ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ธงอาเซียน, ธงอาเซียน หมายถึง, ธงอาเซียน คือ, ธงอาเซียน ความหมาย, ธงอาเซียน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ธงอาเซียน

ธงอาเซียน (ASEAN Flag) คือ สัญลักษณ์ของการรวมตัวกันของชาติสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ภายใต้คำขวัญอาเซียน “One Vision, One Identity, One Community” หรือ “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม” โดยมีการออกแบบให้มีลักษณะเรียบง่าย แต่สามารถสื่อความหมายการรวมตัวกันของชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งธงอาเซียนนี้ถูกออกแบบให้มีพื้นสีน้ำเงิน มีสัญลักษณ์แทนชาติสมาชิกทั้ง 10 ประเทศด้วยต้นข้าวสีเหลืองทอง จำนวน 10 ต้น อยู่กึ่งกลางภายในวงกลมสีแดงและมีขอบของวงกลมเป็นสีขาว

ความหมายของสีต่างๆ ในธงอาเซียน

  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

สัญลักษณ์

สัญลักษณ์ต้นข้าวสีเหลืองทอง จำนวน 10 ต้นที่ปรากฏอยู่ในธงอาเซียน หมายถึง จำนวนชาติสมาชิก ASEAN ทั้ง 10 ประเทศ อันประกอบไปดวย มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ลาว ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ทำสัญลักษณ์เพิ่มเติมด้วยการมัดรวมกันเพื่อแทนความหมายของการรวมกันเป็นหนึ่งเดียว

ฉะนั้น เมื่อนำสัญลักษณ์ที่ปรากฏและนำความหมายของสีต่างๆ มารวมเข้าด้วยกัน ทำให้ธงอาเซียนมีความหมายว่า “การรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติสมาชิก ทั้ง 10 ด้วยความบริสุทธิ์และกล้าหาญ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพ ความมั่นคง ตลอดจนสร้างความเจริญก้าวหน้าของหมู่มวลสมาชิกและประชากรอาเซียนทั้งปวง”

การประดับธงอาเซียน

กลุ่มชาติสมาชิกอาเซียนได้มีข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของการประดับธง ทั้งที่ตั้งสำนักงานใหญ่อาเซียน ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย โดยในการประชุมอย่างเป็นทางการทุกครั้ง ให้ประดับธงขาติของประเทศสมาชิกเรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้เป็นภาษากลางของอาเซียน จากนั้นให้ปิดท้ายด้วยธงสัญลักษณ์อาเซียนเรียงจากขวามาซ้าย การประดับธงจึงมีลำดับดังนี้

ภาพธงอาเซียน

  • ลำดับที่ 1 – ธงชาติบรูไนดาลุสลาม (Brunei)
  • ลำดับที่ 2 – ธงชาติกัมพูชา (Cambodia)
  • ลำดับที่ 3 – ธงชาติอินโดนีเซีย (Indonesia)
  • ลำดับที่ 4 – ธงชาติลาว (Laos, PDR)
  • ลำดับที่ 5 – ธงชาติมาเลเซีย (Malaysia)
  • ลำดับที่ 6 – ธงชาติเมียนมาร์ (Myanmar, พม่า)
  • ลำดับที่ 7 – ธงชาติฟิลิปปินส์ (Philippines)
  • ลำดับที่ 8 – ธงชาติสิงคโปร์ (Singapore)
  • ลำดับที่ 9 – ธงชาติไทย (Thailand)
  • ลำดับที่ 10 – ธงชาติเวียดนาม (Vietnam)
  • ลำดับที่ 11 – ธงสัญลักษณ์อาเซียน

เฉดสีมาตรฐานของธงอาเซียน

  • สีน้ำเงิน – แถบสีมาตรฐาน Pantone No. 19-4053 TC
  • สีแดง – แถบสีมาตรฐาน Pantone No. 18-1655 TC
  • สีขาว – แถบสีมาตรฐาน Pantone No. 11-4202 TC
  • สีเหลือง – แถบสีมาตรฐาน Pantone No. 13-0758 TC

การพิมพ์ตามมาตรฐาน CMYK ให้ใช้รหัสสีดังนี้

  • สีน้ำเงิน – แถบสี 258 หรือสีชุด 100C 60M 0Y 6K
  • สีแดง – แถบสี แดง 032 หรือสีชุด 0C 91M 87Y 0K
  • สีเหลือง – แถบสีชุดสีเหลืองหรือสีชุด 0C 0M 100Y 0K

ขนาดธงอาเซียน

ขนาดธงอาเซียนมีหลักเกณฑ์การจัดทำโดยให้ยึดสัดส่วนของความกว้างต่อความยาวธง คือ สองต่อสาม (กว้าง:ยาว = 2:3) มีรายละเอียดของขนาดธงที่ใช้สำหรับงานต่างๆ ดังนี้ (กว้าง x ยาว)

  • ธงตั้งโต๊ะ: 10 ซม. x 15 ซม.
  • ธงประดับห้อง: 100 ซม. x 150 ซม.
  • ธงประจำรถ: 10 ซม. x 15 ซม.
  • ธงภาคสนาม หรือ ธงติดเสาธง: 200 ซม. x 300 ซม.

ธงอาเซียน มิได้เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ของกลุ่มอาเซียนในเวทีโลกเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความปณิธานและความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของหมู่มวลชาติสมาชิกทั้ง 10 ประเทศที่พร้อมใจจะร่วมมือกันในทุกๆ ด้าน เพื่อความเจริญก้าวหน้าร่วมกัน อีกทั้งยังนำมาซึ่งความอยู่ดีกินดีของประชากรอาเซียนทั้งหมดอีกด้วย

ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไรจากอาเซียน

  1. ประการแรก ประเทศไทยจะได้มีหน้ามีตาและมีฐานะที่เด่นชัดขึ้น อีกทั้งการกำเนิดขึ้นของประชาคมอาเซียนช่วยทำให้เศรษฐกิจของเราจะมีมูลค่ารวมกันกว่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของโลก ส่งผลให้ไทยเราสามารถยืดอกและหยัดยืนได้ด้วยความสง่างาม รอยยิ้มของคนไทยจะเป็นรอยยิ้มสยามที่คมชัดมากขึ้น
  2. ประการที่สอง การค้าขายระหว่างไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะคล่องตัวและมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น กำแพงภาษีจะลดลงจนเกือบเลือนหายไป เนื่องจาก 10 ประเทศในภูมิภาคได้รวมตัวกันจนกลายเป็นตลาดการค้าเดียวที่ผู้ผลิตจะส่งสินค้าเข้าไปขาย อีกทั้งยังช่วยให้ขยับขยายธุรกิจของตนเองได้ง่ายมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็จะมีทางเลือกในการเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น ราคาสินค้าถูกลง
  3. ประการที่สาม ตลาดของไทยเราจะใหญ่ขึ้น จากเดินที่เป็นตลาดการค้าของผู้คนเพียง 67 ล้านคน ก็จะกลายเป็นตลาดการค้าของคน 590 ล้านคนที่จะทำให้ตลาดแห่งนี้กลายเป็นแหล่งลงทุนที่มีความน่าสนใจ เพราะสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังอีก 9 ประเทศได้ ราวกับว่าเป็นการส่งไปขายยังต่างจังหวัด นั่นจะช่วยให้เราสามารถแข่งขันกับจีนและอินเดียในการดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้น
  4. ประการที่สี่ การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนจะทำให้มีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างกันเพื่อประโยชน์ในด้านการค้าและการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีผลพลอยได้ในแง่ของการไปมาหาสู่กันทำให้คนภายในอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี รู้จักกันและสนิทแน่นแฟ้นกันมากขึ้น ทำให้เกิดผลดีต่อสันติสุข ความเข้าใจอันดี และความร่วมมือกันโดยรวม นับว่าเป็นผลทางการสร้างสรรค์ในอีกหลายมิติด้วยกัน
  5. ประการที่ห้า ประเทศไทยตั้งอยู่บนจุดกึ่งกลางบริเวณภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ของอาเซียน ฉะนั้นประเทศเราย่อมได้รับผลประโยชน์มหาศาลจากปริมาณการคมนาคมขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตระหว่างอาเซียนและจีน รวมถึงอินเดียด้วย ซึ่งก็นับว่ามากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน บริษัทด้านขนส่ง คลังสินค้า ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ ก็ยิ่งจะได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน ดังนั้นแล้ว ถึงแม้ว่าการตัดสินใจเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของไทยจะมีผลทั้งในด้านบวกและด้านลบปะปนกันไป ผลที่ได้ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าพวกเราคนไทยจะตั้งรับและเตรียมตัวอย่างไร แต่หากนับผลในทางดี หรือทางบวกแล้วก็ชัดเจนในแบบที่เห็นเป็นรูปธรรมและจับต้องได้

เพลง อาเซียนร่วมใจ

เนื้อร้อง/ทำนอง: ประภาส ชลศรานนท์
เรียบเรียง: คุณพระช่วยออร์เคสตรา
ขับร้อง: ปาน ธนพร แวกประยูร / บี พีระพัฒน์ เถรว่อง

* อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ลาว ไทย
สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ ... อินโดนีเซีย
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
(ญ.) รอบบ้านเราอยู่ติดกัน ขอบรั้วชนกัน เป็นบ้านพี่เมืองน้อง
ตะวันออกเฉียงใต้เรืองรอง แผ่นดินสีทองสาดส่องบ้านเรา
รอบบ้านเราอยู่ติดกัน สุขทุกข์รวมกัน แบ่งปันบรรเทา
ฝนรั่ว ฝนแล้งก็แบ่งเบา บ้านเธอบ้านเขาเรามาช่วยเหลือกัน
(ซ้ำ *)
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
(ช.) ข้าวปลาและอาหาร ตั้งร้านเรียงกัน ผูกพันแลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมเราหมุนเวียน ปรับเปลี่ยนเชื่อมโยง เสริมส่งแข็งแรง
(พร้อมกัน) มาจับมือกันสร้างรั้ว เพราะลมเศรษฐกิจนั้นมันพัดแรง
รั้วนี้จะแข็งจะแกร่ง มันอยู่ที่เรา ผองชาวอาเซียนร่วมใจ

(ญ.) รอบบ้านเราอยู่ติดกัน ขอบรั้วชนกัน เป็นบ้านพี่เมืองน้อง
ตะวันออกเฉียงใต้เรืองรอง แผ่นดินสีทองสาดส่องบ้านเรา
(ช.) เพราะบ้านเราอยู่ติดกัน สุขทุกข์ร่วมกัน แบ่งปันบรรเทา
ฝนรั่ว ฝนแล้งก็แบ่งเบา บ้านเธอบ้านเขาเรามาช่วยเหลือกัน
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ
(ช.) ข้าวปลาและอาหาร ตั้งร้านเรียงกัน ผูกพันแลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมเราหมุนเวียน ปรับเปลี่ยนเชื่อมโยง เสริมส่งแข็งแรง
(พร้อมกัน) มาจับมือกันสร้างรั้ว เพราะลมเศรษฐกิจนั้นมันพัดแรง
รั้วนี้จะแข็งจะแกร่ง มันอยู่ที่เรา ผองชาวอาเซียนร่วมใจ
(อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ) มาเลเซีย พม่า
(อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ) กัมพูชา ลาว ไทย
(อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ) สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน
(อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ) ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ... อาเซียน

แนะนำวีดีโอสื่อที่ให้ความรู้ เกี่ยวกับธงอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ทั้งธงชาติของประเทศสมาชิกต่างๆ และธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินมีวงกลมสีแดงตรงกลางที่ถือว่าคือธงอาเซียน รวมหลากหลายประเทศ (10 ประเทศ) เข้าด้วยกันแนะนำการสังเกตรูปของธงชาติ ของแต่ละประเทศ แต่ละศาสนา วีดีโอนี้จัดทำและสนับสนุนโดยกระทรวงวัฒนธรรม

ขอบคุณข้อมูลจาก: เกร็ดความรู้.net, Asean.orgbangkok.go.th

ธงอาเซียน, ธงอาเซียน หมายถึง, ธงอาเซียน คือ, ธงอาเซียน ความหมาย, ธงอาเซียน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu