัน ห่อปาก สระพื้นฐาน [i] i (อี) [u] u (อู) [a] a (อา) [ia] ia (เอีย) [ua] ua (อัว) [o] o (โอ) [io] io (อี-โอ) [e] ê (เอ) [ie]  (อี-เอ) [ue]  (อู-เอ) [ɯ] e (อือ)

สำเนียงแต้จิ๋ว, สำเนียงแต้จิ๋ว หมายถึง, สำเนียงแต้จิ๋ว คือ, สำเนียงแต้จิ๋ว ความหมาย, สำเนียงแต้จิ๋ว คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu