ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สรุปประเด็นความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ, สรุปประเด็นความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ หมายถึง, สรุปประเด็นความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ คือ, สรุปประเด็นความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ความหมาย, สรุปประเด็นความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
สรุปประเด็นความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ

ศูนย์การศึกษาวิจัยการเมืองไทย ได้ประมวลสรุป ประเด็นความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ประเด็นเกี่ยวกับวุฒิสภา และประเด็นด้านองค์กรอิสระ ดังต่อไปนี้

ประเด็นด้านสิทธิชุมชน
          กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิชุมชน ที่ให้สิทธิชุมชนสามารถบริหารจัดการ ดูแลรักษา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเองได้ ตลอดจนสามารถอนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนจารีตประเพณีในแต่ละพื้นที่ได้เอง นอกจากนี้ การดำเนินโครงการของรัฐที่กระทบต่อชุมชนในพื้นที่จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ก่อนการตัดสินใจโครงการ ทำให้ชุมชนที่มีความเป็นเจ้าของพื้นที่และมีความผูกพันกับพื้นที่เห็นด้วยกับบทบัญญัติดังกล่าว  นอกจากนี้ มีการเสนอให้ขยายขอบเขตนิยามของชุมชน ให้รวมถึงชนเผ่าหรือชาติพันธุ์ที่อาศัยในราชอาณาจักรไทยด้วย

ประเด็นเกี่ยวกับวุฒิสภา
          สำหรับประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภาถือเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางถึงข้อดีหรือข้อด้อยของทั้งการสรรหาและการเลือกตั้ง แต่ความคิดเห็นส่วนใหญ่ของประชากรกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้พบว่า ต้องการให้สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน(เช่นเดิมกับที่มาในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540) นอกจากนี้ยังมีความคิดเห็นที่จะให้สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจากการเลือกตั้งจากบรรดากลุ่มอาชีพต่างๆ รวมทั้งมีการผสมผสานกันระหว่างการสรรหาและเลือกตั้ง ในร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 (ฉบับแก้ไขครั้งที่สอง) มีข้อเสนอที่ขอแก้ไขโดยคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ซึ่งเสนอให้สมาชิกวุฒิสภามีจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 76 คน (จังหวัดละหนึ่งคน) ส่วนจำนวนที่เหลือ 74 คน มาจากการสรรหา จากกรณีดังกล่าวถือเป็นประเด็นที่น่าจับตาดูว่าสังคมจะมีเสียงตอบรับเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร

ประเด็นด้านองค์กรอิสระ
          มีข้อเสนอของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญในเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการองค์กรอิสระให้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเพราะเป็นการปิดกั้นโอกาสโดยกฎหมายและขัดกับมาตราของหมวด 3 ว่าด้วย "สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย" เพราะเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน นอกจากนี้ มีผู้เสนอว่าควรมีองค์กรอิสระระดับจังหวัดเพื่อติดตามตรวจสอบอำนาจผู้บริหารในระดับท้องถิ่น ควรกำหนดระยะเวลาตรวจสอบขององค์กรอิสระในการตรวจสอบหน่วยงาน และเพิ่มองค์กรอิสระเข้าเป็นคณะกรรมการสรรหาในสัดส่วนที่เหมาะสม ในส่วนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง กลุ่มตัวอย่างต้องการให้ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เนื่องจากเกรงว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะผูกขาดอำนาจแต่เพียงองค์กรเดียว

          นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างเสนอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีสิทธิฟ้องร้องแทนประชาชนได้อย่างสมบูรณ์ และมีการเสนอให้จัดตั้ง "องค์กรอิสระเพื่อพัฒนาการเมืองภาคประชาชน" เพื่อเป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนให้เป็นรูปธรรมขึ้นในลักษณะขององค์กร ที่ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกับประชาชน ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ทางการเมืองของประชาชน ตลอดจนเป็นกลไกในการตรวจสอบการดำเนินงานทุกระดับแทนประชาชนด้วย เพื่อเป็นการพัฒนาการเมืองภาคประชาชนในระยะยาว 

ข้อมูลจาก : https://www.thprc.org/node/372

สรุปประเด็นความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ, สรุปประเด็นความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ หมายถึง, สรุปประเด็นความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ คือ, สรุปประเด็นความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ความหมาย, สรุปประเด็นความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu