ในประเทศไทยมะเร็งปอดเป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการตาย ในอันดับ ต้นทั้งในเพศชายและหญิงและอุบัติการณ์โรคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเพศหญิง ผู้ป่วยมะเร็งปอด ส่วนใหญ่(80-90%)เกิดจากการสูบบุหรี่จึงสามารถป้องกันได้ ธรรมชาติทาง ชีววิทยาของมะเร็งปอด ทำให้เราพบผู้ป่วย เมื่อเริ่มมีอาการ ในขณะที่โรคอยู่ในระยะลุกลาม และแพร่กระจาย เป็นผลให้ผู้ป่วยประมาณ 90% เสียชีวิตจากโรคมะเร็งภายใน เวลา 1-2 ปี มะเร็งปอดพบมากในคนอายุ 50-75 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (80%) จะเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ และ ประมาณ 5% จะเป็นผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่น รายได้เสริมทำออนไลด์ผ่าน net 100% รายได้ 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ สมัครที่ www.abc.321.cn
ผู้ที่สูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่นจะมี ความเสี่ยง ต่อ การเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 26% จำนวนมวนของบุหรี่ที่สูบต่อวันและ ชนิดของบุหรี่ที่สูบจะสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดผู้ที่สูบบุหรี่10-13% จะเกิด มะเร็งปอดภายในเวลา 30-40 ปี อย่างไรก็ตามถ้าเลิกสูบบุหรี่ก็สามารถลดอัตราการเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งปอดลงเหลือเท่าผู้ไม่สูบบุหรี่ได้ภายในเวลา 10-15 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่ และ เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอด
สารก่อมะเร็งที่อาจเป็นสามเหตุของโรคในผู้ป่วย10-15%ซึ่งไม่สูบบุหรี่ ได้แก่ แอสเบสตอส (ตัวอย่าง เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงานผลิตผ้าเบรครถยนต์ เป็นต้น) โดยเฉพาะถ้าผู้นั้นสูบบุหรี่ด้วย จะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งสูงถึง 50 เท่า สารก่อมะเร็งอื่นได้แก่ แร่เรดอน มลภาวะใน อากาศจากอุตสาหกรรมโลหะหนัก ควันมลภาวะในสิ่งแวดล้อม การฉายรังสีเพื่อรักษา
มะเร็งชนิดอื่นก็อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอดได้โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ร่วมด้วย นอกจากนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรมก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มะเร็งปอดเป็นโรคที่ตรวจค้นหาในระยะ เริ่มแรกได้ยาก การนำเอาผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (ผู้ชายสูบบุหรี่อายุเกิน 40 ปี) มาตรวจ เสมหะและเอ็กซเรย์ปอดเพื่อพยายามจะลดอัตราการตายจากโรคมะเร็ง พบว่า สามารถพบ ผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มแรกมากขึ้น แต่ไม่สามารถลดอัตราตายลงได้ การล้มเหลวจากการนี้ เชื่อว่า เนื่องจากมะเร็งปอดแม้จะมีขนาดเล็กก็พบการแพร่กระจายได้สูงมะเร็งปอด มักจะเริ่มมีอาการเมื่อโรคลุกลามมากแล้ว อาการที่พบได้แก่ อาการไอ หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด ปอดอักเสบบ่อย และเจ็บลึกที่หน้าอก หายใจลำบากจากน้ำท่วมปอด เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีอาการเนื่องจากมะเร็๋งลุกลามหรือแพร่กระจาย เช่น เสียงแหบ อาการทางสมอง ปวดกระดูก เป็นต้น
การวินิจฉัยโรค ทำได้โดย
1..ถ่ายภาพเอ็กซเรย์ปอด
2.ตรวจเสมหะที่ไอออกมา เพื่อหาเซลล์มะเร็ง
3.ส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดลม
4.ใช้เข็มแทงผ่านผนังทรวงอก หรือขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลมเพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา
การรักษา
เมื่อพบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดแน่นอนแล้วแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะรักษาด้วยวิธีใด ซึ่งจะเหมาะสมที่สุดโดยพิจารณาถึงอายุภาระความแข็งแรงของร่างกาย ระยะของโรค ชนิด ของชิ้นเนื้อ และการยอมรับของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาจะประกอบด้วย
1.การผ่าตัด
2.การฉายแสง
3.เคมีบำบัด
4.การรักษาแบบประคับประคอง
ที่มา
https://www.nci.go.th/knowledge/pod.htm
https://medinfo2.psu.ac.th/cancer/lungcancer.php