ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หมายถึง, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ความหมาย, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

          ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย คำว่า "ประชาธิปไตย" แปลว่า "ประชาชนเป็นใหญ่" คือการที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย หรือมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แต่ประชาชนทั้ง 65 ล้านคน จะเข้าไปปกครองบริหารประเทศทั้งหมด ด้วยตนเองย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงต้องมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ตัวแทน ที่ตนเลือกเพื่อให้ไปทำหน้าที่แทน ดังนั้น วันเลือกตั้ง ก็คือวันที่ประชาชนไปมอบอำนาจอธิปไตย หรือไปมอบหมายหน้าที่ให้แก่ผู้แทนที่ตนเลือกนั่นเอง

          ถ้าผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปสามารถทำหน้าที่แทนประชาชนได้อย่างดี มีประสิทธิภาพสมกับที่ ประชาชนไว้วางใจ ประชาชนก็จะอยู่ดี มีสุข ประเทศชาติและท้องถิ่น เจริญพัฒนา  ปัญหาความเดือดร้อนของ ประชาชนได้รับการเยียวยาแก้ไข

          แต่ถ้าประชาชนเลือกผู้แทนที่ไม่ดี ไม่มีความรู้ความสามารถขาดคุณธรรม ได้รับเลือกตั้งด้วยการทุจริต ใช้เงินซื้อเสียง หลบเลี่ยงกฎหมาย เมื่อได้เข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชน ก็ต้องถอนทุนคืนด้วยการทุจริต คอร์รัปชั่น เงินงบประมาณที่จะไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของ ประชาชนก็รั่วไหล ปัญหาความ เดือดร้อนของประชาชนก็ไม่ได้รับการแก้ไข เพราะตัวแทนที่เลือกเข้าไปไม่มีความคิดรับผิดชอบต่อบ้านเมือง และทรยศต่อประชาชนที่ไว้วางใจมอบอำนาจอธิปไตยให้ตนเข้าไปทำหน้าที่แทน



ทำไมต้องไปเลือกตั้ง

          การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนโดยประชาชน เพื่อประชาชน แท้จริงแล้ว ประชาชนจะต้องปกครองกันเอง ออกกฎหมายเอง บริหารเอง แต่ประชาชนมีจำนวน มากไม่สามารถหาสถานที่และเวลา ในการประชุมหารือกันได้ จึงต้องมีการเลือกตั้ง มอบอำนาจให้บุคคลหรือ คณะบุคคลไป ทำหน้าที่แทนตน การมอบอำนาจหรือการเลือกตั้งของแต่ละประเทศแตกต่างกัน บางประเทศ มอบอำนาจให้แก่ผู้ที่จะไปทำหน้าที่แทนตน แต่บางประเทศมอบอำนาจให้บางส่วน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา- จักรไทย พ.ศ.2540 มอบอำนาจให้บุคคลหรือคณะบุคคลเพียงบางส่วน ประชาชนยังมีช่องทางแห่งอำนาจที่จะ เสนอกฎหมายได้โดยตรง

          ดังนั้น การมอบอำนาจให้ใครก็ตามทำหน้าที่แทนเรา ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะผลกระทบจากการ ที่เราใช้อำนาจในทางที่ผิด หรือไม่เกิดประสิทธิภาพจะส่งผลต่อตัวเรา ครอบครัว และสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ.2540 กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคนไทย ทุกคนที่เรา ต้องใช้สิทธิลงคะแนน ในการ เลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่ปกครองผลประโยชน์และดูแลทุกข์สุขของประชาชน



หลักคิดการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

          - พิจารณาความรู้ความสามารถของผู้สมัครรับเลือกตั้ง จากการพิจารณาการแนะนำตัว ความรู้ ความชำนาญ จากประสบการณ์ของผู้สมัคร 
          - ชื่อเสียงและความประพฤติส่วนตน การเสียสละเพื่อสังคม จากพฤติกรรมของผู้สมัครที่ปรากฏในสังคม 
          - ผู้ใด หรือผู้สมัครที่ใช้อามิสสินจ้าง ทั้งให้ตัวเองของเราหรือรับทราบอย่างแน่ชัดว่ามีพฤติกรรมเช่นนั้น ไม่สมควรเลือกโดยเด็ดขาด เพราะขาดจริยธรรมตั้งแต่เริ่มต้น
          - มีคุณธรรม และความเสียสละไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น 
          - มีความรู้ความสามารถ คือรู้ปัญหา รู้หน้าที่ และมีแนวคิดหรือข้อเสนอในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน มีความเป็นไปได้  
          - มีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย คือ มีเหตุผล ไม่ถือความคิดของตนเป็นใหญ่ เคารพมติเสียงส่วนใหญ่ รับฟังความเห็นของเสียงส่วนน้อย  
          - มีการหาเสียงหรือแนะนำตัวอย่างสร้างสรรค์โดยไม่ฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงกฎกติกาการเลือกตั้ง


ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

          คนไทยทุกคนที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และมีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้านมาแล้วมากกว่า 90 วัน  เป็น ผู้สิทธิเลือกตั้ง ยกเว้นพระภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช แม่ชี คนวิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ผู้ที่อยู่ในระหว่างจำคุก และผู้ที่อยู่ในระหว่าง ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

การเตรียมพร้อมก่อนไปเลือกตั้ง

1. การตรวจสอบชื่อ – นามสกุล และที่เลือกตั้ง
    - 20 วันก่อนการเลือกตั้ง ไปอ่านประกาศที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ว่าการอบต. ว่าเราอยู่ในหน่วยเลือกตั้งใด และที่เลือกตั้ง อยู่ที่ใด เรามีชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่
    - 15 วันก่อนการเลือกตั้ง เจ้าบ้านจะได้รับแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่อยู่ในทะเบียนบ้านของตน

2. การเพิ่มชื่อ ถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
    - ไม่น้อยกว่า 10 วันก่อนวันเลือกตั้ง หากชื่อตกหล่นไปให้ยื่นคำร้องขอเพิ่ม หรือถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งออกจากบัญชีต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ทำการแทน กกต.เขต
    - จนถึงวันเลือกตั้ง เจ้าบ้านสามารถนำหลักฐานทะเบียนบ้านมาแสดงต่อคณะกรรมการประจำหน่วย
เลือกตั้ง (กปน.) เพื่อถอนชื่อบุคคล ที่ปรากฏชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ในทะเบียนบ้านของตน

3. การเตรียมหลักฐานเพื่อใช้ในการไปลงคะแนน
      ก่อนไปลงคะแนนให้เตรียมหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้ง ดังนี้

    - บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัว ประชาชนที่หมดอายุ
    - ใบรับคำขอมีบัตรหรือเปลี่ยนบัตรใหม่ที่ติดรูปถ่าย และประทับตราเจ้าหน้าที่ (ใบเหลือง)
    - ใบแทนใบรับคำขอมีบัตรที่ติดรูปถ่าย และประทับตราเจ้าหน้าที่ (ในสีชมพู)
    - บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรประจำตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้รับบำเหน็จบำนาญ
    - หนังสือเดินทางที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศที่มีหมายเลขประจำประชาชน และรูปถ่าย (กรณีการลงคะแนนในต่างประเทศ)



ขั้นตอนการลงคะแนน

          1. ตรวจลำดับที่ของตนในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ปิดประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง 
          2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน ลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อ พร้อมพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาที่ต้นขั้วบัตร 
          3. กรรมการจ่ายบัตรเลือกตั้งให้ 2 ใบ 
          4. เข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมายเลือก โดยใช้ตรายางรูปเครื่องหมายกากบาท( x ) ประทับหมึกและประทับลงที่ช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งไม่เกินบัตรละ 1 หมายเลข ถ้าไม่ต้องการเลือกใครก็ทำเครื่องหมายที่ช่องไม่ลงคะแนน 
          5. พับบัตรและหย่อนบัตรด้วยตนเองลงในหีบบัตร

ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง


การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หมายถึง, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ความหมาย, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu