วิธีการควบคุมโรคแอนแทรก มีมาตรการควบคุมอย่างไร??
วิธีการควบคุมโรคแอนแทรก มีมาตรการควบคุมอย่างไร
วิธีการควบคุมโรคแอนแทรก มีมาตรการควบคุมอย่างไร
มาตรการป้องกันควบคุมโรค 1 ให้สุขศึกษาแก่เกษตรกรทราบว่า ถ้าสัตว์โดยเฉพาะโค กระบือ ตายกระทันหันไม่ทราบสาเหตุ ให้สงสัยเป็นโรคแอนแทรกซ์ และห้ามผ่าซากโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อสร้างสปอร์ และให้รีบแจ้งสัตวแพทย์ทันที ไม่ควรเคลื่อนย้ายซากสัตว์ และควรฝังซากในบริเวณที่สัตว์ตาย โดยฝังให้ลึกอย่างน้อย 1 เมตร วัดจากส่วนบนของซากถึงผิวดิน ไม่ควรเผาในที่โล่งแจ้ง เพราะสปอร์อาจฟุ้งกระจาย พื้นดินที่ปนเปื้อนควรฝังพร้อมกับซากสัตว์ และควรกลบทับด้วยปูนขาว quicklime หรือ 5 lye อุปกรณ์เครื่องมือควรทำลายเชื้อโดยการเผาหรือแช่ในสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ 4 นาน 4 ชั่วโมง 2 ฉีดวัคซีนแก่สัตว์โดยเฉพาะโค กระบือ ในขณะที่มีโรคระบาดทันที และฉีดกระตุ้นซ้ำให้แก่สัตว์ ในบริเวณเคยเกิดโรคระบาด หรือบริเวณติดต่อกับพื้นที่ติดโรคทุกปี สัตว์ที่ป่วยให้การรักษาด้วย pennicillin หรือ tetracycline เมื่อหายดีแล้ว ให้รีบฉีดวัคซีน สัตว์ที่สัมผัสโรคแต่ยังไม่ป่วย อาจใช้วิธีเดียวกันนี้ได้ 3 ในโรงงานขนสัตว์ หนังสัตว์ อาหารสัตว์ ควรให้สุขศึกษาแก่คนงาน ให้ทราบการป้องกันการติดต่อของโรค และหมั่นดูแลรักษาแผลที่ผิวหนัง 4 จัดระบบการถ่ายเทอากาศและฝุ่นละอองภายในโรงงานขนสัตว์ หนังสัตว์ ฯ ให้เหมาะสม พร้อมทั้งให้บริการด้านคำปรึกษาและบริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และให้การรักษากรณีมีแผลที่สงสัยทันที 5 จัดเสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยนเวลาทำงาน อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ และรองเท้าบู๊ทมีบริเวณชำระล้างและทำความสะอาดร่างกายภายหลังการปฏิบัติงาน และจัดที่รับประทานอาหารแยกจากบริเวณทำงาน โรงงานที่ปนเปื้อนเชื้อ ต้องอบฆ่าสปอร์ด้วยฟอร์มาลดีไฮด์ 6 ล้างและทำลายเชื้อที่ปนเปื้อนวัตถุดิบ เช่น ขน หนัง และกระดูกสัตว์ ก่อนเข้าสู่ขบวนการผลิต 7 ห้ามขายซากสัตว์ หรือส่วนใดๆ ของซากสัตว์ที่ตายด้วยโรคนี้เพื่อเป็นอาหาร หรือนำไปผลิตเป็นสินค้า 8 จัดระบบการกำจัดขยะและของเสียจากโรงงานขน หนังสัตว์ และอาหารจากกระดูกสัตว์ โดยต้องมีการทำลายเชื้อก่อนนำไปทิ้ง 9 ให้ภูมิคุ้มกันแก่กลุ่มเสี่ยงโรคด้วยวัคซีน ซึ่งในสหรัฐอเมริกาสามารถจัดหาได้ วัคซีนนี้มีประสิทธิผลในการป้องกันแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง และที่ระบบทางเดินหายใจ ข้อมูลจาก Siamhealth net
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!