บัวหลวง (The Sacred Lotus)
บัวหลวงเป็นพืชน้ำที่มีความสำคัญยิ่ง โดยถือว่าเป็นราชินีแห่งพื้นน้ำที่มีความงามและประโยชน์นานัปการ นอกจากความสำคัญูทางพฤกษชาติแล้ว บัวหลวงยังมีความสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ทั้งสัญลักษณ์และอามิสบูชา
ในทางแห่งพระพุทธศาสนา ดอกบัวหลวงมีความสำคัญเกี่ยวข้องอยู่หลายประการกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบปัญญาขาแห่งบุคคลที่สามารถรู้และเข้าใจธรรมะ เพื่อความหลุดพ้น ๔ จำพวกด้วยกัน ดอกบัว ๔ เหล่านี้เปรียบได้กับดอกบัวที่ตั้งพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้ คือผู้รู้เข้าใจธรรมะได้ฉับพลันตั้งแต่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ดอกบัวประเภทที่ ๒ ดั่งดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันรุ่งขึ้น เฉกผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านได้ขยายความแห่งธรรมะนั้น ประเภทต่อมาคือดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำยังไม่โผล่พ้นน้ำ จักบานในวันด่อ ๆ ไป คือผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้เพื่อเข้าใจในธรรมะ ประเภทสุดท้ายคีอ ดอกบัวที่จมอยู่ในน้ำ กลายเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่าคือผู้ที่ได้แค่ตัวบทหรีอถ้อยคำเท่านั้น ไม่อาจจะเข้าใจความหมายรู้ในธรรมะได้
ดอกบัวหลวง สำหรับชาวพุทธถือว่ามีความสำคัญที่เป็นอามิสบูชา เกี่ยวข้องโดยตรงสำหรับการบูชาพระรัตนตรัย อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์
บัวหลวงจึงมีความสาคัญในแง่ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร และความรู้สึกทางจิตใจของมนุษย์มาช้านาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บัวหลวง เป็นพืชในวงศ์ Nymphaeaceae อยู่ในสกุล Nelumbo เป็นไม้น้ำและไม้ล้มลุกหลายฤดู มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ผังตัวอยู่ในโคลนเลน ใบเดี่ยวมีลักษณะกลมใหญ่สีเขียวอมเทา ใบอ่อนจะลอยปิ่มน้ำ ส่วนใบแก่จะชูพ้นน้ำ แผ่นใบเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 20-50 ซม. ก้านใบแข็ง มีหนามเล็ก ๆ เมื่อหักเป็นสายใยและมีน้ำยางขาว ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ มีสีขาวและสีชมพู มีทั้งดอกป้อมและดอกแหลม ก้านดอกแข็งมีหนามเล็ก ๆ ชูเหนือน้ำ กลีบดอกจำนวนมาก เรียงซ้อนกันหลายชั้น ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เมื่อดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-25 ซม. ดอกมีหลายรูปทรงและมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู แล้วแต่พันธุ์
พันธุ์บัวหลวง
บัวหลวงในประเทศไทยสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. บัวหลวงสีขาว มี 2 พันธุ์ คือ
- พันธุ์ Hindu lotus ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ ปลายเรียว กลีบดอกชั้นเดียว ได้แก่ บุณฑริก ปุณฑริก บัวหลวงขาว บัวแหลมขาว
- พันธุ์ Magnolia lotus ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมทรงป้อม กลีบดแอกซ้อนกันแน่น ได้แก่ สัตตบุษย์ บัวฉัตรขาว บัวป้อมขาว บัวหลวงขาวซ้อน
2. บัวหลวงพันธ์สีชมพู มี 3 พันธุ์ คือ
- พันธุ์ EastIndian Lotus ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมรูปไข่ ปลายเรียว กลีบดอกชั้นเดียว ได้แก่ ปทุม ปัทมา โกกระณต บัวหลวงชมพู บัวแหลมแดง
- พันธุ์ Roseum Plenum ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูทรงป้อม กลีบดอกซ้อนกันแน่น ได้แก่ สัตตบงกต บัวหลวงป้อมแดง บัวฉัตรแดง
- พันธุ์บัวเข็มชมพู ดอกมีขนาดเล็ก ดอกตูมเรียวเป็นรูปไข่ กลีบดอกชั้นเดียว ได้แก่ บัวปักกิ่งชมพู บัวไต้หวัน บัวหลวงจีนชมพู
คุณค่าจากส่วนต่างๆ ของบัวหลวง
บัวหลวง นอกจากดอกที่สามารถผลิตเพื่อการค้าได้แล้ว ส่วนต่างๆของบัวหลวงก็มีคุณค่าในเรื่องของการประกอบอาหาร และในเรื่องของการนำมาใช้เป็นยา ทางด้านเภสัชวิทยาพบว่า มีสารที่เป็นตัวยาสำคัญๆ เช่น สาร nuciferine มีฤทธิ์กดประสาท ต้านการอักเสบ ลดไข้ แก้ไอ และมีผลในการยับยั้งการหลั่งสาร serotonin โดยพบว่า
1. ดีบัว มีฤทธิ์เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ และเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
2. ฝักบัว ฝักบัวประกอบด้วยสารกลุ่มแอลคาลอย 4 ชนิด ได้แก่ สาร nuciferine , N-nornuciferine liriodenine และ N-noramepavine และสารกลุ่มพาโวนอยด์ คือ quercitin ซึ่งมีฤทธิ์ในการห้ามเลือดได้เนื่องจากมีสาร quercitin
3. เมล็ดบัว ใช้บำรุงร่างกาย แก้ไข้ซึ่งมีสารสกัดแอลกอฮอล์ต้านอนุมูลอิสระ สารสกัด แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต้านความเป็นพิษของตับได้ในขนาด 300 mg/Kg
4. เกสรบัว เกสรบัวมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดจากน้ำของเกสรมีฤทธิ์ที่ต้านเชื้อก่อให้เกิดฝีหนอง เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วง และสารสกัดแอลกอฮอลืมีฤทธิ์ต้านเชื้อ B-steptococcus group A มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและยีสต์
5. ใบบัว มีฤทธิ์ในการลดคลอเรสเตอรอล สารสกัดแอลกอฮอล์จากใบแห้งมีผลป้องกันไม่ให้ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง และสาร nuciferine มีฤทธิ์ในการกดประสาทต้านการอักเสบ ลดไข้ แก้ไอ มีผลยับยั้งการหลั่งสาร sertonin
6. ก้านบัว เป็นสารสกัดแอลกอฮอล์จากก้านดอกในขนาด 200 และ 400 mg/kg มีฤทธิ์ลดไข้ในหนุทดลองปกติได้นาน 3 และ 6 ชั่วโมง ตามลำดับ และในหนูที่ทำให้เป็นไข้ด้วยยีสต์ได้นาน 4 ชั่วโมง โดยเปรียบเทียบกับยาพาราเซตามอล
7. รากบัว สามารถแก้อาการท้องเสีย สารสกัดจากเหง้าสามารถลดปริมาณของอุจจาระและการบีบตัวของลำไส้ ลดน้ำตาลในเลือด สารสกัดแอลกอฮอล์จากเหง้ามีฤทธิ์ลด น้ำตาลในเลือด ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สารสกัดจากแอลกอฮอล์และสาร betulinic acid สกัดได้จากส่วนของเหง้ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้เทียบเท่ายามาตรฐาน phenylbutazzone และ dexamethasone สารสกัดแอลกอฮอล์จากเหง้ามีผลต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับ ลดไข้ ลดอาการเกร็งของลำไส้เล็ก
บัวหลวงนับเป็นพันธุ์ไม้น้ำอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่า ที่มีประโยชน์ในด้านของปัจจัย 4 ที่มนุษย์ทุกคนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ทั้งในด้านการบริโภคโดยตรง หรือการนำมาใช้ในส่วนประกอบของยา ในการรักษาโรคต่างๆได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากคนไทยมองเห็นความสำคัญและสามารถปรับปรุงพันธ์ของบัวหลวงให้มีความพิเศษในด้านการสกัดสารมาใช้ประโยชน์ บัวหลวง ก็น่าจะเป็นพืชที่มีคุณค่าแก่วงการแพทย์ได้เป็นอย่างดี