ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา), สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) หมายถึง, สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) คือ, สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) ความหมาย, สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา)

พระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือนามเดิม เจ้าสามพระยา

          เป็นกษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งอยุธยา ทรงเป็นโอรสของพระนครอินทร์ (พระอินทราชาธิราชที่ 1 พ.ศ.1952-1967) ซึ่งเป็นกษัตริย์จากราชวงศ์สุพรรณบุรี ที่ได้ชัยชนะโดยเด็ดขาดเหนือราชวงศ์อู่ทอง ทำให้ราชวงศ์สุพรรณภูมิมีอำนาจในอยุธยาถึง 161 ปีจนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งแรก และสิ้นสุดราชวงศ์เมื่อ พ.ศ.2112 เจ้าสามพระยาอยู่ในราชสมบัติ 24 ปี และทรงเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ไทยว่า ทรงดำเนินนโยบายในการขยายอำนาจ ของไทยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกัมพูชาและที่ราชสูงโคราช ทรงปูทางในการผนวกอาณาจักรทางเหนือรวม สุโขทัยเข้ากับอยุธยา 
  
          ในช่วงแรกของอาณาจักรอยุธยาเมื่อพระเจ้าอู่ทองได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1893 นั้น อาณาจักรไทยยังมีลักษณะเป็นแว่นแคว้น ยังมิได้รวมกันอย่างหลวมๆ แต่ละเมืองยังมีอิสระอยู่ค่อยข้างมาก ดังจะเห็นได้ชัดเจน กรณีเมืองสุพรรณบรีและเมืองลพบุรี ในช่วงแรกของอาณาจักรอยุธยามี 2 กลุ่มนี้ ที่ทั้งร่วมมือและแข่งขันกันเองคือ ราชวงศ์อู่ทอง และราชวงศ์สุพรรณบุรี ที่ผลัดกันครองอำนาจในอยุธยา แต่อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่สมัยของพระนครอินทร์เป็นต้นมา ราชวงศ์สุพรรณบุรีก็ได้ ชัยชนะเด็ดขาดและมีอำนาจในการปกครองอยุธยา กษัตริย์ในราชวงศ์นี้ได้แผ่ขยายอำนาจไปเรื่อยจนสามารถตั้งเป็นอาณาจักรที่มั่นคง รวมแว่นแคว้นต่างๆ ของคนไทยโดยเฉพาะในบริเวณภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง ส่วนหนึ่งของที่ราบสูงโคราช และภาคใต้ของประเทศไทย ให้อยู่ภายใต้ศูนย์กลางของอำนาจเดียวกัน 
  
          ในสมัยของพระนครอินทร์นั้น พระองค์ได้ส่งโอรส 3 องค์ไปครองเมืองต่างๆ รอบอาณาจักร คือ เจ้าอ้าย โอรสองค์โตไปครองสุพรรณบุรี เจ้ายี่ โอรสองค์รองไปครองสรรค์บุรี และ เจ้าสามพระยา ไปครองชัยนาท เมื่อพระนครอินทร์สวรรคต โอรสทั้งสามก็แย่งราชสมบัติกัน โดยที่เจ้าอ้ายและเจ้ายี่ทำการชนช้างกันและสิ้นพระชนม์ทั้งคู่ ตรงบริเวณทึ่เรียกว่าสะพานถ่านด้านหน้าของวัดราชบูรณะและวัดมหาธาตุที่อยุธยา เจ้าสามพระยาเลยได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 2 
  
          ในสมัยของเจ้าสามพระยา พระองค์ได้ยกกองทัพไปตีกัมพูชา และยึดเมืองพระนครหลวง (นครธม) หรือกรุงศรียโสธรปุระได้เมื่อปี พ.ศ.1974 นับว่าเมืองหลวงของกัมพูชาต้องเสียแก่อยุธยาเป็นครั้งที่ 3 (ครั้งแรกปี พ.ศ.1912 ในสมัยของพระเจ้าอู่ทอง ครั้งที่สองปี พ.ศ.1931 ในสมัยพระราเมศวร) การเสียเมืองพระนครหลวงครั้งนี้มีความสำคัญมา เพราะทำให้ศูนย์กลางของอาณาจักรกัมพูชาได้ย้ายไปยังเมืองปาสานและพนมเป็ญในที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้อยู่ห่างต่อการโจมตีของไทย เมืองพระนครหลวงก็ถูกทอดทิ้งเป็นเมืองร้างตั้งแต่นั้นมา (กว่าจะกลับมาเป็นที่สนใจกันอีกก็เมื่อนักสำรวจฝรั่งเศสนามว่า อังรี มูโอต์ อ้างว่าได้ค้นพบในปลายพุทธศตวรรษที่ 24 
  
          การยึดเมืองพระนครหลวงได้นั้นก็มีผลกระทบต่ออยุธยาอย่างสูง เพราะ "ให้เอาพระยาแกล้ว พระยาไทย และครัวกับทั้งรูปพระโครูปสิงสัตว์ทั้งปวงมาด้วย" ซึ่งก็หมายความว่า ได้มีการจับบรรดาขุนนางของเขมร ประชาชนตลอดจนการยึดทรัพย์สมบัติรูปปั้นรูปหล่อทางศาสนาเข้ามายังอยุธยา ทำให้อิทธิพลของเขมรในด้านการปกครอง ประเพณี ตลอดจนงานศิลปะมาปรากฎชัดในอยุธยา นักประวัติศาสตร์บางท่านตีความว่าอิทธิพลของเขมรในราชสำนักอยุธยา เช่นเรื่องลัทธิเทวราชา พิธีเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ราชศัพท์ (ซึ่งเต็มไปด้วยภาษาเขมรนั้น) เป็นผลอันเนื่องมาจากสงครามทั้งสามครั้งในตอนต้นอยุธยานี้เอง แต่ก็น่าเชื่อว่าอิทธิพลของเขมรหรือขอมนั้นมีอยู่ในตอนกลางของลุ่มแม่นำเจ้าพระยาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 แล้ว ทำให้วัฒนธรรมของอยุธยาแตกต่างกับกลุ่มไทยอื่นๆ ทั้งหมด 
  
          ในการแผ่ขยายอำนาจของอยุธยาในช่วงต้นนี้ จะเป็นการใช้ทั้งกำลังทหารทำสงคราม และใช้วิธีการแต่งงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ดังนั้นมเหสีของเจ้าสามพระยาองค์หนึ่งก็จะเป็นเจ้าหญิงจากราชวงศ์สุโขทัย ทำให้เมื่อปี พ.ศ.1989 พระองค์สามารถส่งพระโอรสคือ พระราเมศวร (ต่อมาเป็น พระบรมไตรโลกนาถ) ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก (ซึ่งเมื่อปี พ.ศ.1973 ได้กลายเป็นเมืองหลวงของสุโขทัยแทนเมืองสุโขทัยเดิม) 
  
          เจ้าสามพระยาสวรรคตเมื่อ พ.ศ.1991 ในขณะที่พยายามขยายอำนาจขึ้นไปยังเชียงใหม่ ในปลายสมัยของพระองค์ได้ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ 2 ครั้ง กวาดต้อนประชาชนของล้านนาลงมาถึง 120,000 คน แต่ก็ยังไม่สามารถ พิชิตเมืองเชียงใหม่ได้ 
  
          พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในการปกครอง และการรบ ดังจะเห็นได้จากกรณีเมืองเหนือ และเมืองกัมพูชา กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ.1974 พระองค์ได้ทรงยกกองทัพไปล้อมพระนครหลวง (นครธม) ของกัมพูชาอยู่ถึงเจ็ดเดือนจึงสามารถยึดได้ นับเป็นการขยายพระราชอาณาาเขตของ อาณาจักรอยุธยาตอนต้นอย่างเป็นรูปธรรม 
  
          ในรัชสมัยของพระองค์นอกจากทำสงครามขยายพระราชอาณาเขตแล้ว ยังได้ปรับปรุงด้านการปกครอง โดยได้ทรงตรากฎหมายลักษณะอาญาศึก (อยู่ในลักษณะกบฎศึก) ขึ้นในกรุงศรีอยุธยา 
  
          สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็ง และเอาพระทัยใส่ทุกข์ทุกข์สุขของราษฎรเป็นอย่างดี 
  
          สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.1991 ครองราชได้ 24 ปี



พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ของ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ได้แก่
 
          1. ยกกองทัพไปตีเมืองนครธมของอาณาจักรเขมรได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ.1974 กวาดต้อนผู้คนและริบทรัพย์สมบัติมาเป็นอันมาก หลังจากนั้นเขมรตองย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่อื่นที่ไกลกรุงศรีอยุธยาออกไป 
  
          2. รวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาเมื่อ พ.ศ.1981 แล้วส่งพระราเมศวรโอรส ซึ่งเป็นพระมาหอุปราชไปครองเมืองพิษณุโลกเมืองหลวงของสุโขทัย พระราเมศวรองค์นี้ภายหลังได้ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลต่อมา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ 
  
          3. พยายามขยายอำนาจไปยังอาณาจักรล้านนา ด้วยการยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.1985 พระองค์ได้ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่สำเร็จ จึงได้ยกกองทัพไปตีเชียงใหม่อีกครั้ง เมื่อ พ.ศ.1988 ได้หัวเมืองชายแดนของเชียงใหม่ แต่ทรงประชวรเสียก่อน จึงทรงยกกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยา 
  
          4. ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงสร้างวัดราชบูรณะและวัดมเหยงค์ ประกอบด้วยพระธาตุ และพระวิหาร โดยสร้างไว้ ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา

ที่มา เว็บไซต์ yudya.com


สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา), สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) หมายถึง, สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) คือ, สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) ความหมาย, สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu