ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียว มวยปล้ำจีน, ฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียว มวยปล้ำจีน หมายถึง, ฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียว มวยปล้ำจีน คือ, ฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียว มวยปล้ำจีน ความหมาย, ฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียว มวยปล้ำจีน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียว มวยปล้ำจีน

ฉางทุงเซิง (Chang Tung-sheng) ได้รับขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งซุยเจียวยุคปัจจุบัน เขาเป็นราชาแห่ง ซุยเจียว หรือ มวยปล้ำจีน ที่ไม่เคยมีใครโค่นได้ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต ฉางเข้าแข่งขันในทัวร์นาเม้นท์ระดับชาติของจีนสองครั้ง ได้แชมป์ทั้งสองครั้ง และได้รับสมญานามว่า “ผีเสื้อโบยบิน” (Flying Butterfly)

ซุยเจียว (Shuai jiao หรือ Shuai-Chiao, Chinese: 摔跤 or 摔角; Pinyin: Shuāijiāo; Wade-Giles: Shuai-chiao) หมายถึงมวยปล้ำจีน ในโลกตะวันตกคำว่าซุยเจียวหมายถึง มวยปล้ำสไตล์จีนและมองโกเลีย ซึ่งมีประวัติยาวนานตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ทั้งสไตล์และการเรียกชื่อพัฒนาเรื่อยมา จนกระทั่งในปี 1928 สถาบันกั๋วซู่แห่งนานจิง (Goushu Institute of Nanjing) ได้ใช้คำว่า ซุยเจียว เป็นคำมาตรฐานสำหรับเรียกมวยปล้ำจีน

ฉางทุงเซิงเกิดปี 1908 หรือ ปีวอกลิง ที่เมืองเป่ยติง มณฑลเหอเป่ย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นมณฑลที่ผลิตยอดกังฟูให้แผ่นดินจีนมาช้านาน และในบรรดาปรมาจารย์กังฟูที่มาจากมณฑลนี้ ฉางทุงเซิงอาจได้ชื่อว่าเป็นนักสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 300 ปีนี้ที่ไม่เกี่ยงว่าจะสู้ด้วยกังฟูสไตล์ไหน

ฉางทุงเซิงเกิดในครอบครัวชาวหุยมุสลิม เป็นลูกคนที่สองของครอบครัว พี่ชายคนโตของเขาเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้ฉางต้องรับภาระเป็นลูกชายคนโตของครอบครัว ทั้งฉางและน้องชายทั้งสองคนของเขาต่างก็เป็นแชมป์ซุยเจียว


ฉางทุงเซิงเริ่มฝึกกังฟูขั้นพื้นฐานจากบิดาและปู่ในปี 1915 ด้วยวัยเพียง 7 ขวบ ต่อมาได้เรียนกับยอดปรมาจารย์กังฟูชื่อดัง จ้างเฟิงเอี๋ยน (Zhang Fen Yen หรือ Chang Fong Yen) ผู้เป็นเลิศด้าน ซุยเจียวเป่าถิง (Pao-Ting Shuai-Chiao) ซึ่งเป็นกังฟูที่ว่องไวและมีพลังที่สุดของกังฟูโบราณ 3 สายของจีน จ้างเฟิงเอี๋ยนเป็นลูกศิษย์ชั้นยอดของ ผิงจิงอี้ (Ping Jing-yee) ผู้เป็นตำนานของกังฟูในยุคก่อน อนึ่ง นายพลหม่า (General Ma) ผู้เขียนหนังสือเทคนิคซุยเจียวขึ้นมาเป็นคนแรกก็เป็นลูกศิษย์อีกคนหนึ่งขอ งผิงจิงอี้

ฉางทุงเซิงพุดเสมอว่า จ้างเฟิงเอี๋ยนเป็นครูกังฟูที่ดีที่สุดสอนได้ทุกสไตล์ เด็กๆ จึงหมายมั่นปั้นมือจะเรียนกับเขาให้ได้ จ้างเฟิงเอี๋ยนให้เด็กๆ แสดงพื้นฐานกังฟูของตนให้ดูก่อนจะรับเป็นศิษย์ และก็มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับคัดเลือก ฉางทุงเซิงมิได้เป็นเพียงหนึ่งในจำนวนคนน้อยนิดที่จ้างเฟิงเอี๋ยนรับเป็นศ ิษย์ แต่ฉางสามารถเป็นปรมาจารย์ได้ด้วยวัยเพียง 17 ปี ฝีมือเขาเยี่ยมยอดจนไม่มีใครสามารถต่อกรได้ และเป็นศิษย์คนโปรดของจ้างเฟิงเอี๋ยน ฉางยังแต่งงานกับลูกสาวคนที่สองของจ้างเฟิงเอี๋ยนอีกด้วย

เมื่ออายุได้ 20 ปี ฉางทุงเซิงออกจากเหอเป่ยไปยังเมืองนานจิง เพื่อศึกษาที่สถาบันกั๋วซู่กลาง ซึ่งเป็นโรงเรียนกังฟูที่ดีที่สุดในประเทศจีนในเวลานั้น การได้รับคัดเลือกเข้าไปเรียนที่นั่นได้ถือเป็นเกียรติอย่างสูงเพราะเป็นศ ูนย์รวมของปรมาจารย์กังฟูและนักเรียนกังฟูที่ดีที่สุดของจีน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้กังฟูทุกสไตล์ที่มีอยู่ในประเทศจีน และฉางทุงเซิงก็เปล่งรัศมีอีกครั้งที่นี่ ด้วยการฝึกฝน 5 ปีกับยอดนักเรียนกังฟูทั่วประเทศจีน เขาได้กลายมาเป็นหัวหน้าของโปรแกรม และต่อมาเป็นครูฝึกของแผนกซุยเจียว นอกจากนี้ฉางยังเชี่ยวชาญทั้ง สิ่งอี้ ไท่จี๋ ปากั๋ว และกังฟูเส้าหลินทั้งหลายอีกด้วย

ครั้งหนึ่ง ฉางเคยท้าประลองกับ คูลี่ แชมป์ชาวมองโกเลียในการชุมนุมประจำปีที่ฉางเจียกั๋ว คู่ต่อสู้ของฉางผู้นี้สูงกว่า 6 ฟุตและหนักกว่า 400 ปอนด์! ฉางตกลงใช้เฉพาะเทคนิคมวยปล้ำเท่านั้น และในการชกครั้งนั้นแม้น้ำหนักจะต่างกันมากมาย ฉางทุ่มแชมป์ชาวมองโกเลียลงนอนกับพื้นครั้งแล้วครั้งเล่าด้วยเทคนิคซุยเจี ยวที่สวยงาม

ในปี 1933 ด้วยวัย 25 ปี ฉางเข้าแข่งขัน กั๋วซู่ระดับชาติครั้งที่ 5 ที่เมืองนานจิง มียอดกังฟูทั่วประเทศจีนเข้าร่วมแข่งขัน 1,000 คน เป็นการแข่งแบบน็อคเอ๊าท์ ไม่เกี่ยงว่าจะใช้กังฟูสไตล์ใด ทุกคนต่อสู้เพื่อบรรลุให้ถึงตำแหน่งแชมป์เท่านั้น ปรากฎว่าฉางชนะรวด! รวมทั้งยังคว่ำ หลิวเชียวเซิง (Liu Chiou-Sheng) คู่ปรับคนสำคัญอีกด้วย ฉางถูกประกาศให้เป็นแชมป์กังฟูเฮฟวี่เวทแห่งประเทศจีน เป็นชายผู้แข็งแกร่งที่สุดในแผ่นดินจีน! ที่สำคัญคือนี่เป็นทัวร์นาเม้นท์ระดับชาติครั้งสุดท้ายของยอดกังฟูทั่วประ เทศ หลังจากนั้นแล้วจีนไม่เคยจัดทัวร์นาเม้นท์แบบนี้ขึ้นอีกเลย ทำให้ปรมาจารย์ฉางเป็นยอดกังฟูจีนคนสุดท้ายที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถต่อกรก ับใครก็ได้ไม่ว่าจะใช้กังฟูสไตล์ไหนหรือระบบใด!

ฉางสมัครเข้าเป็นทหาร เขาอยู่ในหน่วยพลร่มที่เรียกว่า “หงเฉียว” (กำแพงแดง) ต่อมาได้รับการโปรโมทให้เป็นผู้บังคับการของหน่วย ช่วงที่ฉางเป็นทหารเขาต้องเดินทางบ่อยและมีโอกาสได้พบปะกับยอดกังฟูมากมาย ฉางได้เรียนรู้เคล็ดลับกังฟูจากคนเหล่านี้ เขาบอกว่าเขาเคยเรียนรู้กับปรมาจารย์กังฟูกว่า 50 คน ฉางมิได้เรียนรู้โดยการเป็นลูกศิษย์ แต่เป็นการ “ผลัดกันสอน” สมัยก่อนหากเป็นเพื่อนกันก็จะเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้อง “ทดสอบ” ฝีมือกัน หากฝ่ายใดรู้สึกว่าอีกฝ่ายหนึ่งฝีมือเหนือกว่ามากๆ พวกเขาก็จะแลกเปลี่ยนความรู้กัน และเมื่อยอดกังฟูได้ทดสอบฝีมือซุยเจียงกับฉางแล้ว พวกเขามักไม่รีรอที่จะเรียนจากฉาง พร้อมๆ กับสอนเทคนิคกังฟูของตัวเองให้ฉางด้วย ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาไท่จี๋เฉวียนของฉาง ตอนที่ฉางสอนอยู่ที่นานจิง เขาได้รู้จักกับนายพล หลี่เซี่ยนหลิน (Li Chien Lin) ผู้เป็นยอดด้านไท่จี๋สายตระกูลหยาง และเป็นยอดกระบี่ นายพลมาจากมณฑลเหอเป่ยเช่นกัน แม้อายุมากกว่าฉาง 15-20 ปี แต่นายพลหลี่นับถือฝีมือซุยเจียวของฉางมาก เขาบอกฉางว่าจะสอนไท่จี๋ให้ แต่ฉางปฏิเสธเพราะหากยอมรับเป็น “นักเรียน” ของนายพลหลี่ ฉางก็จะดูด้อยกว่านายพลหลี่ วันหนึ่งเมื่อนายพลหลี่กำลังฝึกการใช้มือผลักกับนักเรียน โดยมีฉางนั่งดูอยู่ นายพลถามความเห็นฉางเรื่องเทคนิคการใช้มือผลักของตน ฉางตอบแบบไม่อ้อมค้อมว่า นักเรียนของนายพลยอมให้นายพลชนะเพราะเกรงใจแค่นั้นแหละ เจอคำตอบแบบนี้เข้านายพลหลี่เลยบอกว่า งั้นฉางจะมาลองฝ่ามือหลี่ด้วยตัวเองมั้ยล่า??? ฉางไม่ลังเลที่จะรับคำท้า เมื่อเริ่มประลองกันฉางก็ใช้ซุยเจียวทุ่มนายพลหลี่ลงกับพื้นทันที หลังจากการ “ทดสอบ” ครั้งนี้แล้วทั้งสองฝ่ายจึงยินดีจะแลกเปลี่ยนความรู้กัน ฉางได้เรียนไท่จี๋เฉวียนตระกูลหยางจากนายพลหลี่โดยไม่ต้องลดตัวไปเป็น “ลูกศิษย์’ ของนายพล


ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรมาจารย์ฉางฝึกหัดกังฟูให้กับกองทหารชั้นสัญญาบัตร ต่อมาเขาได้รับโปรโมทเป็นนายพล ฉางได้รับประสบการณ์มากมายจากชีวิตช่วงนี้ รวมทั้งการประลองกับยอดยูโดของญี่ปุ่นที่ค่ายกักกันมณฑลกวางสี เชลยศึกชาวญี่ปุ่นนับพันคนที่นั่นฝึกยูโดเพื่อความบันเทิงตลอดวัน พวกเขาท้าชกผู้คุมชาวจีนและล้มผู้คุมได้ทุกที เรื่องก็ไปถึงหูของปรมาจารย์ฉางทุงเซิงผู้ซึ่งกำลังฝึกสอนกังฟูอยู่ที่เคี ่ยหลิน (Kue-Lin) เมืองหลวงของมณฑลกวางสี ฉางเดินทางมาจัดการกับยอดยูโดชาวญี่ปุ่นทีละคนๆ รวมทั้งแชมป์ยูโดชื่อดัง ฮากายาม่า ไทโด, ฮิซา คูม่า, และไฮชี มาเซา ที่ฉางเอาชนะทุกคนได้โดยไม่ต้องออกแรงมากนัก!

ในปี 1945 หลังจากญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สองแล้ว ประเทศจีนก็กลับคืนสู่ภาวะสงครามกลางเมือง

ในปี 1948 มีการจัดการแข่งขันกีฬานานาชาติที่เซี่ยงไฮ้ ครั้งนี้ช่างต่างจากก่อนสงครามที่ยอดกังฟูนับร้อยๆ คนเข้าร่วมแข่งขัน (ยอดกังฟูจำนวนมากเสียชีวิตในสงคราม) การแข่งขันไม่ใช่แบบเปิดฟรีสไตล์ ใช้กังฟูแบบไหนแข่งก็ได้แบบปี 1933 อีกแล้ว ในการแข่งขันครั้งนี้ต้องใช้ซุยเจียว แม้จะถูกจำกัดสไตล์แต่การแข่งขันก็ยิ่งใหญ่ ผู้เข้าร่วมการแข่งขันมาจาก 32 มณฑล เทศบาลนคร 12 แห่ง ทีมชาวจีนโพ้นทะเล 9 ทีม และยังมีจากกรมทหารอีก 58 กรม! ตอนนั้นฉางทุงเซิงอายุอานาม 40 ปีแล้ว เขาเป็นตัวแทนของกองทัพ ฉางชนะรวด และจบการแข่งขันด้วยการเป็นแชมป์อย่างง่ายดาย ฉางทุงเซิงยังคงเป็นอันดับหนึ่งอยู่นั่นเองแม้เวลาจะผ่านไปถึง 15 ปีเต็มๆ!

ต่อมาเมื่อเหมาเจ๋อตุงและพรรคคอมมิวนิสต์ยึดประเทศจีนได้ ฉางทุงเซิงติดตามรัฐบาลคณะชาติของ เจียงไคเช็ค อพยพไปเกาะไต้หวัน ในขณะที่น้องชายของฉางทั้งสองยังคงอยู่ในเมืองจีน

ที่ไต้หวัน ช่วงสองปีแรกฉางพักอยู่ในค่ายทหารเจียอี้ ทางตอนใต้ของเกาะ จากนั้นจึงย้ายไปไทเปอยู่ในบ้านพักของรัฐ เดวิดฉาง หลานชายของฉางทุงเซิงเล่าว่า “ช่วงนั้นคุณปู่เป็นพลร่มและสายลับของกองทัพ เคยมีอยู่หนนึงที่ผมงงมากเมื่อเจอเอาบันทึกของครอบครัวที่ระบุประสบการณ์ข องคุณปู่ในไต้หวันว่าเคยเป็นรองประธานของโรงพยาบาลทหารด้วย! ตอนแรกผมคิดว่ามันจะเป็นไปได้ยังไงกันเนี่ย ต่อมาก็เริ่มเอะใจ ผมว่าตำแหน่งนี้เนี่ยบางทีอาจใช้เพื่อพรางตำแหน่งที่แท้จริงของคุณปู่ก็ได ้ จะได้ไม่โดนโทษหนักหากคอมมิวนิสต์บุกไต้หวันไง!”

ที่ไทเป ฉางมีเพื่อนที่ช่วยเหลือเขาอย่างมาก คนแรกชื่อว่า หวงเจี่ย (Huang Jie) ผู้ว่าของไต้หวัน อีกคนคือ นายพล ไป่ซงสี (Bai Chung Xi) หรือชื่อมุสลิมว่า อุมัร ผู้เป็นรัฐมนตรีกลาโหมของไต้หวัน (หมายเหตุ: ในโอกาสต่อไปจะเขียนถึงนายพลมุสลิมแห่งกองทัพจีนคณะชาติผู้นี้ ท่านเคยเป็นมือขวาของเจียงไคเช็ค เป็นรมว.กลาโหมของรัฐบาลจีนคณะชาติ และเป็นผู้นำของกองทหารจีนคณะชาติทัพสุดท้ายที่ถอยจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปยัง ไต้หวัน) ทั้งหวงเจี่ยและนายพลไป่ซงสีแนะนำให้ฉางเข้าทำงานที่กรมตำรวจ ซึ่งฉางได้สอนกังฟูที่กรมตำรวจ ไทเป ต่อมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี ฉางเป็นผู้บังคับการของทัวร์นาเม้นท์กังฟูทั้งหมดของไต้หวัน เป็นที่ปรึกษาซุยเจียวของกองทัพ กรมตำรวจ และมหาวิทยาลัยของรัฐ

แม้ที่ไต้หวันจะมีการฝึกสอนกังฟูมากมาย แต่ก็ไม่มีกังฟูประเภทใดที่มีศักดิ์ศรีสูงเท่ากับซุยเจียว สมาคมซุยเจียวไต้หวันคุยว่ามีสมาชิกสูงถึง 30,000 คน ซึ่งถือเป็นองค์กรกังฟูที่ใหญ่ที่สุดในโลก!

ในเดือนเมษายน 1975 ปรมาจารย์ฉางอายุได้ 68 ปีแล้ว ได้รับเชิญจากประเทศโมรอกโกให้ไปแสดงโชว์ศิลปะการป้องกันตัวของจีนต่อหน้า พระพักตร์ของกษัตริย์ หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยของกษัตริย์เป็นชาวเกาหลีและเป็นเทควันโดระด ับ 4 ได้ท้าชกกับฉาง แม้จะอายุมากถึง 68 ปีแล้ว ฉางก็รับคำท้า ปรากฎว่าแม็ทช์นั้นใช้เวลาเพียงไม่ถึงนาที ฉางหลบหมัดของเทควันโดเกาหลีก่อนจะน็อคหนุ่มเมืองโสมจนหมดสติด้วยการใช้มื อตบเปรี้ยงเดียว! ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าเวลาที่ผ่านไปไม่ได้ลดความแข็งแกร่งของร่างกายหรือฝ ีมือที่เคี่ยวกรำมาตลอด ในปัจจุบันพลังเช่นนี้พบได้น้อยมากในคนวัยชรา กษัตริย์โมรอกโกได้เชื้อเชิญให้ฉางมาเป็นหัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยส่ว นพระองค์ เพราะฝีมือเยี่ยมและยังเป็นมุสลิมด้วย แต่ฉางปฏิเสธอย่างนิ่มนวล

ในเดือนกุมภาพันธ์ 1982 ปรมาจารย์ฉางก่อตั้งสมาคมซุยเจียวนานาชาติและใช้เวลาส่วนใหญ่เดินทางโปรโม ทซุยเจียวไปทั่วโลก ทั้งแสดงโชว์ ทำเวิร์คช้อปและจัดสัมมนา
ชาวกังฟูโดยทั่วไปจะได้ยินกิตติศัพท์เรื่องความเป็นชาวหุยมุสลิมที่เคร่งค รัดของฉางทุงเซิง ลูกศิษย์คนหนึ่งของฉางคือ เดวิด ชีไกหลิน (David Chee-Kai Lin) เล่าว่า ตอนยังเด็ก พ่อ-แม่ของเขาเห็นว่าเขาคลั่งไคล้ซุยเจียวมาก จึงอยากให้เดวิดได้เข้าสู่พิธีกรรมรับเป็นสาวกของฉางทุงเซิง แต่ฉางปฏิเสธ ฉางบอกว่า ไม่มีมนุษย์คนใดเป็นเจ้านายของมนุษย์คนอื่นๆ ได้ เพราะมีเพียงพระผู้เป็นเจ้า (อัลลอฮ ซ.บ.) เท่านั้นที่เป็นเจ้านายของมนุษย์ทุกคน (หมายเหตุ: อิสลามสอนว่า มนษย์คือสิ่งมีชีวิตที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างขึ้นมาและทุกคนคือบ่าวของพระอง ค์) อีกครั้งหนึ่งช่วงที่ฉางไปสหรัฐฯ เพื่อโปรโมทซุยเจียว เขาไปร่วมงานปาร์ตี้บ้านลูกศิษย์เพราะชาวกังฟูที่นั่นอยากเจอตัวจริงปรมาจ ารย์ฉางมาก ก่อนที่ฉางกับลูกศิษย์คู่คิดจะนั่งลง ฉางเดินเข้าไปในครัวเพื่อให้แน่ใจว่าทั้งหม้อ กระทะ ที่ใช้ทำอาหารเลี้ยงเขาไม่เคยใช้ปรุงอาหารที่ทำด้วยหมูมาก่อน เอ้อ..แต่ฉางดื่มไวน์เล็กน้อยนะ (ชักงงๆ เหมือนกัน 555)

ฉางเป็นที่นับถือ เคารพ และยำเกรงโดยชุมชนชาวกังฟู เขาถูกถือเป็นขุมทรัพย์อันมีค่าแห่งชาติไต้หวัน เป็นปรมาจารย์ผู้เดียวที่ได้ทั้งเข็มขัดสายแดง สายขาว และสายน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีประจำชาติของไต้หวัน เข็มขัดนี้ได้ถูกฝังไปกับร่างของฉางด้วย และหลังจากฉางแล้วก็ไม่มีกังฟูรายใดได้รับเกียรติเช่นนี้อีกเลย

ปี 1986 ด้วยวัย 78 ปีแล้ว ฉางพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งหลอดอาหารขั้นสุดท้ายและคงมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน เดวิดฉาง หลานชายคนโตของฉางทุงเซิงถูกเรียกตัวกลับจากค่ายทหาร ช่วงฉางใกล้สิ้นลม ทุกคนในครอบครัวล้อมอยู่รอบเตียง ฉางถามเดวิดว่า “เจ้าจดจำบทเรียนทุกอย่างที่ปู่เคยสอนได้ใช่ไหม?” เดวิดตอบว่า “ครับ ไม่ต้องเป็นห่วง” ปรมาจารย์ฉางทุงเซิงจากไปในวันที่ 18 มิถุนายน 1986 ร่างของเขาถูกฝังไว้ที่สุสานมุสลิม บนเชิงเขาเมืองไทเป ไต้หวัน

หลังฉางเสียชีวิต น้องชายของฉางจากมณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน ติดต่อมายังครอบครัวฉางทุงเซิงที่ไต้หวัน เมื่อทราบรายละเอียดว่าฉางเสียชีวิตหลังล้มป่วยในเวลาอันรวดเร็วมาก น้องชายของฉางก็เกรงว่าตนอาจจะตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกันและกังวลเรื่องทาย าทสืบทอดวิชากังฟูของตระกูล เขาจึงเดินทางไปยังไต้หวันเพื่อปลอบโยนครอบครัวของฉาง และร่วมฝึกกังฟูซุยเจียวกับเดวิดเพื่อให้แน่ใจว่าเทคนิคกังฟูทั้งหมดของตร ะกูลฉางได้ถูกถ่ายทอดแก่เดวิดจนหมดแล้ว จากนั้นน้องชายของฉางจึงเดินทางกลับไปยังเหอเป่ย และที่น่าตกใจคือ เขาเสียชีวิตลงในอีก 6 เดือนต่อมานั่นเอง

หลังเสร็จงานศพของฉาง ตระกูลฉางได้ลงประกาศให้สาธารณชนทราบในหนังสือพิมพ์ไชน่าไทมส์ว่า บัดนี้เดวิดฉางเป็นผู้สืบทอดซุยเจียวของของตระกูลฉางโดยสมบูรณ์แล้ว

ปัจจุบันเดวิดยังคงสอนซุยเจียวอยู่ที่ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียวผู้ไม่มีใครโค่นได้ตราบจนลมสุดท้ายของชีวิต

ภาพและที่มา  www.bloggang.com

ฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียว มวยปล้ำจีน, ฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียว มวยปล้ำจีน หมายถึง, ฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียว มวยปล้ำจีน คือ, ฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียว มวยปล้ำจีน ความหมาย, ฉางทุงเซิง ราชาแห่งซุยเจียว มวยปล้ำจีน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu