ถั่วมะแฮะ มีลักษณะอย่างไร?
ถั่วมะแฮะ มีลักษณะอย่างไร
ถั่วมะแฮะ มีลักษณะอย่างไร
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถั่วมะแฮะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Cajanus canja L Millsp ชื่อสามัญ Pigeonpea อยู่ในวงศ์ Leguminosae มีชื่ออื่นๆ ว่า Kadios ถั่วมะแฮะ นิเวศวิทยาแหล่งกำเนิดมีอยู่เองในธรรมชาติ แต่พบว่าปลูกมากในประเทศอินเดียและขยายพื้นที่ปลูก ไปยังทวีปอัฟริกาตะวันออกและแถบแคริบเบียนสามารถเจริญเติบโตข้ามปี ได้ 2 - 3 ปี สูง 1 - 5 เมตร รูปทรงผันแปรตามลักษณะของพันธุ์มีรากแก้วหยั่งลักในดิน ลักษณะใบเป็นใบรวมมีใบย่อย 3 ใบ รูปยาวรีคล้ายหอกปลายแหลมขอบใบเรียบ มีขน ด้านบนสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างของใบเป็นสีเงินดอกสีเหลืองหรือสีแดง ออกเป็นช่อขนาดแตกต่างกันตามพันธุ์ยาวตั้งแต่ 3 - 10 เซนติเมตร ขนาดดอกยาว 2 8 - 2 9 เซนติเมตร ฝักมีลักษณะแบน เมื่อฝักอ่อนมีสีเขียวลายแดงเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลดำ ยาว 5 5 - 10 เซนติเมตร กว้าง 0 6 - 0 9 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดกลมหรือรูปไข่มีหลายสีจำนวน 3 -5 เมล็ด ลักษณะทางพืชไร่ ถั่วมะแฮะเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนกึ่งแห้งแล้ง ปริมาณฝน 500 - 2 000 มิลลิเมตรต่อปี ทนต่อสภาพแห้งแล้งและอุณหภูมิสูงได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น ๆ สามารถทนแล้งได้ยาวนานถึง 6 เดือน การปรับเข้าสภาพแวดล้อมได้กว้างมากขึ้นได้ระดับความสูง 0 -1 000 เมตร จากระดับน้ำทะเลเจริญเติบโรได้ดีบนดินหลายชนิด แต่ดินร่วนที่มีการระบายน้ำจะได้ผลผลิตใบและเมล็ดสูงไม่ทนต่อสภาพน้ำแช่ขัง ความเป็นกรดเป็นด่างของดินระหว่าง 4 5 - 8 มีระบบรากแก้วและรากแขนงจำนวนมากและหยั่งลึกสามารถดูธาตุฟอสฟอรัสได้ดี จึงทำให้เกิดการหมุนเวียน ธาตุฟอสฟอรัสจากดินชั้นล่างสู่ผิวดิน โดยทั่วไปถั่วมะแฮะมักปลูกในลักษณะพืชไร่ เพื่อเก็บเมล็ดมากกว่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น ลำต้นและกิ่งใช้เป็นชื้อเพลิงปัจจุบัน วิธีปลูก การปลูกถั่วมะแฮะควรเตรียมดินอย่างดี แล้วปลูกถั่วมะแฮะโดยใช้เมล็ดโดยตรง ไม่มีความจำเป็นต้องคลุกเชื้อไรโซเบียม หรือแช่เมล็ดก่อนปลูกควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน ขณะดินมีความชื้นพอเพียง พฤษภาคม - มิถุนายน การใช้ประโยชน์ ใบของถึ่งมะแฮะจึงนำมาใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้เป็นอย่างดี จึงนิยมปลูกเป็นพืชแซม เช่น แซมกับธัญญพืช แซมกับถั่วลิสง โดยใช้ถั่วลิสง 6 แถว แซมด้วย ถั่วมะแฮะ 1 แถว ใช้เป็นพืชร่มเงากับพืชยืนต้นในช่วงแรก ๆ 2 - 3 ปี เช่น ไม้ผล ชา กาแฟ โกโก้ ในภาคเหนือใช้ถั่วมะแฮะปลูกร่วมกับกระถินในอัตราเมล็ด 1 1 แล้วนำไปโรยเป็นแถวขวางความลาดเท ระยะห่างของแถวตามค่าต่างระดับในแนวดิ่ง 1 - 3 เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งถั่วมะแฮะจะโตได้เร็วกว่ากระถินในระยะ 1 - 2 ปีแรก หลังจากนั้นถั่วมะแฮะจะตายคงเหลือแต่แนวกระถินเป็นแนวถาวรต่อไป ถั่วมะแฮะสามารถใช้เป็นพืชอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มโปรตีนในอาหารสัตว์ ลำต้นใช้เป็นฟืนเป็นแหล่งเชื้อเพลิงได้
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!