ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เช็งเม้ง, เช็งเม้ง หมายถึง, เช็งเม้ง คือ, เช็งเม้ง ความหมาย, เช็งเม้ง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เช็งเม้ง

          เทศกาลเช็งเม้ง เป็นเทศกาลประจำปีในการบูชาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วของชาวจีน

          ชิงหมิง ( qing-ming ) หรือ เช็งเม้ง, เชงเม้ง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) "เช็ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง" หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์

          เช็งเม้งในประเทศจีน เริ่มต้นประมาณ 5 - 20 เมษายน เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง (เป็นที่มาของชื่อ เช็งเม้ง)

          สำหรับในประเทศไทยเทศกาลเช็งเม้ง ถือวันที่ 5 เมษายนของทุกปีเป็นหลัก แล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 - 8 เมษายน) แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาการจราจรคับคั่ง เลยขยายช่วงเวลาเทศกาลให้เร็วขึ้นอีก 3 สัปดาห์ (ประมาณ 15 มีนาคม - 8 เมษายน) แต่ในภาคใต้บางพื้นที่ เช่น จังหวัดตรังจะจัดเร็วกว่าที่อื่น 1 วัน ประมาณวันที่ 4 เมษายนของทุกปี

          ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน (ฮวงซุ้ย) เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ



เครื่องเซ่นไหว้

          สำหรับเครื่องเซ่น ไหว้ย่อมเป็นไปตามฐานะ แต่ส่วนหนึ่งจะต้องมีคือเง็งเตี๋ยหรือกระดาษไหว้ เจ้า กิมจั๊วหรือกระดาษไหว้วิญญาณ(ผี)เสื้อผ้าของใช้เงินทองซึ่งเป็นกระดาษ เพื่อเผาส่งไปให้ เทียนธูป ส้มเกลี้ยง ไก่ ปลาหมึก หอยแครง ซาลาเปา  ขนมฟู(ขนมสาลี่) เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องเซ่นไหว้ นอกเหนือจากกระดาษไหว้ เจ้าแล้ว จะต้องมีซาแซ คือไก่ต้ม พร้อมเครื่องใน ปลาหมึกแห้ง หมูหนึ่ง แถบ ผลไม้ 5 อย่าง หรือ 7 อย่างก็ได้ หากไม่มีเอาส้มเกลี้ยงอย่างเดียวก็ ได้ ผลไม้ที่นำมาไหว้ไม่ควรเอาผลไม้ที่มีชื่อไม่เป็น มงคล เช่น ละมุด มังคุด ฯลฯ  ในสถานที่นั้นที่มีอยู่พร้อมน้ำชา สุรา
     
          ส่วนเครื่องเซ่นวิญญาณบรรพบุรุษ นอกจากเครื่องเซ่นไหว้ที่กล่าวมา แล้ว ไก่ต้มที่นำไปไหว้ไม่ควรใส่เครื่องในไก่ไปด้วย เพราะเครื่องในไก่เก็บ เอาไว้ให้ลูกหลาน เว้นแต่จะนำเครื่องในไปประกอบเป็นอาหารอย่างอื่นเพื่อไหว้ ไม่เป็นไร หลังจากนำไปกราบไหว้เซ่นบรรพบุรุษที่ฮวงจุ๊ยแล้ว ในวัน ที่ 4 เมษายน แต่ละคนหากอยู่กันคนละบ้านควรจัดทำการเซ่นไหว้อีกครั้ง ณ ที่ บ้านที่อาศัยด้วย

ข้อมูลเฉพาะ
      - ซาแซ ใช้สำหรับไหว้เจ้าหรือผีไม่มีญาติ
      - การเซ่นไหว้ ลูกหลานควรไปพร้อมหน้ากัน
      -ทุกปีควรจะต้องนำดินใส่หลังฮวงจุ๊ย
      - ผลไม้ทุกชนิดที่นำไปไหว้ต้องให้มีชื่อเป็นมงคล
      - ขนมสาลี่ ซาลาเปา คือความเฟื่องฟู



พิธีกรรม

          วันเช็งเม้งของแต่ ละปีหากเปรียบเทียบกับประเพณีไทยในทางพุทธศาสนา ก็จะเหมือนกับวันพระซึ่งใน ความเชื่อก็คือวันพระเป็นวันที่ผีหรือวิญญาณจะได้รับการปลดปล่อยให้เป็น อิสระ สามารถไปไหนมาไหนได้ จึงเป็นโอกาสดีของลูกหลานที่มีความเชื่อ  จะได้ทำพิธีกราบไหว้บูชาด้วยอาหารคาวหวาน ผลไม้ เสื้อผ้า กระดาษเงิน กระดาษ ทอง(กิมจั๊ว) น้ำชา สุรา และเงินทองของใช้ต่างๆ โดย จัดทำการเซ่นไหว้ที่แท่นบูชา ณ ที่บ้านของลูกหลานแต่ละคน ด้วยการจุดธูป บอกกล่าวเชิญกลางแจ้ง  พร้อมขออนุญาตหรือบอกธรณีประตูพาวิญญาณเข้าบ้านมาที่แท่นบูชาที่มีกระถาง ธูป และรูปถ่ายหรือป้ายวิญญาณก็ตาม โดยการเซ่นไหว้ทุกครั้งต้องบอกเจ้าที่ หรือแป๊ะเอี้ยทุกครั้ง และต้องทำช่วงเช้าไม่เกิน 5โมงเช้า เพราะหลัง จาก 5 โมงเช้าควรจุดธูปหรือกล่าวลา  พร้อม ๆ จัดการอาหารคาว ผลไม้ น้ำชา สุรา หลังจากที่ได้นำ กระดาษ (กิมจั้ว) เซ่นไหว้ไปเผาเรียบร้อยแล้ว
     
          การเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงจุ้ยตามสุสานต่าง ๆ เอี้ยวชุน บั๊ก ซินแส กล่าวว่า ความจริงแล้วลูกหลานจะหาวันที่ดี และสะดวกแก่ทุกฝ่าย  ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายลูกชาย หลานชาย ลูกสาว หลานสาว ที่จะมาพร้อมกันที่ฮวงจุ๊ย ทั้งเครื่องเซ่นไหว้แล้ว ซึ่งจะต้องมากันแต่เช้า ๆ เซ่นไหว้ด้วยอาหารคาว หวาน น้ำชา สุรา ผลไม้ ทุกคนที่เป็นลูกหลานยังต้องเตรียมอุปกรณ์ ไม่ว่าจะ เป็นจอบ  เสียม มีด บุ้งกี๋ สี แปรง น้ำสะอาด ซึ่งการนำอุปกรณ์นี้มาเพื่อร่วมกัน พัฒนาพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นเอาดินขึ้นถมหลังฮวงจุ๊ย หรือล้างป้ายพร้อมทาสีให้ เกิดความสวยงาม ยังจะได้ช่วยรดน้ำพรวนดินต้นไม้บริเวณฮวงจุ๊ย และใกล้ เคียง มิใช่เพียงดูแลหญ้าที่ปลูกไว้หลังฮวงจุ๊ยเพียงอย่างเดียว  เพราะต้นไม้ที่อยู่รอบ ๆ บริเวณฮวงจุ๊ยบางต้นที่เกิดขึ้นมามีผลดี แต่บาง ต้นอาจส่งผลเสียแก่ฮวงจุ๊ยได้ ซึ่งหากท่านได้มีความเป็นคนช่างสังเกต จะเห็น ได้จากแผ่นป้ายชื่อหน้าแท่นบูชา ที่บางป้ายอาจสลักตัวหนังสือไทยไว้ด้วย
     
          แผ่นป้ายหินแกะสลักหรือแผ่นปูนก็ตาม ตัวหนังสือจีนตัวเล็ก ที่อยู่ทั้งสองข้าง ชื่อ ที่อยู่ และวันสร้าง ส่วนตัวหนังสือจีนใหญ่นั้นสุด แต่ว่า บรรพบุรุษที่ฝังอยู่หลุมซึ่งเป็นชาย ถ้าหากไม่มีครอบครัวจะสลักแถว เดี่ยว แต่ถ้ามีภรรยาก็จะสลักชื่อภรรยาลงไปด้วย โดยชื่อภรรยาจะอยู่ขวามือ เมื่อหันออกตามแผ่นป้าย  ถ้าภรรยาหลายคน ภรรยาหลวงจะอยู่ซ้ายมือสามีจะอยู่กลางภรรยาคนต่อไปอยู่ ขวา ตัวหนังสือเมื่อนับจากข้างบนลงล่างตัวหนังสือตัวที่  3 - 4 คือตัวชื่อสกุล ซึ่งหากใครก็ตามตายไปแล้วจะใช้สีเขียวทาตัว หนังสือ ถ้ายังไม่ตายตัวหนังสือจะต้องเป็นตัวหนังสือสีแดง เช่นเดียวกับตัว หนังสือตัวเล็กที่บอกที่อยู่ และวันสร้างฮวงจุ๊ย  ซึ่งต้องใช้สีแดงจัดการทาให้เรียบร้อย แต่ในปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงมี มาก ตัวหนังสือทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นชื่อคนเป็นหรือคนตายก็ตาม จะใช้สีทองหรือ ทองคำเปลวปิดหมดทุกตัวอักษร ซึ่งเป็นคนที่มีความรู้ภาษาจีนก็พอทราบได้จาก ตัวที่บอกวันเวลาสร้าง ว่าเจ้าของชื่อที่สลักไว้ตายไปแล้วหรือยัง แต่คนที่ ไม่มีความรู้ภาษาจีนอ่านไม่ได้ก็จะไม่รู้อย่างแน่นอน

ที่มา
https://www.fengshuitown.com/fengshui/fengshui-tip-pray-ancestor.htm
https://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000045336
https://www.tungsong.com/Important_Day/Chagmeng/index.asp#a_03



ที่มา

          เมื่อกล่าวถึงวันเช็งเม็ง หลายท่านที่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์จะรู้จักบุคคลสำคัญท่านหนึ่งนามว่า เจี้ยจื่อทุย ผู้มีเรื่องราวชีวิตเกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญนี้ ย้อนไปในสมัยชุนชิว ราว 2,000 กว่าปีก่อน องค์ชายฉงเอ่อแห่งแคว้นจิ้นหนีภัยออกนอกแคว้น ไปมีชีวิตตกระกำลำบากนอกเมือง โดยมีเจี้ยจื่อทุยติดตามไปดูแลรับใช้
      
          เจี้ยจื่อทุยมีจิตใจเมตตาถึงขนาดเชือดเนื้อที่ขาของตนเป็นอาหารให้ องค์ชายเสวยเพื่อประทังชีวิต ภายหลังเมื่อองค์ชายฉงเอ่อเสด็จกลับเข้าแคว้นและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น เจ้าผู้ครองแคว้น นาม จิ้นเหวินกง ก็ต้องการตอบแทนบุญคุณเจี้ยจื่อทุย โดยจัดหาบ้านให้เขาและมารดาให้เข้ามาอยู่อย่างสุขสบายในเมือง แต่ทว่าเจี้ยจื่อทุยปฏิเสธ
 
          จิ้นเหวินกงได้คิดแผนเผาภูเขา โดยหวังว่าเจี้ยจื่อทุยจะพามารดาออกมาจากบ้าน แต่ผลสุดท้ายกลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด สองแม่ลูกเจี้ยต้องเสียชีวิตในกอง เพลิง   ดังนั้น เพื่อ เป็นการรำลึกถึงเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงจึงมีคำสั่งให้วันนี้ของทุกปี ห้ามไม่ให้มีการก่อไฟ และให้รับประทานแต่อาหารสดๆและเย็นๆ จนกลายเป็นที่มาของเทศกาลวันกินอาหารเย็น หรือ เทศกาลหันสือเจี๋ย ซึ่งเป็นวันสุกดิบก่อนวันเช็งเม้ง 1 วัน
      
          เนื่องจากคนโบราณนิยมถือปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีวันหันสือเจี๋ยต่อ เนื่องไปจนถึงวันเช็งเม้ง  นานวันเข้าเทศกาลทั้งสองก็รวมเป็นวันเช็งเม้งวันเดียว  การไหว้เจี้ยจื่อทุยจึงค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นการไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษแทน


เช็งเม้ง, เช็งเม้ง หมายถึง, เช็งเม้ง คือ, เช็งเม้ง ความหมาย, เช็งเม้ง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu