เป็นเห็ดที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางถิ่นประเทศแถบยุโรป เห็ดพวกนี้เจริญเติบโตได้ดีในพวกไม้โอ๊ค (oak) ไม้เมเปิ้ล (maple) ไม้พืช (peach) ฯลฯ และสามารถเจริญเติบโตได้ทั่วไปในเขตอบอุ่น ต่อมาได้มีการนำเข้ามาทดลองเพาะเลี้ยงในประเทศไทย พบว่าเห็ดชนิดนี้สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย จึงได้มีการเผยแพร่วิธีการเพาะเห็ดชนิดนี้ จนเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วๆ ไป เห็ดนางรมจัดเป็นเห็ดที่ประชาชนนิยมรับประทานกันมาก ทั้งนี้ เนื่องจากเห็ดนางรมมีลักษณะคล้ายเห็ดมะม่วงหรือเห็ดขอนขาวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้ที่ผุพังประกอบกับเห็ดเนางรมเป็นเห็ดทึ่มีสีขาวสะอาด มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีรสชาติหอมหวาน นอกจากนี้เนื้อของเห็ดนางรมยังไม่ เหนียวมากเหมือนเห็ดมะม่วงหรือเห็ดขอนขาว และที่สำคัญก็คือ เห็ดนางรมมีสารบางอย่างที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคไม่แพ้เห็ดชนิดอื่นๆ จึงทำให้ประชาชนรู้จักเห็ดชนิดนี้เป็นอย่างดี
เห็ดนางรม หรือ Oyster mushroom จัดเป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ไม่แพ้เห็ดชนิดอื่นๆ นอกจากนี้เห็ดนางรมยังให้ปริมาณแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปแตสเซี่ยม และยังให้พลังงานค่อนข้างสูง เห็ดนางรม มีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 สูงกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ และยังมีกรดโฟลิคสูงกว่าพืชผักและเนื้อสัตว์ กรดพวกนี้ช่วยป้องกันรักษาโรคโลหิตจางได้จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และยังเหมาะต่อผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักเพราะเห็ดมีปริมาณของไขมันน้อยและมีปริมาณโซเดียมต่ำจึงเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจและโรคไตอักเสบ ประกอบกับเห็ดนางรมที่เพาะง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย จึงได้มีการเพาะเห็ดนี้กันอย่างแพร่หลายโดยทั่วไป
เพาะเห็ดนางรม
การเพาะเห็ดนางรมด้วยวิธีการแผนใหม่ที่ไม่ต้องนึ่งฆ่าเชื้อ
วัสดุและอุปกรณ์
• ฟางแห้ง ฟางข้าวนวดหรือตอซัง แต่ตอซังจะมีราคาแพงกว่า ควรใช้ฟางข้าวนวดและไม่ต้องตัดหรือสับให้ละเอียด
จะเป็นฟางข้าวจ้าวหรือข้าวเหนียวก็ได้ จะเป็นฟางใหม่หรือฟางเก่าค้างปีก็ใช้ได้ ถ้ายังอยู่ในสภาพที่ไม่เน่าสลาย
• ถุงพลาสติก ชนิดถึงเย็นขนาด 10" x 15" หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย เช่น 12" x 17"
• ก้อนเชื้อเห็ดนางรมขาม หรือ นางรมฮังการี ที่ใช้เปิดดอก ซึ่งทำจากขี้เลื้อย จะหาซื้อได้ตามฟาร์ม ที่เพาะเห็ดถุงทั่วไป เลือกก้อนและเชื้อที่เห็ดเดินเต็มที่ พร้อมจะออกดอก
• คอขวด และยางรัด
วิธีการเพาะ
• แช่ฟางในน้ำอาจจะเป็นน้ำบ่อ น้ำคลอง หรือแช่ในถุงน้ำประปากก็ได้ แช่นานอย่างน้อย 4 ชม. ถ้าต้องการใช้ทันทีต้องใช้วิธีแช่ฟางทีละน้อยพร้อมย่ำไปด้วย ใช้เวลาแช่ประมาณ 30 นาที นำฟางออกจากน้ำกองไว้ให้ฟางพอหมาดๆ
ถ้าต้องการเร็วต้องบิดน้ำออกจากฟางพอให้ฟางหมด
• อัดฟางใส่ถุงพลาสติกสลับกับการโรยเชื้อจากก้อนเชื้อเป็นชั้นๆ 3 ชั้น ก้อนเชื้อหมัก 1 กก. อาจทำถุงฟาง
ได้ประมาณ 6-7 ถุง
• ใส่คอขาด รัดยาง อุดด้วยฟางเปียกม้วนๆ หรือสำลีอย่างถูก
• นำถุงที่ทำเสร็จแล้วไปบ่มให้เชื้อเดินไว้ในที่ร่มและมีอากาศถ่ายเทได้ดี เช่น ใต้ถุนบ้านหรือในโรงบ่ม ประมาณ 20วันในกรณีถุงขนาด 10"x16" เชื้อจะเดินเต็มถุงพร้อมที่จะนำไปเปิดดอก
• การเปิดดอก ควรเปิดในโรงเรือนที่มีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 65-75 เปอร์เซ็นต์ อาจใช้วิธีกรีดข้างถุงด้วยใบมีด 2 ด้านๆ ละ 2 จุดโดยเอาคอขวดออกใช้ยางรัดปากถุงป้องกันน้ำเข้าหรือเปิดจุกให้ดอกเห็ดออกทาง ปากคอขวดก็ได้ จากการทดลองวิธีกรีดข้างผลผลิตสูงกว่า แต่ถ้าใช้วิธีเปิดส่วนบนหรือเอาถุงพลาสติกออกทั้งหมด จะได้ผลผลิตน้อยกว่าเนื่องจากฟางบริเวณผิวจะแห้งเร็ว
การดูแลรักษา
• รดน้ำที่พื้นและพ่นฝอยบนถุงเห็ดและรอบๆบริเวณที่วางถุงเห็ดพยายามรักษาความชื้นสัมพันธ์ในอากาศให้อยู่
ระหว่าง 65-75 เปอร์เซ็นต์ ถ้าโรงเรือนเก็บความชื้นได้ดีรดน้ำเช้า - เย็น ก็น่าจะพอ
• ปัจจุบันยังไม่พบปัญหาอุปสรรคของการเพาะแบบใหม่นี้ทั้งโรค แมลง และไร แต่ทางที่ดีการดูแลรักษาความสะอาด
ในโรงเรือนเปิดดอก ในโรงบ่ม และอาณาบริเวณฟาร์มเห็ดทั้งหมดเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งอยู่แล้ว
การเก็บผลผลิต
ควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่บานพอประมาณไม่แก่เกินไป ภาชนะที่บรรจุดอกเห็ดควรมีลักษณะเป็นชั้นๆ วางดอกเห็ดซ้อนกัน 2 ชั้นก็พอ อย่าซ้อนกันมากจะทำให้ดอกเห็ดขาดความสมบูรณ์ อาจจะซ้ำ ฉีกขาดทำให้คุณภาพที่จะส่งตลาดลดลง การดูแลรักษาพิถีพิถันดอกเห็ดหลังเก็บเกี่ยวเป็นสิ่งที่สำคัญส่งผลให้คุณภาพดอกและราคาสูงขึ้นได้ ถ้าเกษตรกรรายใดมีความสามารถที่จะบรรจุดอกเห็ดในกล่องโฟมหรือกล่องกระดาษเพื่อส่งขายในตลาดก็จะยิ่งทำให้สามารถรักษาคุณภาพของดอกเห็ดไว้ได้สดนานขึ้น เห็ดที่ถูกบรรจุลงกล่องเรียบร้อยแล้วก่อนนำสู่ตลาดควรเก็บรักษาไว้ในที่เย็นถ้าเก็บไว้ในห้องเย็นได้ยิ่งดี จะช่วยรักษาความสดของดอกเห็ดได้นาน
ลักษณะโรงเรือนเพาะเห็ด
• โรงบ่มถุงเห็ด สภาพในโรงบ่มถุงเห็ดควรจะมีอากาศถ่ายเทสะดวก เย็นสบายฉะนั้นโรงบ่มควรจะมีความสูง ไม่ต่ำกว่า 5 เมตรวัดจากปลายจั่ว มีหลังคาทำด้ายจากหรือหญ้า ชายคาควรจะต่ำกว่าปกติสักเล็กน้อยเพื่อกันแดด และฝน ข้างฝาปล่อยโล่งภายในทำเป็นชั้นๆ สำหรับวางถุงเห็ด ถ้าโรงเรือนอยู่ในบริเวณที่มีลมแรง ควรปลูก ต้นกล้วยกันลมไว้รอบๆโรงสลับพันปลาสัก 3 ชั้น นอกจากจะใช้บังลมแล้วยังได้กล้วย เป็นผลพลอยได้อีกด้วย
• โรงเปิดดอก ควรเป็นโรงที่เก็บความชื้นได้ดี อาจทำเป็นโรงจากหรือหญ้าคาก็ได้พื้นควรใส่ทรายหนาประมาณ 6"
เพื่อเก็บความชื้น ประตูทางเข้าออกควรมี 2 ด้าน ด้านหน้าและหลัง และมีความกว้างอยางน้อย 1 เมตร เพื่อสะดวกในการทำงานนอกจากโรงเปิดดอกจะต้องเก็บรักษาความชื้นได้ดีแล้วยังต้องมีอากาศถ่ายเทได้ดี ฉะนั้นควรทำช่องระบายอากาศไว้โดยรอบถ้าพื้นที่ปลูกโรงเปิดดอกมีลมพัดแรงแนะนำให้ปลูกต้นกล้วยไว้โดยรอบโรงเรือนอย่างน้อย 3 ชั้นโดยปลูกสลับฟันปลาต้นกล้วยนอกจากจะลดความแรงลม แล้วยังช่วยเป็นร่มเงา เก็บความชุ่มชื้นโดยต้นกล้วยจะดูดซับน้ำส่วนเกินที่รดในโรงเห็ดและผลของกล้วยยังเป็นสิ่งที่มีราคาไม่แพ้เห็ดเลย
ข้อมูลจาก กรมส่งเสริมการเกษตร