วิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักร?
ตอบ มา เยอะ ๆ นะ ครับ พี่ๆ
ตอบ มา เยอะ ๆ นะ ครับ พี่ๆ
การบำรุงรักษาเครื่องจักร xml namespace prefix o ns urn schemas-microsoft-com office office โดย นายวีระชัย บรรณาธรรม โดยทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ใช้วิธีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรไปตามสถานการณ์ กล่าวคือจะบำรุงรักษาเฉพาะระยะที่มีการประกันหรือซ่อมฟรี เนื่องจากมีช่างเทคนิคมาดูแลให้ เมื่อหมดระยะการประกันก็จะบำรุงรักษาหรือซ่อมไปตามอาการที่เสียเช่น เมื่อมีการซ่อมใหญ่ก็จะทำการดูแลเปลี่ยนอะไหล่ที่เกี่ยวข้อง การทำงานเช่นนี้จะทำให้เครื่องจักรกลมีอายุการใช้งานสั้นลง และมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูงมากและทำให้เครื่องจักรขัดข้องต้องหยุดงานกลางคันประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรจะลดลงมาก ในภาพรวมจะทำให้เกิดผลเสียตามมา หนึ่งในผลเสียคือมูลค่าของเครื่องจักร ซึ่งเครื่องจักรเป็นสังหาริมทรัพย์ที่สามารถนำไปจำนองกับธนาคารหรือสถาบันการเงินซึ่งจะต้องมีการประเมินราคาว่าเครื่องจักรมีมูลค่าประมาณเท่าไรเพื่อจะได้อนุมัติวงเงินให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการจำนองเครื่องจักรไว้และนำเงินที่ได้อนุมัติจากธนาคารหรือสถาบันการเงินมาใช้จ่ายในกิจการ จะเห็นได้ว่าสภาพเครื่องจักรมีผลโดยตรงกับวงเงินที่จะได้รับ ทั้งนี้การบำรุงรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดียังส่งผลต่อสถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรมควรมีการจัดทำแผนบำรุงรักษาอย่างมีขั้นตอนดังนี้ 1 การ จัดทำทะเบียนของเครื่องจักรและชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักรที่ต้องการบำรุงรักษา Equipment amp Component Register 2 การจัดทำรายการ Job List ของงานบำรุงรักษาที่ต้องการ สำหรับส่วนต่างๆของเครื่องจักร ซึ่งต้องศึกษาจากคู่มือและประสบการณ์และจัดทำขึ้นใช้งานเป็นเบื้องต้นก่อน และจัดให้มีการปรับปรุงให้เหมาะสมและถูกต้องยิ่งๆขึ้นไป การจัดทำรายการ ประกอบด้วย - ส่วนของเครื่องจักร เช่น เครื่องยนต์ ระบบไฮดรอลิค เป็นต้น - งานที่ต้องทำ เช่น ปรับแต่ง วัดความดัน Overhaul เป็นต้น - กำลังคนและเวลา ที่ต้องใช้สำหรับงานนั้นๆ 3 การจัดทำรายการอะไหล่ที่ต้องใช้สำหรับแต่ละงาน Bill of Material Service Kits เช่น อะไหล่สำหรับงานซ่อมใหญ่เครื่องยนต์ อะไหล่สำหรับตรวจเช็คและบริการเครื่องยนต์ทุกๆช่วงเวลาที่กำหนด เป็นต้น 4 การจัดทำรายละเอียดของวิธีการและขั้นตอนในการทำงาน Work Specification และประกอบด้วยรายละเอียดของกำลังคน เครื่องมือ อะไหล่ที่ต้องใช้ โดยควรจะจัดไว้สำหรับงานที่ต้องปฏิบัติซ้ำๆ หรือ เป็นงานที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน เช่น การ Turn-Up เครื่องยนต์ เป็นต้น 5 การจัดทำตารางการบำรุงรักษาของงาน Preventive Maintenance Schedule ทำตารางตามความถี่ในงานนั้นๆ โดยเป็นการเรียบเรียงการจัดทำรายการทั้งหมดไว้เป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มที่ต้องทำทุก 300 ชั่วโมง 600 ชั่วโมง เป็นต้น 6 การจัดระบบของการจัดทำโปรแกรมของการบำรุงรักษา Maintenance Program เพื่อแสดงงานบำรุงรักษาต่างๆ ที่จะมีในช่วงเวลาข้างหน้า โดยจัดทำโปรแกรมตาม ตารางการบำรุงรักษาของ งานแต่ละเครื่องจักร และต้องจัดส่งโปรแกรมให้แต่ละหน่วยงานผู้ใช้งานเครื่องจักรและพัสดุทราบด้วย เพื่อเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้อง 7 การจัดระบบเพื่อการควบคุมและติดตามงาน Job Control โดยกำหนด - รหัสของกลุ่มช่าง หน่วยงาน ต้องสอดคล้องกับโครงสร้างองค์กร เช่น Machine Shop Machine Welder เป็นต้น - รหัสเครื่องจักรแต่ละตัว เช่น เครื่องจักร No 62-0031 เป็นต้น - รหัสของกลุ่มงาน Maintenance เช่น Preventive Maintenance Corrective Maintenance - จัดให้มีการเขียนรายงานการซ่อมบำรุงรักษาประจำวันของแต่ละคน เพื่อการควบคุม ติดตามงาน และเก็บประวัติบำรุงรักษา 8 การจัดให้มีการรายงานในรูปแบบต่างๆ Performance Monitoring เพื่อประเมิณประสิทธิภาพของการบำรุงรักษา 9 การจัดให้มีการวิเคราะห์ประวิติการบำรุงรักษา History Analysis เพื่อใช้ปรับปรุงงานบำรุงรักษาในด้านต่างๆ ที่มาและข้อมูลเพิ่มเติม 2 diw go th km_new think Head asp no 10
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!