การออกฤทธิ์ของพิษงู มีอาการอย่างไร?ส่งผลต่ออวัยวะใดบ้างของร่างกาย?
การออกฤทธิ์ของพิษงู มีอาการอย่างไร ส่งผลต่ออวัยวะใดบ้างของร่างกาย
การออกฤทธิ์ของพิษงู มีอาการอย่างไร ส่งผลต่ออวัยวะใดบ้างของร่างกาย
การออกฤทธิ์ของพิษงู พิษงูประกอบด้วยโปรตีนและเอนไซม์หลายชนิด จะมีผลทําให้เกิดทั้งพยาธิสภาพเฉพาะที่ local effect และอาการทั่วไป systemic effect ผลเฉพาะที่ Local effect ส่วนใหญ่เกิดจากเอนไซม์ที่ย่อยสลายโปรตีน proteolytic enzyme เช่น proteinase phospholipase A2 hyaluronidase หรืออาจเกิดจากการหลั่งสาร vasoactive amine เพิ่มขึ้น เช่น serotonin histamine releasing activity kallekrien-like activity เป็นต้น ผลทั่วร่างกาย Systemic effectแบ่งเป็น 3 ระบบ 1 พิษต่อระบบประสาท ออกฤทธิ์ที่ neuromuscular junction อาจมีผลทั้ง presynaptic และ post-synaptic มักพบในงูตระกูล Elapidae พิษชนิดนี้มีโมเลกุลขนาดเล็กสามารถ ถูกดูดซึมได้รวดเร็วไปตามกระแสเลือด 2 พิษต่อระบบเลือด เกิดจาก procoagulant enzyme ทํ าให้การแข็งตัวของเลือด เสียไป พบในงูตระกูล Viperidae โดยพิษงูแมวเซาจะกระตุ้น factor X และ V6 ยังอาจทํ าให้เม็ด เลือดแดงแตก พิษงูกะปะและงูเขียวหางไหม้จะเป็น thrombin-like และทําให้ fibrinolytic activity เพิ่มขึ้น6-10 นอกจากนี้ยังอาจมีผลทําให้เกร็ดเลือดตํ่าลง พิษของงูในกลุ่มนี้มีโมเลกุลขนาดใหญ่ จะถูกดูดซึมเข้าทางระบบนํ้าเหลือง 3 พิษต่อไต11 พบในงูแมวเซา อาจเป็นผลจากพิษงูโดยตรง หรืออาจเกิดเป็นผลทาง อ้อมจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะช็อค ผลจากฮีโมโกลบินที่ถูกขับออกทางไต แนวทางการรักษาที่จะกล่าวต่อไปนี้ครอบคลุมเฉพาะผู้ป่วยที่ถูกงูพิษ viperidae กัด ซึ่งจะ มีผลโดยตรงต่อระบบโลหิตวิทยาของผู้ป่วย ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้จาก case series และส่วนใหญ่เป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียน แนวทางการ รักษาต่อไปนี้จึงอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เป็นสําคัญ ข้อมูลจาก Siamhealth net
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!