ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือด, โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือด หมายถึง, โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือด คือ, โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือด ความหมาย, โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือด คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือด

 

โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือดหมายถึง กลุ่มโรคที่มีพยาธิสภาพใดๆก็ตามต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง รวมทั้งหลอดน้ำเหลืองต่าง ๆ เพื่อง่ายต่อการดำเนินการทางสถิติ และดูแนวโน้มของโรคกลุ่มโรคหัวใจหลอดเลือดที่เป็นปัญหาสาธารณสุขจึงได้แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามลำดับความสำคัญ เป็น 3 กลุ่ม สำคัญเรียงตามลำดับสำหรับในประเทศไทย ดังนี้

กลุ่มที่ 1 โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดในสมองหรือที่เรียกในภาษาชาวบ้านว่า "อัมพาต"

กลุ่มที่ 2 โรคหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดโคโรนารี่ที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน

กลุ่มที่ 3 โรคหัวใจรูห์มาติค

โรคหลอดเลือดในสมอง

หมายถึง กลุ่มโรคที่มีพยาธิสภาพเกิดขึ้นกับหลอดเลือดแดงและดำที่เลี้ยงเนื้อสมองทำให้เนื้อสมองบางส่วนหรือทั้งหมดสูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน พยาธิสภาพที่ เกิดขึ้นมีหลายแบบ เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจนเกิดตีบตัน หลอดเลือดอักเสบ มีการสะสมของสารอมิลอยด์ (Amyloid) หลอดเลือดสมองโป่งพองและแตก ก้อนเลือด จากที่อื่นหลุดมาอุดเส้นเลือด เป็นต้น โดยมีผลให้เกิดอาการมากกว่า 24 ชั่วโมง และอาจตายได้ และสามารถเกิดอาการได้หลายรูปแบบแตกต่างกันไปตั้งแต่ ชัก สับสน แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก เป็นต้น ส่วนใหญ่มีสาเหตุเกี่ยวเนื่องจากภาวะความดันเลือดสูง

อัมพาตเฉียบพลัน

หมายถึง การบาดเจ็บอย่างเฉียบพลันของระบบสมองและประสาทที่ประชาชนทั่วไป หรือบุคลากรทางการแพทย์นิยมใช้เรียก โรคหลอดเลือดในสมอง

โรคหัวใจขาดเลือด

หมายถึง ภาวะของการขาดออกซิเจนเพื่อที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น จากพยาธิสภาพในหลอดเลือดแดง โคโรนารี่ ที่ไปเลี้ยงหัวใจ เกิดอุดหรือตีบตัน หลอดเลือดแดงหดเกร็ง เป็นต้น ทำให้เซลหัวใจขาดออกซิเจน ขาดความสมดุลในการทำหน้าที่ อาจจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ ภาวะที่ทำให้ เกิดโรคหัวใจขาดเลือดที่พบบ่อยคือ ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง โรคนี้อาจจะมาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือตายโดยทันทีจากโรคหัวใจ

โรคความดันโลหิตสูง

หมายถึง กลุ่มโรคที่มีพยาธิสภาพและอาการอันเป็นผลเนื่องจากระดับความดันเลือด ที่สูงเกินปกติ จนไปทำลายผนังหลอดเลือดและอวัยวะปลายทางในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เส้นเลือดในสมองแตก หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดโป่งพอง เป็นต้น

โรคหัวใจรูห์มาติค

หมายถึง โรคหัวใจที่เป็นผลจากภาวะเรื้อรังต่อเนื่องของไข้รูห์มาติคที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ที่เกิดการอักเสบของการติดเชื้อ กรุ๊ปเอ สเตร็ปโตคอคไคในลำคอ

สถานการณ์และธรรมชาติของโรค

โรคหัวใจและหลอดเลือดนับเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของโลกในศตวรรษปัจจุบัน ซึ่งถือว่าอยู่ในระยะการระบาดใหญ่ เป็นสาเหตุของการตายของโลกอย่างน้อย 17 ล้านคน ต่อปี หรือประมาณ หนึ่งในสามของการตายทั้งหมดทั่วโลก ทั้งนี้เริ่มพบการระบาดของโรคกลุ่มนี้ในประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประชากรด้อยโอกาสมากขึ้น เมื่อประมาณยี่สิบปี มานี้เอง ในไทยโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นหนึ่งในสามอันดับแรกของสาเหตุการตายมานานกว่ายี่สิบปี โดยมีโรคหลอดเลือดในสมองหรืออัมพาต เป็นสาเหตุการตายและ ภาระโรคเป็นสาเหตุหลัก รองลงมาได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง ช่วงอายุที่เป็นสูงสุดอยู่ในช่วง 55-64 ปี รองลงมาคือ ช่วง 65-74 และ 45-54 ปี

สำหรับอัมพาต โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจขาดเลือด มีปัจจัยโซ่สาเหตุที่เป็นปัจจัยร่วมหลักของการระบาดครั้งนี้ จากผลของการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ทั้งเชิงสังคมและกายภาพ จากผลของการพัฒนาที่ไม่รู้เท่าทันทำให้วิถีชีวิตในชุมชนเสี่ยงต่อการเป็นโรคเพิ่มขึ้น ตั้งแต่การบริโภคยาสูบที่เพิ่มขึ้น การเคลื่อนไหวออกกำลังกาย ที่ลดลงทั้งในการทำงาน / การเดินทางและการพักผ่อน การตามใจตนเองมากเกินไปจากสถานะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง กระตุ้นให้มีการบริโภคเกิน และบริโภคอาหารที่ ไม่เหมาะสม ทั้งรสอาหารที่มีองค์ประกอบของเกลือและน้ำตาลสูงขึ้น ส่วนประกอบไขมันจากสัตว์เพิ่มขึ้นขณะที่บริโภคพืชผักผลไม้และธัญพืชลดลง การบริโภคแอลกอฮอล์ ปริมาณสูงมากและบ่อย การขาดความสามารถในการจัดการความเครียดที่ดี ขณะที่สภาพแวดล้อมของ โครงสร้างทางสังคมและการจัดการมีการกระตุ้นเร้าให้เกิด ความเครียดได้ง่ายและบ่อยขึ้น การเผชิญต่อวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงโดยไม่รู้เท่าทันเหล่านี้ ในช่วงระยะความถี่ที่บ่อยหรือค่อนข้างบ่อยเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของประชากรทั่วไป และสามารถสำรวจพบความชุกของการเปลี่ยนแปลงนี้ในชุมชนได้ ทั้ง ภาวะน้ำหนักเกิน ความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลและไขมันผิดปกติ ภาวะเบาหวาน ที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในเขตเมืองและเขตชนบทที่รับเอาวิถีชีวิตเมืองที่ไม่มีสุขภาพมาปฏิบัติ ส่วนกลุ่ม โรคหัวใจรูห์มาติค ในประเทศไทยปัญหาด้านนี้ได้ลดความรุนแรงลงมากแล้ว แต่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังเริ่มพัฒนาในหลายประเทศ เช่น พม่า กัมพูชา เป็นต้น

เงื่อนไขจากธรรมชาติของโรคสำคัญต่อความเข้าใจเพื่อการจัดบริการป้องกันควบคุมโรค ได้แก่

 

 

สาเหตุการเกิดโรคมาจากหลายสาเหตุและมีลักษณะเป็นโซ่สาเหตุที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ในแต่ละห่วงโซ่ แต่ห่วงโซ่ที่สำคัญที่สุดคือ กลุ่มปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้โดยเฉพาะปัจจัยในระดับพฤติกรรม

พฤติกรรมเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องถูกพัฒนาสร้างขึ้นตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของชีวิต

ส่วนใหญ่ของรายโรคที่เกิดขึ้นใหม่ในชุมชนจะมาจากกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มีค่าความเสี่ยงไม่สูงมาก อยู่ในระยะก้ำกึ่งหรือความเสี่ยงต่ำ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยของค่าความเสี่ยงเฉลี่ยของปัจจัยเสี่ยงสำคัญในประชากรทั่วไปทั้งหมดในชุมชนจะมีผลในการ ลดโรคที่มากกว่าการควบคุมเฉพาะ

พบแนวโน้มการระบาดของโรคยังขึ้นกับปัจจัยหลายปัจจัย ได้แก่ การเคลื่อนของสัดส่วนประชากรในวัยทำงานและสูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น โอกาสการเข้าถึงข่าวสารการบริการที่จำเป็นในการป้องกันควบคุมความเสี่ยงและโรค รายได้ การศึกษา ระดับและขนาดของการบริโภคยาสูบ / การบริโภคอาหารไขมันและคอเลสเตอรอลสูง / วิถีชีวิตนั่งๆนอนๆและผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงต่างๆและพันธุกรรมพื้นฐาน

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในชุมชนไทยที่เป็นเป้าหมายและมีวิธีการป้องกันควบคุมได้ ได้แก่

ภาวะความดันโลหิตที่สูงขึ้น

การบริโภคยาสูบ

การมีวิถีชีวิตนั่ง ๆ นอน ๆ (Sedentary life style)

การรับประทานอาหารเกินไม่ได้สัดส่วนเหมาะสม (Dietary Imbalance)

สหปัจจัยของหลอดเลือดเสื่อมอื่น ๆ ได้แก่ ภาวะเบาหวาน ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ไขมันผิดปกติในเลือด

ความชุกของปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เริ่มพบมากขึ้นในเยาวชนและผู้ใหญ่ตอนต้น

ขณะที่มีหลักฐานชัดเจนถึงความสำคัญของการออกกำลังกายในการป้องกันโรค ที่ช่วยป้องกันทั้งโรคหัวใจ , อ้วน , ภาวะความดันโลหิตสูง

วัยเด็กจึงจึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะจัดให้มีหนทางในการพัฒนานิสัย การออกกำลังกายไปตลอดช่วงชีวิต ในหลายชุมชนของประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทย เด็ก ๆ มีวิถีชีวิตนั่ง ๆ นอน ๆ มากขึ้น จากโทรทัศน์ วีดีโอเกมส์ คอมพิวเตอร์ และการขาดการเรียนการสอนการออกกำลังกายในโรงเรียนโดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา รวมทั้งการขาดการปลูกฝังการบริโภคอาหารที่เหมาะสมตั้งแต่ในครอบครัว

 

 

ปัจจัยสาเหตุเหล่านี้ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมของโรคไม่ติดต่ออื่น ๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคมะเร็งบางชนิด โรคหลอดลมอุดกลันเรื้อรัง โรคกระดูกพรุน ตับแข็ง เป็นต้น

การเกิดโรคในระดับบุคคลเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย มากกว่าปัจจัยเสี่ยงปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดโดด ๆ ดังนั้นการป้องกันควบคุมโรคในระดับบุคคล ในปัจจุบันจึงมุ่งไปที่การควบคุมสหปัจจัยหลายปัจจัยร่วมกัน โดยในประเทศกำลังพัฒนา ที่มีเศรษฐกิจปานกลางจะมุ่งดำเนินการควบคุมสหปัจจัยของการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือดนี้ ในกลุ่มที่พบว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานอยู่แล้ว

โรคกลุ่มนี้อยู่โดยไม่มีอาการป่วยหรือปัญหาสุขภาพได้หลายปี

การดำเนินของพยาธิสภาพของโรคยากที่จะย้อนหายกลับเป็นปกติสมบูรณ์ หรือควบคุมได้เพียงบางส่วนได้หลังเมื่อมีอาการปรากฎขึ้น ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงและคุณภาพชีวิตเลวลง

อย่างไรก็ตามการหยุดบุหรี่ เป็นสิ่งสำคัญหลักในการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ในกลุ่มผู้ที่เคยมีอาการของหัวใจขาดเลือด และจะลดความเสี่ยงต่อการ เป็นซ้ำในอนาคตถึงครึ่งหนึ่งเมื่อหยุดบุหรี

 

ที่มา : พ.ญ. ฉายศรี สุพรศิลป์ชัย สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค

https://dpc10.ddc.moph.go.th/heart.htm

โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือด, โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือด หมายถึง, โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือด คือ, โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือด ความหมาย, โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ โรคระบบไหลเวียนเลือด คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu