ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

กบฎ รศ. 130, กบฎ รศ. 130 หมายถึง, กบฎ รศ. 130 คือ, กบฎ รศ. 130 ความหมาย, กบฎ รศ. 130 คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
กบฎ รศ. 130


ขอให้เห็นเช่นเราผู้เฒ่าทัก บำรุงรักษาชาติสอาดศรี
ทั้งเจ้านายฝ่ายพหลและมนตรี จงเป็นที่ศีวิไลซ์จริงอย่างนิ่งนาน
ให้รีบหาปาลีเมนต์ขึ้นเป็นหลัก จะได้ชักน้อมใจไพร่สมาน
เริ่มเป็นฟรีปรีดาอย่าช้ากาล รักษาบ้านเมืองเราช่วยเจ้านาย

กลอนข้างบนนี้เป็นของนักคิดนักเขียนผู้ล้ำยุคในสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ คือเทียนวรรณ หรือ ต.ว.ส.วัณณาโภ เขียนไว้เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๙ เรียกร้องให้จัดตั้ง Parliament หรือการปกครองแบบมีสภาผู้แทนราษฎรขึ้นในขณะที่สยามยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่มีใครคิดว่า ๕ ปีต่อมา ความคิดของเทียนวรรณได้รับการสานต่อเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจริงๆ แม้จะล้มเหลวลงตั้งแต่ยังไม่ทันลงมือก็ตาม

ในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔(ร.ศ. ๑๓๐) นายทหารหนุ่มและพลเรือนกลุ่มหนึ่งถูกทางการจับกุมในข้อหาคบคิดวางแผนการปฎิวัติ ลดอำนาจพระมหากษัตริย์ลงมาใต้กฎหมายแบบเดียวกับอังกฤษและญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีแผนจะเปลี่ยนองค์พระมหากษัตริย์ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเจ้านายพระองค์อื่นด้วย คนพวกนี้ยังไม่ทันจะลงมือทำ แผนก็รั่วไหลจนถูกจับกุมได้เสียก่อน รวมผู้ก่อการจำนวน ๙๒ คน

สิ่งที่น่าตกใจอย่างแรกคือบุคคลเหล่านี้ไม่ใช่คนอื่นคนไกลพระมหากษัตริย์ ทหารส่วนใหญ่มาจากหน่วยทหารรักษาพระองค์ ส่วนพลเรือนหลายคนเป็นนักกฎหมายหนุ่มระดับปัญญาชนของประเทศ ในจำนวนนี้มีอยู่มาก ที่เป็นลูกศิษย์และมหาดเล็กใกล้ชิดสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ทำให้เป็นที่เดือดร้อนพระราชหฤทัยมาก ทรงรับหน้าที่เป็นประธานอำนวยการพิจารณาโทษพวกนี้อย่างเคร่งครัด ท่ามกลาง "ข่าวลือ"

ว่าทรงอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพระเจ้าอยู่หัว ทั้งที่พวกกบฎเองก็ไม่ยอมรับพระองค์ในตอนนั้นเพราะทรงจับพวกเขาเข้าคุกเข้าตะราง การที่ต้องทรงยืนอยู่บนทางสองแพร่งทำให้ลำบากพระทัย จนถึงกับขอลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงยับยั้งไว้ ทรงให้เหตุผลว่าทรงเชื่อถือในพระราชอนุชา และ

"…ถ้าเมื่อใดฉันไม่ไว้วางใจให้เธอกระทำการในน่าที่แล้ว ฉันจะไม่รอให้เธอเตือนเลย ฉันจะบอกเธอเองทันที"

ย้อนมาดูว่ากบฎ ร.ศ. ๑๓๐ เกิดขึ้นได้เพราะเหตุใด ก็จะประมวลมาได้ถึงสาเหตุ ๓ อย่างใหญ่ๆคือ

๑ อุดมการณ์แบบตะวันตก ที่เผยแพร่มากับตำรับตำราวิชาการและสื่อหนังสือพิมพ์ต่างๆ โดยเฉพาะความคิดที่ว่าประเทศทางตะวันตกที่เจริญแล้วล้วนปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดี(อย่างฝรั่งเศส) หรือไม่ก็มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ(อย่างอังกฤษ) ชาวสยามรุ่นใหม่จึงคิดว่า ถ้าจะทำให้สยามเจริญขึ้นมาได้ ก็ต้องเปลี่ยนการปกครองให้เป็นแบบประเทศตะวันตกเสียก่อน

๒ ความไม่พอใจ "ระบบราชการ" ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าระบบเจ้าขุนมูลนาย และความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๓ คือเกิดภัยธรรมชาติและโรคระบาดติดต่อกันหลายปี ทำให้ราษฎรในหัวเมืองลำบากกันมากถึงขั้นต้องอพยพทิ้งถิ่น ปลูกข้าวไม่ได้ ถึงขั้นบางคนก็อดตาย พอดีกับช่วงนั้น รัฐเก็บภาษีการเกษตรเพิ่มขึ้น ทำให้เดือดร้อนกันมากขึ้นด้วย

๓ เรื่องนี้เกือบจะเรียกว่าเป็นสาเหตุส่วนตัวของผู้ก่อการที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็ได้ คือความไม่พอใจต่อ ' กองทหารเสือป่า ' ที่ตั้งขึ้นในปีนั้น ทหารจำนวนมากรู้สึกว่าเสือป่าซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเรือนและข้าราชสำนักเป็นคู่แข่งของฝ่ายทหาร ได้รับความสำคัญและสิทธิพิเศษมากกว่า นอกจากนี้ยังต้องใช้งบประมาณสิ้นเปลืองเพื่อทำกิจกรรมกันมาก ทั้งที่เสือป่าเองก็ไม่ได้มีความสามารถในการรบเท่ากับทหาร

หนึ่งในผู้ก่อการ ถึงกับเห็นว่าควรปฏิวัติเพื่อให้… 'ทหารมีเกียรติยศเพิ่มขึ้น ให้เชิดหน้าชูตาขึ้นอีก 'เรื่องนี้ก่อความโทมนัสให้พระเจ้าอยู่หัว เพราะทหารที่ก่อกบฎก็คือทหารผู้ใกล้ชิดพระองค์นั้นเอง ถึงกับมีพระราชปรารภว่า

"…ตัวเราเวลานี้ตกอยู่ในที่ลำบาก ยากที่จะรู้ว่าภัยอันตรายจะมาถึงตัวเวลาใด เพราะเรารู้สึกประหนึ่งว่าเป็นตัวคนเดียว หาพวกพ้องมิได้ ฤาที่เป็นพวกพ้องก็พะเอินเป็นผู้ที่อยู่ในตำแหน่งอันหาอำนาจมิได้"

แต่ถึงกระนั้น เมื่อมีคำพิพากษาออกมา ตัดสินโทษประหารชีวิตสำหรับหัวหน้าผู้ก่อการ เมื่อมาถึงขั้นตอนพระราชวินิจฉัย ก็ทรงให้ลดหย่อนผ่อนโทษลงแค่จำคุกตลอดชีวิต คนอื่นก็ได้รับโทษน้อยลง ลดหลั่นกันลงไป แล้วมีการลดโทษลงมาอีกเรื่อยๆจนพ้นโทษกันหมดทุกคนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ หนึ่งปีก่อนจะประชวรและเสด็จสวรรคต

จุดมุ่งหมายเรื่องเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่เรื่องที่พระเจ้าอยู่หัวทรงรังเกียจ แต่ทรงเห็นว่าประชาชนทั่วไปยังไม่มีความเข้าใจในระบอบนี้เพียงพอ เมื่อเริ่มทดลองสอนประชาธิปไตยด้วยการสร้างดุสิตธานี ก็ทรงส่งแบบจำลองการสร้างไปให้นักโทษที่ถูกคุมขังได้มีส่วนร่วมในการช่วยสร้างด้วย ม.ล.ปิ่น มาลากุลผู้เป็นข้าราชบริพารรุ่นเยาว์ในรัชกาลที่ ๖ได้บันทึกไว้ภายหลังว่า

" ภายหลังที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว ผู้เขียนได้รับคำบอกเล่าว่า เขาเหล่านั้นซาบซึ้งในพระบรมราโชบายเป็นอย่างยิ่ง และช่วยกันทำด้วยความจงรักภักดี ทั้งเกิดความรู้สึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุด เพราะเท่ากับพระราชทานชีวิตให้เกิดใหม่ ได้ทำบุญอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลทุกปี"

ที่มา  www.bloggang.com

กบฎ รศ. 130, กบฎ รศ. 130 หมายถึง, กบฎ รศ. 130 คือ, กบฎ รศ. 130 ความหมาย, กบฎ รศ. 130 คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu