การเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรม, การเขียนบรรณานุกรม หมายถึง, การเขียนบรรณานุกรม คือ, การเขียนบรรณานุกรม ความหมาย, การเขียนบรรณานุกรม คืออะไร
บรรณานุกรม ( Bibliography ) หมายถึง รายการของทรัพยากรสารนิเทศที่ใช้ค้นคว้าประกอบการเขียนรายงาน และนํามาอ้างอิงไว้ท้ายเล่ม
ความสําคัญของบรรณานุกรม
ในการศึกษาค้นคว้าและเขียนรายงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จำเป็นจะต้องรวบรวมบรรณานุกรมไว้ท้ายเล่มเสมอ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. เพื่อแสดงว่ารายงานฉบับนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล มีสาระน่าเชื่อถือได้
2. เพื่อแสดงว่าผู้เขียนรายงานเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้แต่งหนังสือที่ได้นํามาใช้ประกอบการเขียนนั้น
3. เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้ศึกษารายละเอียด หรือข้อเท็จจริงที่นํามาประกอบการเขียนเพิ่มเติมได้อีก
4. เพื่อตรวจสอบหลักฐานดั้งเดิมที่ผู้เขียนนํามาประกอบในรายงาน
การรวบรวมบรรณานุกรม
มีวิธีการและข้อควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1. ทรัพยากรสารนิเทศที่นํามาจัดทําบรรณานุกรม ต้องเป็นทรัพยากรสารนิเทศที่ใช้ค้นคว้าและที่นำมาอ้างอิงในรายงานเท่านั้น
2. การเขียนบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ สามารถหาข้อมูลได้จากหน้าปกใน (TitlePage) เนื่องจากมีข้อมูลที่จำเป็นสําหรับการเขียนบรรณานุกรม หากข้อมูลที่ต้องการมีไม่ครบ ให้ใช้ข้อมูลจากปกนอก หรือจากส่วนอื่นของสิ่งพิมพ์
3. การเขียนบรรณานุกรม ให้เริ่มอักษรตัวแรกของบรรณานุกรมที่ระยะชิดขอบ หรือ***งจากขอบกระดาษด้านซ้าย 1.5 นิ้ว ถ้าข้อความบรรทัดแรกไม่จบ ให้ขึ้นบรรทัดที่ 2, 3 ใหม่ โดยเริ่มที่ระยะย่อหน้า
4. กรณีที่ใช้ทรัพยากรสารนิเทศหลายชื่อเรื่อง ของผู้แต่งคนเดียวกัน การลงรายการครั้งแรกให้ลงตามหลักเกณฑ์ ส่วนการลงบรรณานุกรมลําดับต่อไปให้ขีดเส้นตรง 1 นิ้ว แทนชื่อผู้แต่ง แล้วลงรายการ อื่น ๆ ให้สมบูรณ์
5. หากทรัพยากรสารนิเทศใดไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อเรื่อง หรือ ชื่อบทความ เป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง
6. หากรายการที่นํามาจัดทําบรรณานุกรมมีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้เรียงภาษาไทยก่อนภาษาต่างประเทศ
7. การเรียงลําดับทรัพยากรสารนิเทศในบรรณานุกรม ให้เรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการนั้น ๆ ตามแบบพจนานุกรม โดยไม่ต้องใส่หมายเลขลําดับที่ของรายการ
การเขียนบรรณานุกรม, การเขียนบรรณานุกรม หมายถึง, การเขียนบรรณานุกรม คือ, การเขียนบรรณานุกรม ความหมาย, การเขียนบรรณานุกรม คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!