ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม, โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม หมายถึง, โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม คือ, โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม ความหมาย, โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม

          การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยเป็นอาชีพที่สร้างงานและรายได้ให้กับเกษตรกรไทยมากว่า 40 ปี  รวมทั้งทำให้คนไทยมีโอกาสบริโภคนมมากขึ้น ในปัจจุบันการผลิตน้ำนมดิบในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ คนไทยบริโภคน้ำนมโดยเฉลี่ยถึง 20 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และปริมาณน้ำนมที่ผลิตได้ในประเทศ มีเพียงประมาณร้อยละ 20 ของความต้องการทั้งหมด ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเลี้ยงโคนมนอกจากเป็นอาชีพที่สำคัญสำหรับเกษตรกรไทยแล้ว ยังมีผลกระทบสูงต่อสุขภาพของคนไทย โดยเฉพาะในวัยเจริญเติบโต

          จากปัญหาด้านการจัดหา และเพิ่มจำนวนโคพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงดูในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้าพันธุ์โคจากต่างประเทศที่มีราคาแพง และยากต่อการปรับตัวในสภาพร้อนชื้นของประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้ร่วมมือกับ กรมปศุสัตว์ ทำโครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม เพื่อสร้างระบบการผลิต “โคนมลูกผสม” ที่เหมาะสมกับสภาพของประเทศ โดยเริ่มจาก “แม่โคบราห์มันลูกผสม” ที่เกษตรกรนิยมเลี้ยง และนำเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์และการผสมเทียมมาใช้ กล่าวคือ ทำการผสมเทียมแม่โคบราห์มันลูกผสม โดยใช้น้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ดี เช่น โฮสไตน์ ฟรีเชี่ยนพันธุ์แท้ ลูกโคที่ได้   เรียกว่า “โคฟรีบรา” แม้โคฟรีบรามีสายเลือดโฮสไตน์ ฟรีเชี่ยนไม่แท้ 100 % แต่จะ “เลี้ยงดูง่าย ได้ลูกถี่  ให้นมพอดี มีผลผลิตยืนนาน” นอกจากนี้ ยังเหมาะกับเกษตรกรมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์มากนัก “โคฟรีบรา” สามารถใช้เป็นโคพื้นฐานในการพัฒนาเป็น “โคนมไทย” ที่มีสายเลือดสูงเพิ่มขึ้นต่อไป

          การดำเนินงานที่ผ่านมาโครงการฯ คัดเลือกแม่โคของเกษตรกรที่มีคุณลักษณะตามที่กำหนด เพื่อทำการผสมเทียม และรับซื้อลูกโคหย่านมคืนจากเกษตรกรในราคาประกัน ลูกโคฟรีบราเพศเมียจะถูกเลี้ยงเป็นโคสาวและทำการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อพันธุ์ดี และจำหน่ายเป็นโคสาวตั้งท้องให้กับเกษตรกรรายย่อย และกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม ในเขตจังหวัดลพบุรี บุรีรัมย์  หนองบัวลำภู และนครราชสีมา

          จากการติดตามข้อมูลการให้น้ำนมของโคฟรีบรา ที่สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ปากช่องพบว่า โคฟรีบราที่กินอาหารเฉลี่ยเป็นถั่วคาวาลเคดแห้ง 2 กก. ข้าวโพดหมัก 22 กก. อาหารข้นโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์  5 กก. /ตัว/วัน ให้นมเฉลี่ย 14 กก. /ตัว/วัน รวมเฉลี่ยค่าอาหาร 69 บาท/ตัว/วัน จำหน่ายน้ำนมได้ที่ราคาประกันน้ำนม 12.50 บาท/กก. ได้กำไร 106 บาท/ตัว/วัน จะเห็นได้ว่า หากเกษตรกรมีแม่โคฟรีบรารีดนมจำนวน 5 ตัว เกษตรกรจะมีรายได้โดยหักค่าอาหารแล้วประมาณวันละ 500 บาท

          สำหรับลูกโคฟรีบราเพศผู้ จะเลี้ยงขุนและจำหน่ายให้กับเกษตรกรต่อไป โดยพันธุ์ “โคเนื้อไทย” ที่ได้จากโครงการมีลักษณะ “โตเร็ว เอวยาว อกใหญ่ บั้นท้ายเต็ม” ซึ่งสามารถขยายตลาดได้อย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โครงการฯ จึงริเริ่มศึกษาวิจัยโคขุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโคฟรีบรา ในเบื้องต้นได้ดำเนินการประเมินคุณลักษณะการให้เนื้อของโคฟรีบรา โดยนำมาขุนและทดสอบคุณภาพซาก พบว่า โคฟรีบราเพศผู้มีการเจริญเติบโตในระยะขุนดีมาก ค่าเฉลี่ยเกิน 1.2 กก./ตัว/วัน เปอร์เซ็นต์เนื้อแดงและพื้นที่หน้าตัดเนื้อสันมีความใกล้เคียง และอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี  เมื่อเปรียบเทียบกับโคพันธุ์ลูกผสม  บรามันห์ ลูกผสมชาโลเล่ห์ และโคมัน

          เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัว(โคล้านตัว)  โครงการฯ ได้ปรับแผนการผลิต และผสมพันธุ์โคฟรีบราให้มีลักษณะค่อนข้างเป็นโคเนื้อ โดยใช้น้ำเชื้อโคเนื้อพันธุ์ต่างๆ เช่น พันธุ์บรามันห์แดง พันธุ์ชาโลเล่ห์ พันธุ์ตาก และพันธุ์กำแพงแสน ปรากฏว่า โคลูกผสมดังกล่าวเป็นที่สนใจ และต้องการของเกษตรกร โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นสหกรณ์โคเนื้อ  และเอกชนผู้ประกอบธุรกิจโคขุนรายใหญ่ เช่น สหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จ.นครปฐม ลุงเชาว์ฟาร์ม จ.สุพรรณบุรี  และบริษัท 505 จำกัด  จ.นครราชสีมา เป็นต้น   

          นอกจากนี้ ไบโอเทค ได้สนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม จัดหลักสูตรฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมเบื้องต้น ให้กับเกษตรกรตัวแทนจากอำเภอเมือง อำเภอพิมาย อำเภอประทาย และอำเภอหนองบัวลาย  จ.นครราชสีมา ซึ่งรวมตัวจัดตั้งกลุ่มผู้สนใจเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพ  องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน ช่วยสนับสนุนให้โครงการนี้เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร ตามแนวนโยบายของรัฐบาลได้อย่างยั่งยืน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)


โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม, โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม หมายถึง, โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม คือ, โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม ความหมาย, โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu