ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การเอกซเรย์บ่อยๆ แล้วจะเป็นหมันจริงหรือไม่?, การเอกซเรย์บ่อยๆ แล้วจะเป็นหมันจริงหรือไม่? หมายถึง, การเอกซเรย์บ่อยๆ แล้วจะเป็นหมันจริงหรือไม่? คือ, การเอกซเรย์บ่อยๆ แล้วจะเป็นหมันจริงหรือไม่? ความหมาย, การเอกซเรย์บ่อยๆ แล้วจะเป็นหมันจริงหรือไม่? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
คำถาม

การเอกซเรย์บ่อยๆ แล้วจะเป็นหมันจริงหรือไม่?

การเอกซเรย์บ่อยๆ แล้วจะเป็นหมันจริงหรือไม่

คำตอบ

                  การเอกซเรย์ทั่วไปปีหนึ่งเป็น 10 ครั้ง ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เราเป็นหมันได้ก็เนื่องจากปริมาณรังสีที่เราได้รับนั้น มีปริมาณน้อยที่จะทำให้เราเป็นหมันได้ xml namespace prefix o ns urn schemas-microsoft-com office office                   การเป็นหมัน คือการที่ร่างกายได้รับรังสีในปริมาณมากในอวัยวะสืบพันธ์ในเพศชายพบว่า เมื่ออัณฑะได้รับรังสีเฉพาะที่ขนาด 30 แรด ทำให้ตัวอสุจิลดลงเป็นหมันชั่วคราว Functional Sterility ขนาด 250 แรด ครั้งเดียว จะทำให้ไม่มีตัวอสุจิ Aspermia ชั่วคราวประมาณ 1 ปี ขนาด 400-600 แรด ครั้งเดียวจะทำให้เป็นหมันถาวรแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสรรถภาพและความรู้สึกทางเพศแต่อย่างไร เพราะ Hormone เพศชายยังปกติ เมื่อไรที่ผู้ป่วยจะมาถ่ายเอกซเรย์ 1     เมื่อรู้สึกปวดท้อง ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด มีไข้ 2     เมื่อประสบอุบัติเหตุ และแพทย์ต้องการถ่ายเอกซเรย์เพื่อดูว่ามีกระดูกหักหรือไม่ 3     เมื่อจะต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งจำเป็นต้องมีการถ่ายเอกซเรย์ปอดก่อนเข้าห้องผ่าตัด เพื่อดูขนาดหัวใจและเพื่อตรวจสอบดูว่า มีความผิดปกติของปอดหรือไม่เนื่องจากผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัดที่ปอดหรือมีขนาดหัวใจที่ผิดปกติอาจมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการดมยาสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีความผิดปกติ 4     เมื่อกลืนสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายจำเป็นต้องขอรับการถ่ายเอกซเรย์เพื่อหาตำแหน่งของสิ่งแปลกปลอม 5     เมื่อรู้สึกไม่สบายตัว หรือรู้สึกมีความผิดปกติเกิดขึ้น แพทย์ผู้ตรวจจะส่งผู้ป่วยไปเอกซเรย์ เพื่อดูความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค เอกซเรย์ X-ray คืออะไร                   เอกซเรย์เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หากแปลตามคำศัพท์คำนี้จะหมายถึง รังสีเอ็กซ์ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในวงการแพทย์ กล่าวคือ ภาพถ่ายเอกซเรย์จะช่วยในการวินิจฉัยพยาธิสภาพของโรคโดยจะมีขั้นตอนดังนี้ คือ นักรังสีการแพทย์จะจัดท่าผู้ป่วยให้ถูกต้องตามเทคนิค เพื่อจะดูส่วนที่ต้องการตรวจได้ชัดเจน จากนั้นก็จะจัดลำแสงรังสีเอ็กซ์ให้คลุมบริเวณที่ต้องการตรวจ เมื่อรังสีเอ็กซ์ผ่านอวัยวะจะดูดกลืนรังสีไว้ปริมาณหนึ่ง และปล่อยให้ปริมาณที่เหลือกระทบลงบนฟิล์ม ด้วยเหตุผลที่ว่าอวัยวะแต่ละส่วนของร่างกายจะมีการดูดกลืนปริมาณรังสีไม่เท่ากัน ดังนั้น ปริมาณรังสีที่กระทบลงบนแผ่นฟิล์มจึงมีความแตกต่างในการดูดกลืนสารรังสีเห็นได้ชัดมากขึ้น เมื่อนำฟิล์มที่ผ่านรังสีเอกซเรย์ไปล้างด้วยน้ำยาล้างฟิล์ม ก็จะได้ภาพเอกซเรย์หรือภาพถ่ายทางรังสีที่เห็นเป็นอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำให้ได้การวินิจฉัยโรคที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ที่มา   8 0

การเอกซเรย์บ่อยๆ แล้วจะเป็นหมันจริงหรือไม่, การเอกซเรย์บ่อยๆ แล้วจะเป็นหมันจริงหรือไม่ หมายถึง, การเอกซเรย์บ่อยๆ แล้วจะเป็นหมันจริงหรือไม่ คือ, การเอกซเรย์บ่อยๆ แล้วจะเป็นหมันจริงหรือไม่ ความหมาย, การเอกซเรย์บ่อยๆ แล้วจะเป็นหมันจริงหรือไม่ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu