การสูบบุหรี่เกี่ยวข้องกับถุงลมโป่งพองอย่างไร?
การสูบบุหรี่เกี่ยวข้องกับถุงลมโป่งพองอย่างไร
การสูบบุหรี่เกี่ยวข้องกับถุงลมโป่งพองอย่างไร
สารพิษในควันบุหรี่มีมากมายหลายชนิด ในส่วนที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของถุงลมปอด คือ 1 ทาร์หรือน้ำมันดิน คือสารที่มีอยู่ในใบยาสูบ มีลักษณะเป็นของเหลวเหนียว สีน้ำตาลเข้ม โดยประมาณร้อยละ 50 ขอสารทาร์จะจับที่ปอด ทำให้ขนปัดเล็กๆ ภายในเยื่อบุช่องลมไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้สารเคมี สารก่อการระคายเคือง สารก่อมะเร็งทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจและถุงลม โดยในระยะหลังๆ จะทำให้มีการเสื่อมสภาพของบเนื้อเยื่อบุภายในทางเดินอากาศ มีการย่อยสลายโปรตีนภายใน เป็นสาเหตุของการไอและทำให้เกิดถุงลมโป่งพองในที่สุด 2 สารฟอร์มัลดีไฮด์ เป็นสารก่อการระคายเคือง เกิดการอักเสบเรื้อรังทำลายผนังถุงลม ก่อให้เกิดอาการไอ และ เกิดโรคถึงลมโป่งพองได้เช่นเดียวกัน 3 คาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์สามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว และจับกับเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนเป็นผลให้ร่ายกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้ปอดต้องทำ งานมากขึ้น 4 สารอะเชตตาดีไฮด์ ก่อให้เกิดการระคายเคืองเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพองเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่ทรมานและรุนแรงมากก่อให้เกิดทุกขเวทนาแก่ผู้ป่วย ญาติมิตร โดยปกติภายในปอดจะประกอบไปด้วยถุงลมเล็กๆมากมาย ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซโดยขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกทางลมหายใจ และรับออกซิเจนเข้าสู่เลือด ควันบุหรี่และสารพิษภายในบุหรี่ทำให้เกิดระคายเคืองเรื้อรัง ทำลายเยื่อบุภายในหลอดลม ถุงลมมีการสลายตัวของโปรตีนภายในทางเดินหายใจ เป็นผลให้เยื้อบุหลอดลมหนาขึ้น หลอดลมตีบเล็กลง ทำให้ต้องออกแรงมากขึ้นในการหายใจ เป็นผลให้เยื่อบุเกิดการอักเสบผนังถุงลมบวมอักเสบ เปราะแตก ฉีกขาดมารวมกันเป็นถุงลมขนาดใหญ่ ทำให้ไม่สามารถขับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอมีอาการหอบเหนื่อยง่าย อาการของโรคถุงลมโป่งพอง ขั้นต้น มันไม่ค่อยมีอาการมาก อาจเป็นอาการทั่วๆไป คือ ไอเรื้อรังมีเสมหะ เป็นหวัด เจ็บคอ คออักเสบง่าย หายยาก หลอดลมอักเสบบ่อย หายช้าต้องใช้ยารักษานานกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ขั้นที่สอง มีการหอบเหนื่อย เนื่องจากร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หน้าอกบวม หายใจมีเสียง ต้องใช้กล้ามเนื้ออกและบริเสณไหล่มากเวลาหายใจหายใจลำบากเพราะหลอดลมตีบขึ้น ถุงลมเล็กแตกรวมกันทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอากาศไม่ได้ ส่วนในขั้นที่เป็นมากแล้ว จะหอบเหนื่อยมากจนทำงานไม่ได้ เดินหรือดำรงชีวิตประจำวันไม่ได้เพราะเหนื่อยมาก ทำงานตามปกติไม่ได้ ต้องนอนพักเพราะร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ต้องด้รับออกซิเจนช่วยตลอดเวลาเนื่องจากปอดถูกทำลายหมด และการให้ออกซิเจนก็ต้องให้ด้วยความระมัดระวังกว่าปกติ เพราะหากให้ออกซิเจนในปริมาณสูงอาจทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจได้ หากผู้ป่วยหอบเหนื่อยมาก จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ทำให้เกิดทุกขเวทนาสำหรับญาติและผู้พบเห็น และสำหรับผู้ป่วยเองก็เป็นความทุกข์ทรมานยิ่งของบั้นปลายชีวิต ข้อมูลจาก กลุ่มควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!