ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หมายถึง, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) คือ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ความหมาย, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

          กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. มีสถานะเป็นนิติ บุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ในการจัดตั้งอยู่ 3 ประการ คือ

          - เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญ ให้แก่ข้าราชการ
          - ส่งเสริมการออมทรัพย์
          - จัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้สมาชิก



พัฒนาการของการจัดตั้ง

          ในระยะแรกของการศึกษาเพื่อจัดตั้ง กบข. กระทรวงการคลังได้มีแนวคิดที่จะจัดตั้งเป็นกองทุนบำเหน็จกลาง โดยในหลักการจะออกเป็นพระราชบัญญัติเป็นการเฉพาะขึ้นใหม่ ให้กองทุนมีสถานะเป็นนิติ บุคคล มีคณะกรรมการกองทุนเป็นผู้กำหนดนโยบายการบริหาร และว่าจ้างเอกชนให้บริหารเงิน ข้าราชการและลูกจ้างประจำทุกคนต้องเป็นสมาชิก ซึ่งต้องสะสมเงินเข้ากองทุนโดยรัฐบาลจะจ่ายสมทบให้เป็นประจำทุกเดือนเมื่อ ข้าราชการออกจากราชการจะได้รับเงินบำเหน็จเท่านั้น ยกเว้นข้าราชการที่รับราชการอยู่ก่อนการจัดตั้งกองทุน ซึ่งอาจจะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญจากงบประมาณอีกส่วนหนึ่งด้วย อย่างไรก็ดี เมื่อนำร่างกฎหมายดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีได้มีข้อสังเกตและให้กลับไปทบทวนอีกครั้งโดยเกรงว่าอาจจะมีการ ได้เปรียบเสียเปรียบเกิดขึ้นระหว่างข้าราชการ ที่บรรจุก่อน และหลังวันที่พระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้

          ต่อมากระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อศึกษาการจัดตั้ง กองทุนบำเหน็จกลางอีกครั้ง โดยในการศึกษาของคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้นำข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี และข้อสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund หรือ IMF) มา พิจารณา และในที่สุดได้เสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้คณะ รัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งได้ผ่านขั้นตอนการออกกฎหมายเป็นลำดับ จนในที่สุดได้ตราเป็นพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539 กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงเกิดขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


 



กบข. เพิ่มมาตรฐานการปฏิบัติงานด้วย Balanced Scorecard


         กบข. เพิ่มมาตรฐานการปฏิบัติงานด้วย Balanced Scorecard องค์กรยุคปัจจุบันต่างมุ่งบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ หรือเอกชน และสำหรับ กบข.เองซึ่งมีสถานะเป็นนิติ บุคคลภายใต้ พรบ. กบข. พ.ศ. 2539 ก็มุ่งการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพในทุกระบบงานเพื่อให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน และการให้บริการที่มีคุณภาพ มีเป็นมาตรฐานตลอดจนการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่สมาชิก

          ดังนั้น ในเรื่องการบริหารจัดการภายใน กบข. ได้นำ Balanced Scorecard หรือ BSC เข้ามาใช้ เพื่อให้ระบบ BSC นี้ เป็นเครื่องมือในการจัดการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ โดยอาศัยการวัดผลสำเร็จหรือการประเมินที่กำหนดเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน พร้อมทั้งช่วยเชื่อมโยงการทำงานของแต่ละฝ่ายใน กบข. ให้สอดคล้องกัน และเมื่อวัดผลหรือประเมินผลได้แล้วก็นำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตร ฐานที่กำหนดไว้ว่าผลงานในแต่ละช่วงเวลางานนั้นได้ผลเข้ามาตรฐานหรือไม่ และนำผลนั้นไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนา ปรับปรุงการทำงานต่อไปเพื่อมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมายสูงสุดของ กบข. นั่นคือเพื่อประโยชน์สูงสุดของสมาชิก

          การพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของ กบข. เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ของสังคมปัจจุบันที่เป็นไปด้วยความรวดเร็วและตลอดเวลา ที่สำคัญที่สุดคือเมื่อมีระบบที่ชัดเจน แล้วบุคลากรของ กบข. ก็สามารถรับผิดชอบและมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติ งานตามหน้าที่ของแต่ละคนได้อย่างเต็มศักยภาพ อีกทั้งมีความพร้อมที่จะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดย กบข. จะนำระบบ BSC เข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่เดือน มกราคม 2546 เป็นต้นไป

ที่มา https://www.ecitizen.go.th/view.php?SystemModuleKey=&id=248
ภาพจาก https://www.gpf.or.th/Thai/PR_All_Photo.asp



กว่าจะเป็น กบข.

          ระบบบำเหน็จบำนาญในประเทศ เริ่มขึ้นตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า "ราชการบ้านเมืองมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แม้จะเพิ่มเงินเดือนให้มากขึ้นก็ตาม แต่ข้าราชการมีหน้าที่ต้องรับราชการเต็มเวลา ไม่ใคร่ได้มีโอกาสที่จะสะสมทรัพย์ไว้เลี้ยงตนเองเมื่อยามแก่ชราหรือทุพพลภาพ " ด้วยเหตุนี้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการตราพระราชบัญญัติเพื่อจ่ายเบี้ยบำนาญขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พุทธศักราช 2444 เรียกว่า พระราชบัญญัติเบี้ยบำนาญรัตนโกสินทร์ศก 120 ซึ่งภายหลังได้มีการปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมตลอดมา

          ต่อมาปี พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการเป็นระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง (Central provident fund) โดยให้ใช้หลักการคำนวณมิให้ข้าราชการเสียสิทธิ และผลของการศึกษา ในที่สุดออกมาเป็นการจัดตั้ง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)



เหตุผลและความจำเป็นในการปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญ

          เป็นที่ทราบกันดีว่า ระบบบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 นั้นจะใช้เงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็นหลักในการคำนวณ ทำให้รัฐไม่สามารถปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการที่ยังรับราชการอยู่ ให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพที่แท้จริงได้ เพราะหากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการ ก็จะส่งผลให้รายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการที่ออกจากงานไปแล้วเพิ่มสูง ขึ้นตามไปด้วย

          ประกอบกับที่ผ่านมานั้น รัฐมีภาระผูกพันในการจ่ายบำเหน็จบำนาญ โดยเพียงแต่ตั้งงบประมาณรายจ่ายเป็นรายปีตามแต่จะคำนวณภาระเงินได้ในแต่ละปี เท่านั้น ไม่มีการกันเงินสำรองไว้ล่วงหน้า ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการบริหารการคลังที่ดี และเมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า ภาระการจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคตนั้น เมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนกับรายจ่ายประจำแล้ว จะเพิ่มสูงมาก ทำให้ขาดหลักประกันแก่ผู้รับบำนาญและข้าราชการปัจจุบัน

          ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงจำเป็นต้องหาแนวทางที่จะสร้างหลักประกันให้แก่ข้าราชการ เมื่อออกจากราชการและเพื่อให้สามารถวางแผนเชิงบริหารการคลังในระยะยาวได้ จึงได้เริ่มแนวคิดให้มีการปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญโดยให้จัดตั้งในรูปแบบ ของกองทุน นอกจากนี้ยังต้องการมุ่งหวังให้กองทุนเป็นสถาบันเงินออมที่สำคัญและมีบทบาท สำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หมายถึง, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) คือ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ความหมาย, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu