วัน-ทู-โก (One Two Go Airlines) เป็นสายการบินแบบประหยัดรายแรก และรายเดียวของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546
คณะผู้บริหาร:
ประธานบริหาร : อุดม ตันติประสงค์ชัย
รองประธานบริษัทเเละกรรมการผู้อำนวยการ : ขจิต หัพนานนท์
จำนวนเที่ยวบินต่อสัปดาห์: 168 เที่ยวบิน/สัปดาห์
เครื่องบิน
- B-747 6 ลำ
- MD-82 7 ลำ
เครื่องบินทั้งหมด 13 ลำ
จำนวนผู้โดยสารที่สามารถรองรับได้ในแต่ละเดือน 145,000 - 150,000 คนโดยประมาณ
ข้อมูลเครื่องบิน
โบอิ้ง 747-SR
จำนวนเครื่อง : 3 ลำ
ความจุผู้โดยสาร : ชั้นธุรกิจ 16 ที่นั่ง /ชั้นประหยัด 446 ที่นั่ง
เครื่องยนต์ : Pratt & Whitney JT 7
ความเร็วบิน : เร็วกว่าเสียง 0.85 เท่า / 560 ไมล์ต่อชั่วโมง
เพดานบิน : 41,000 ฟุต (12,400 เมตร)
ระยะบิน : 5,600 ไมล์ทะเล (8,960 กิโลเมตร)
โบอิ้ง 747-LR
จำนวนเครื่อง : 3 ลำ
ความจุผู้โดยสาร : ชั้นธุรกิจ 16 ที่นั่ง /ชั้นประหยัด 440 ที่นั่ง
เครื่องยนต์ : Pratt & Whitney JT 9D/7A
ความเร็วบิน : เร็วกว่าเสียง 0.85 เท่า / 560 ไมล์ต่อชั่วโมง
เพดานบิน : 41,000 ฟุต (12,400 เมตร)
ระยะบิน : 6,800 ไมล์ทะเล (10,900 กิโลเมตร)
MD-82
จำนวนเครื่อง : 7 ลำ
ความจุผู้โดยสาร : ชั้นประหยัด 172 ที่นั่ง
เครื่องยนต์ : Pratt & Whitney JT 8D-217A/C
ความเร็วบิน : เร็วกว่าเสียง 0.76 เท่า / 430 ไมล์ต่อชั่วโมง
เพดานบิน : 37,000 ฟุต (11,200 เมตร)
ระยะบิน : 2,200 ไมล์ทะเล (3,520 กิโลเมตร)
ประวัติสายการบิน
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2533 คุณอุดม ตันติประสงค์ชัย ประธานบริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัทโอเรียนท์ไทย แอร์ไลน์ ได้เริ่มต้นธุรกิจสายการบินในกัมพูชาโดยได้สัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาให้เปิดบริการเป็นสายการบินแห่งชาติ
ในปี 2535 ได้มีการจดทะเบียนบริษัทโอเรียนท์เอกซ์เพรสแอร์ขึ้น ได้เริ่มให้บริการโดยมีศูนย์กลางการบินอยู่ที่เชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 727-200 จำนวน 2 ลำ ในเส้นทาง เชียงใหม่ อุดรธานี อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ และเส้นทางบินตรง เชียงใหม่ สุราษฐธานี หาดใหญ่ สมัยนั้นเป็นยุคที่รัฐบาลยังคงเป็นผู้ผูกขาดธุรกิจการบินในประเทศไทย โดยสายการบินเอกชนอื่นไม่สามารถเปิดเส้นทางบินทับกับสายการบินแห่งชาติได้ ดังนั้น การบินเส้นทาง เชียงใหม่ กรุงเทพ จึงจำเป็นที่ต้องแวะที่อู่ตะเภา 20 นาทีแล้วบินวนกลับมาที่กรุงเทพ
ในปี 2539 ได้มีการเปลี่ยนชื่อสายการบิน จาก โอเรียนท์เอกซ์เพรสแอร์ มาเป็น โอเรียนท์ไทยแอร์ไลน์ และได้มีการซื้อเครื่องบิน Lockheed L-1011 มาให้บริการเพิ่มเติม แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2540 จึงทำให้การให้บริการภายในประเทศต้องยุติลง โดยผันตัวเองเป็นผู้ให้บริการเครื่องบินแบบเช่าเหมาลำ (Charter flights) ซึ่งสามารถทำกำไรได้มหาศาล ลูกค้าจากองค์กรระดับนานาชาติ ก็เชื่อถือให้โอเรียนท์ไทยเข้าร่วมเป็นสายการบินช่วยอพยพผู้ลี้ภัยจากประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอพยพผู้ลี้ภัยชาวโคโซโวจากประเทศออสเตรเลีย หรือการช่วยส่งผู้ลี้ภัยชาวติมอร์กลับประเทศ เป็นต้น
ในปี 2544 ก็ได้มีการซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 747 มาให้บริการเพิ่มเติม จนในปัจจุบันมีเครื่องบินโบอิ้ง 747 ให้บริการทั้งสิ้น 8 ลำ
หลังจากที่รัฐบาลไทยประกาศนโยบายเปิดน่านฟ้าเสรี ในปี 2545 ทำให้โอเรียนท์ไทยแอร์ไลน์ กล้าที่จะประกาศศักยภาพของนักลงทุนไทย ด้วยการก้าวลงสู่สนามการแข่งขันทางธุรกิจ "สายการบินราคาประหยัด" ( Low-cost Airlines ) โดยมีการวางแผนงานตั้งแต่กลางปี 2546 ด้วยคอนเซปต์ วัน-ทู-โก ผู้โดยสารมาถึงสนามบิน สามารถซื้อตั๋วแล้วขึ้นเครื่องได้ทันที และจะใช้เครื่องบินโบอิ้ง 757-200 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโบอิ้ง 737 เดิมทีจะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม แต่ก็เลื่อนออกมาจนกระทั่งมีสายการบินต้นทุนต่ำอีกแห่งหนึ่งแถลงข่าวเปิดให้บริการ วันทูโกจึงประกาศเปิดบินแบบ ต้นทุนต่ำ? เป็นรายแรกในไทย ในเส้นทาง กรุงเทพ เชียงใหม่ ด้วยราคาที่ช็อคตลาด เพียง 999 บาททุกที่นั่ง (รวมภาษีเป็น 1,104 บาท) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546 และได้ปรับขึ้นราคาเป็น 1,400 บาททุกที่นั่ง (รวมภาษีเป็น 1,505 บาท) ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2546
เมื่อสายการบินต้นทุนต่ำรายใหม่เปิดให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ด้วยราคาเริ่มต้นเพียง 99 บาท ส่งผลกระทบต่อวันทูโกอย่างจังจนต้องลดเที่ยวบินกรุงเทพ - เชียงใหม่ที่เดิมให้บริการวันละ 4 เที่ยวบินเหลือเพียง 2 เที่ยวบิน และได้มีการปรับลดราคาโปรโมชั่น ได้มีการเพิ่มค่าธรรมเนียมการออกตั๋วจองตั๋ว และเพิ่มเส้นทางบิน จาก กรุงเทพ หาดใหญ่ , กรุงเทพ ภูเก็ต , กรุงเทพ เชียงราย โดยราคา กรุงเทพ เชียงใหม่ ลดเหลือ 1,154 บาททุกที่นั่ง (รวมภาษีแล้ว) ทำให้ได้รับความนิยมจากนักเดินทางที่ไม่นิยมจองตั๋วล่วงหน้านานๆ เป็นจำนวนมากจนสามารถเปลี่ยนอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพ ให้มีบรรยากาศกลายเป็นหมอชิต 2 ได้
มิถุนายน 2547 ได้เปิดให้บริการเส้นทาง กรุงเทพ อุดรธานี แต่ทว่า การแข่งขันสูงมาก มีเที่ยวบินมากกว่าความต้องการของผู้โดยสาร จึงยกเลิกการให้บริการตั้งแต่ 31 สิงหาคม 2547 และจะเปิดให้บริการอีกทีในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 ในเดือน กรกฎาคม ได้มีการปรับระบบการคิดค่าโดยสารใหม่ โดยยกเลิกค่าธรรมเนียมการจองตั๋ว เปลี่ยนเป็น การจองตั๋วล่วงหน้าหรือซื้อที่สนามบินก็ราคาเท่ากัน และราคาก็รวมภาษีทุกอย่าง ทำให้ผู้โดยสารสามารถเข้าใจราคาได้ง่ายขึ้น โดยเส้นทาง กรุงเทพ เชียงใหม่ ปรับราคาเป็น 1,150 บาท ทุกที่นั่ง และได้ปรับราคาขึ้นเป็น 1,350 บาท ทุกที่นั่ง ในเดือนพฤศจิกายน 2547
จากภาวะที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ วันทูโก ได้ปรับราคาค่าโดยสารใหม่ สำหรับตั๋วโดยสารที่ออกหลังกลางเดือนมีนาคม 2548 เพิ่มขึ้นอีก 150 บาท จึงทำให้เส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ คิดค่าโดยสาร 1500 บาท และ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2548 3 สายการบินโลว์คอสต์ซึ่งประกอบไปด้วย นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย และ วันทูโก ได้จัดงานแถลงข่าวเรื่องค่าธรรมเนียมเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นอีกเที่ยวละ 200 บาท จึงทำให้วันทูโกได้ปรับราคาค่าโดยสารขึ้นอีก เป็น 1,550 บาทสำหรับเส้นทางเชียงใหม่ และ ภูเก็ต
ในอนาคตสายการบินมีโครงการจัดซื้อเครื่องบิน MD80 มาให้บริการเพิ่มเติมในเส้นทางภายในประเทศเพื่อนำเครื่องบิน โบอิ้ง 757 และ โบอิ้ง 747 ไปให้บริการในเส้นทางระหว่างประเทศรวมถึงเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำต่อไป รวมถึงการแยกวันทูโก ให้เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งอิสระจากสายการบินโอเรียนท์ไทยด้วย
เส้นทางการบิน วัน ทู โก แอร์ไลน์
ทำการบินขึ้น-ลง ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง
กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ
กรุงเทพฯ-ภูเก็ต-กรุงเทพฯ
กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี-กรุงเทพฯ
กรุงเทพฯ-กระบี่-กรุงเทพฯ
กรุงเทพฯ-หาดใหญ่-กรุงเทพฯ
กรุงเทพฯ-เชียงราย-กรุงเทพฯ
กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ
ทำการบินขึ้น-ลง ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
กรุงเทพฯ-ภูเก็ต-กรุงเทพฯ
ทำการบินร่วมกับสายการบินนกแอร์
ภูเก็ต-หาดใหญ่-ภูเก็ต
อุบัติเหตุ เครื่องบินลื่นไถลออกนอกรันเวย์
เมื่อเวลา 15.40 น. วันที่ 16 กันยายน ได้เกิดเหตุเครื่องบิน Boeing MD-82 (HS-OMG) สายการบินวันทูโก บรรทุกผู้โดยสารจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าไปยังท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ลื่นไถลออกนอกรันเวย์ โดย ขณะที่นักบินกำลังนำเครื่องร่อนลงบนสนามบิน ได้เกิดฝนตกลงมาอย่าหนัก ทำให้พื้นรันเวย์ลื่น เป็นเหตุทำให้เครื่องบินที่ร่อนลงบนพื้นรันเวย์ ได้ประมาณ 300 เมตร เกิดการลื่นไถลออกนอกรันเวย์ และได้พุ่งชนต้นไม้นอกรันเวย์ได้รับความเสียหาย
อุบัติเหตุในครั้งนี้ ทำให้เครื่องบินพุ่งไถลออกไปทางรันเวย์ด้านขวา โดยหัวของเครื่องบินได้พุ่งไปชนกับกำแพง เกิดไฟลุกไหม้บริเวณส่วนหัวและเกิดระบิดขึ้น ส่วนลำตัวเครื่องบินได้ขาดออกเป็น 2 ท่อน ทั้งนี้หลังเกิดอุบัติเหตุได้เกิดกลุ่มควันขึ้นภายในเครื่องบิน
เครื่องดังกล่างเป็นเครื่องแบบ เอ็มดี 80 มีความจุผู้โดยสารจำนวน 172 ที่นั่ง โดยเที่ยวบินดังกล่าวมีผู้โดยสาร จำนวน 123 คน (มีผู้โดยสาร ชาวต่างชาติ 56 คน คนไทย 67 คน) และลูกเรืออีก 5 คน โดยก่อนเกิดเหตุ เครื่องบินลำดังกล่าวได้บินมุ่งหน้าจากกรุงเทพมาลงที่ภูเก็ตแต่ระหว่างที่เครื่องบินมาถึงได้บินตามเครื่องบินของโอเลี่ยนบินนำลงมาก่อน จากนั้นเครื่องลำที่ตกได้บินตามลงมา แต่เนื่องจากสภาพอากาศมีฝนตกอย่างหนักประกอบกับลมแรง นักบินบนเครื่องจึงขออนุญาตขอบังคับการบินนำเครื่องขึ้นไปบินวนรอบสนามบินอีกรอบ และหลังจากล้อเครื่องบินแตะรันเวย์นักบินได้เชิดหัวเครื่องขึ้น แต่เครื่องบินเกิดเสียหลักพุ่งตกลงข้างรันเวย์ทำให้เครื่องหักเป็นสองท่อนและเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นอย่างรุนแรง
จากอุบัติเหตุครั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 89 ราย รวมทั้งกัปตันทั้ง 2 ท่าน และมีผู้บาดเจ็บอีก 41 ราย ลูกเรือรอดชีวิต 2 ราย จาก 5 ราย
ที่มา www.hflight.net โดย ยุ่งชะมัดฯ
www.fly12go.com
https://news.sanook.com