"ค้างคาวดำ" นับเป็นพืชล้มลุก ที่มีเหง้าอยู่ใต้ ดิน ใบจะเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เนื่องจากมีประโยชน์ ทางด้านสมุนไพรด้านการรักษาโรคบางอย่าง ในอดีตจึงนำมาปลูกเพื่อเป็นส่วนประกอบของการทำยา แต่ในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นไม้ดอกไม้ประดับในหลาย ๆ แห่งทางภาคเหนือ มีขายทั้งที่เป็นเหง้า และเป็นต้น แต่ชื่ออาจจะมีการเรียกกันแตกต่างออกไปแล้วแต่พื้นที่ นับตั้งแต่ ดีงูหว้า คลุ้มเสีย ว่านหัวลา ดีปลาช่อน เนระพูสีไทย มังกรดำ นิลพูสี กลาดีกลามูยี ม้าถอนหลัก และว่านพังพอน เป็นต้น
วิธีการปลูก หากเป็นพื้นที่สามารถทำเป็นแปลงได้ ให้ขุดดินลึกประมาณ 1 หน้าจอบ ตากแดดทิ้งไว้ 7 วัน แล้วมาย่อยให้ร่วน ผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำหัวลงฝังดิน ไม่ต้องลึกมากนัก เอาแค่เพียงมิดเหง้าเป็นพอ ระยะห่างประมาณ 10 นิ้วต่อ 1 เหง้า หากชิดเกินไปก้านใบจะแน่นแออัดแลดูไม่สวย และเป็นการแย่งอาหารกันเองอีกด้วย ซึ่งเป็นผลต่อการให้ดอกด้วยก้านดอกอาจจะอ่อนแอไม่ชูตั้งตรง
สำหรับการปลูกในกระถาง ใช้ดินสำเร็จที่มีจำหน่ายในตลาดต้นไม้ ใส่ลงกระถางขนาดพอเหมาะกับพื้นที่ และเหง้า 1 กระถาง ควรใช้เพียงเหง้าเดียวก็พอ ปลูกแล้วนำไปวางในที่ร่ม รอการตั้งตัวประมาณ 7 วัน จึงนำมาประดับในจุดที่ตั้งใจไว้ แต่ให้รดน้ำวันละ 2 ครั้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม ค้างคาวดำจะให้ดอก ซึ่งจะสวย และแปลกไปอีกแบบหนึ่ง คือ ดอกจะออกไปทางสีม่วงดำ หรือ ไม่ก็เขียวเข้มเป็นช่อ ๆ ลักษณะเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งจะมีประมาณ 4-6 ดอก มีใบประดับดอก 2 คู่ สีเขียวเข้มหรือไม่ก็สีม่วงอมดำ อยู่ ตรงข้ามใบประดับคู่นอก นอกจากนี้ยังมีใบประดับดอก ลักษณะเป็นเส้นกลมยาวโค้ง ทิ้งตัวลงสู่เบื้องล่างแบบเว้าโค้งของพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวส่วนบนประมาณ 5-25 อัน เป็นสีม่วง หรือไม่ก็ม่วงอมไปทางเขียวเข้ม ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 30-50 เซนติ เมตร สามารถตัดมาปักแจกันประดับโต๊ะ เพื่อความสวยงามในบ้านได้ และหากปล่อยไว้กับต้นพร้อมดูแลบำรุงดีหน่อย โดยการให้น้ำวันละ 2 เวลา และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ทุก 1 อาทิตย์ อย่างสม่ำเสมอ ดอกจะติดก้านชูคอเด่นสวยไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
เมื่อให้ดอกไปแล้วสักระยะหนึ่ง ต้นจะตายแต่ต้นอื่นในเหง้าเดียวกันจะขึ้นมาแทนที่ ให้ตัดก้านดอก และก้านใบพร้อมใบทิ้ง เพื่อให้ใบ และดอกใหม่เจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่ แล้วท่านจะได้ดอกค้างคาวดำอย่างสม่ำเสมอ และหากมีการขยายพันธุ