ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

มนุษยวิทยา, มนุษยวิทยา หมายถึง, มนุษยวิทยา คือ, มนุษยวิทยา ความหมาย, มนุษยวิทยา คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
มนุษยวิทยา

มนุษยวิทยา หรือ มานุษยวิทยา (anthropology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกรวมกัน 2 คำ คือ  anthropos ซึ่งแปลว่า มนุษย์ (man) และ logos ซึ่งแปลว่าการค้นคว้าทำความเข้าใจ (study) ดังนั้น หากแปลความหมายกว้างๆตามรากศัพท์ มานุษยวิทยา คือ ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาทำความเข้าใจมนุษย์ รวมไปถึงการตอบคำถามต่างๆที่เริ่มตั้งแต่ประเด็นของวิวัฒนาการของมนุษย์ และสังคมวัฒนธรรม มนุษย์เริ่มปรากฏตัวบนโลกครั้งแรกเมื่อไหร่ ไปจนถึงประเด็นที่ว่าทำไมมนุษย์ในแต่ละสังคมทั่วโลกจึงแตกต่างกันทั้งทางพัฒนาการและวัฒนธรรม  และด้วยเหตุที่ว่า ความหมายตามรากศัพท์ของมานุษยวิทยานั้นกว้างขวางมาก ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนดขอบเขตของมานุษยวิทยาให้ชัดเจน เพื่อง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ มานุษยวิทยาจึงได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ มานุษยวิทยากายภาพ(physical anthropology) และมานุษยวิทยาวัฒนธรรม(cultural anthropology)

มานุษยวิทยากายภาพ

มานุษยวิทยากายภาพ (physical anthropology) เป็นสาขาหนึ่งของวิชามานุษยวิทยาที่ศึกษาและสนใจมนุษย์ในแง่ของชีววิทยา โดยการนำเอาความรู้ทางด้านชีววิทยา พันธุกรรม เคมีและฟิสิกส์ มาศึกษาและพยายามอธิบายต้นกำเนิด กระบวนการ วิวัฒนาการ และความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถแบ่งประเด็นชุดคำถามได้ 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรกเป็นคำถามเกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของมนุษย์และประเด็นที่สองเป็นคำถามเกี่ยวกับเงื่อนไขแลเหตุปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างหลากหลายทางชีววิทยาระหว่างมนุษย์แต่ละกลุ่มสังคม

มานุษยวิทยาวัฒนธรรม

มานุษยวิทยาวัฒนธรรม(cultural anthropology) เป็นสาขาหนึ่งของการศึกษาวิชามานุษยวิทยาโดยการศึกษาเปรียบเทียบมนุษย์จากแง่มุมของสังคมวัฒนธรรมเพื่อบันทึก ทำความเข้าใจและอธิบายวิถีชีวิต ระบบการผลิต ความเชื่อ และลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมด้านอื่นๆ เพื่ออธิบายความคล้ายคลึงและความแตกต่างของมนุษย์ทั่วโลก

นักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียง Sir Edward B. Tylor

Sir Edward B. Tylor, 1832-1917 นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษผู้สนใจศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์เป็นส่วนบุคคลและมนุษย์เป็นเผ่า ผลงานสำคัญเช่น Primitive Culture เป็นความพยายามที่จะอธิบายวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม โดยเน้นถึงพัฒนาการทางความเชื่อและศาสนา

Tylor ได้จัดแบ่งขันตอนของวิวัฒนาการทางสังคม วัฒนธรรมออกเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

1. ยุคคนป่า (savagery) เป็นขั้นต่ำที่สุด
2. ยุคอนารยชน (barbarism) เป็นขั้นกลางที่ถือว่าเป็นพฤติกรรมหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างพฤติกรรมที่ง่ายที่สุดไปจนถึงยุ่งยากที่สุด
3. ยุคอารยธรรม(civilization) เป็นขั้นที่เจริญแล้วซึ่งขั้นตอนการแบ่งวิวัฒนาการในแต่ละยุคจะสอดคล้องกับพัฒนาการของระบบความเชื่อในวัฒนธรรมนั้นๆ

นักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียง Bronislaw Malinowski

Bronislaw Malinowski, 1884-1942 นักมานุษยวิทยาชาวโปแลนด์คนแรกที่ได้วางแนวทางการทำวิจัยภาคสนามแบบใหม่ โดยเน้นการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (participant observation) รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้ให้กำเนิดทฤษฎีหน้าที่นิยม(functionalism) เขาเสนอว่า มนุษย์มีความต้องการพื้นฐานซึ่งจะต้องได้รับการตอบสนองจากสังคม โดยแบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ความต้องการพื้นฐานทางร่างกายและจิตใจ (basic and psychological needs) เช่น ปัจจัย4 การพักผ่อน และการสืบพันธุ์ เป็นต้น
2. การตอบสนองร่วมกันของสมาชิกในสังคม (instrument needs) หมายถึงการทำงานร่วมกันของสมาชิกสังคมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานทางร่างกายและจิตใจ ยังก่อให้เกิดการจัดตั้งองค์กรและสถาบันต่างๆ ขึ้น เช่น การหาอาหาร ก่อให้เกิดการจัดตั้งระบบเศรษฐกิจเพื่ออาหาร การแลกเปลี่ยนและการกระจายอาหารออกไปยังสมาชิกของสังคม
3. ความต้องการเชิงสัญลักษณ์ (symbolic needs) ได้รับการตอบสนองโดยการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ ศาสนา ไสยศาสตร์ และศิลปะ ขึ้นมาในสังคม

 

มนุษยวิทยา, มนุษยวิทยา หมายถึง, มนุษยวิทยา คือ, มนุษยวิทยา ความหมาย, มนุษยวิทยา คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu