ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่รวมตัวกันขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัยร่วมกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการเรียนรู้ร่วมกันและมีความเอื้ออาทรต่อกันเป็นต้น ในแต่ละชุมชนนั้นควรจะมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สามารถตอบสนองต่อการดำรงชีดของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นอยู่ ความพอใจและความต้องการ
การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชน
ปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรต้องเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว เกิดมลพิษขึ้นเกือบทุกด้าน ผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยก็คือ ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่เกิดมลพิษนั้นๆ นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดการแย่งชิงเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่เหลืออยู่ สร้างปัญหาความขัดแย้งขึ้นในสังคม ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ หากทุกคนในชุมชนร่วมในกันเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นอย่างจริงจัง ทั้งที่ลงมือกระทำด้วยตนเองตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะสามารถฟื้นฟูบูรณะให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในท้องถิ่นกลับคืนสภาพมาอย่างเดิมได้ ลดขยะในชุมชน
การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน
การจัดงานรื่นเริงหรือกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน หากมีการตกแต่งสถานที่ควรคำนึงถึงเรื่องดังนี้
- ตกแต่งด้วยวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายและภาระต่อสิ่งแวดล้อม ใช้วัสดุที่สามารถใช้ได้หลายครั้ง และนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- ไม่ใช้โฟมในการตกแต่ง
- ใช้ต้นไม้ วัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง ดอกไม้สด ในการตกแต่งสถานที่ให้มากที่สุด
การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชนด้วยสื่อ
ในพื้นที่ของชุมชนแต่ละแห่งนั้น ควรจัดให้มีป้านรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ข้อมูลหรือเตือนใจแก้ผู้พบเห็น โดยติดตั้งแบบถาวรควรคำนึงถึงความเหมาะสมสวยงาม จะสามารถกระตุ้นเตือนให้คนในชุมชนตระหนักถึงความร่วมร่วมใจกัน รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้เป็นอย่างดี
ชุมชนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมและวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น นอกจากจะเป็นสมบัติที่น่าภาคภูมิใจของชุมชนท้องถิ่นแล้ว ยังก่อผลเศรษฐกิจของท้องถิ่นอีกด้วย การร่วมแรงร่วมใจกันอนุรักษ์ทรัพยากรท้องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเช่น
- ช่วยกันรักษาสภาพธรรมชาติให้คงความสมบูรณ์ไว้มากที่สุด
- บูรณปฏิสังขรณ์แหล่งโบราณสถานอย่างถูกวิธี เพื่อให้คงอยู่คู่ชุมชนตลอดไป
- รณรงค์ส่งเสริมและฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น
- รักษาศิลปหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของท้องถิ่น โดยอาจนำมาผลิตเป็นสินค้าที่ระลึก
ข้อมูลจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การป้องกันปัญหาขยะในชุมชน
การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อป้องกันปัญหาขยะในชุมชนทำได้โดย
- ลดการนำขยะเข้าบ้าน ก่อนซื้อของเข้าบ้านทุกครั้ง ควรถามตนเองว่ามีความต้องการและจำเป็นจริงๆ หรือไม่ เพราะของที่เหลือใช้จากการใช้ นั้นคือปริมาณขยะชุมชนที่เพิ่มขึ้น
- มีถังขยะประจำบ้าน ถังขยะควรเป็นภาชนะที่แข็งแรงมีฝาปิดมิดชิดสามารถป้องกันแมลงและสัตว์
- แยกขยะก่อนทิ้ง วัสดุบางชนิดสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หรือนำไปแปรรูปเพื่อกลับมาใช้อีกได้ เช่น ขวด แก้ว โลหะ หรือกระดาษเป็นต้น วัสดุเหล่านี้สามารถขยายได้เป็นการลดปริมาณขยะที่จะนำไปกำจัดอีก
- ทิ้งขยะให้ถูกที ตามจุดที่กำหนดไว้สำหรับการทิ้งขยะเท่านั้น
รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน
การณรงค์ให้เกิดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน สามารถกระตุ้นให้ชุมชนเกิดจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและความสามัคคีในชุมชนได้อย่างต่อเนื่องเช่น
- การรณรงค์ป้องกันปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน
- การรณรงค์เพื่อปลูกต้นไม้และรักษาต้นไม้ในชุมชน
- การรณรงค์รักษาแหล่งน้ำในชุมชน
ลดปริมาณมลพิษทางอากาศในชุมชน
- ลดปริมาณกิจกรรม การใช้จักรยานในการเดินทาง หรือการใช้ยานพาหนะร่วมกันเป็นหมู่คณะ
- ไม่ให้มีการติดเครื่องยนต์ ยานพาหนะทุกชนิดขณะจอดในที่จอด
- งดการใช้โฟม สเปรย์จากกระป๋องอัดแรงดิน และสารละลายที่ส่วนประกอบของสาร CFC
พื้นที่สีเขียวในชุมชน
ในแต่ละชุมชน ควรจัดให้มีพื้นที่สาธารณประจำชุมชน เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจร่วมกันของคนในชุมชนโดยจะต้องร่วมมือกันในการดูแลรักษาพื้นที่เหล่านั้น จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะมีการดูแลไม่เกิดปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่เป็นต้น
การดำเนินชีวิตประจำวันตามแนวพระราชดำริเพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชน
การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันนั้น ควรดำเนินตามแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำไว้ ซึ่งสามารถเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้อย่างยั่งยืน เช่น
- ใช้ชีวิตและความเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน พยายามพึ่งตนเองให้มากที่สุด
- รู้จักประหยัดในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้มีของเหลือทิ้งน้อยที่สุด
- การจะทำกิจกรรมใดก็ตาม ต้องคำนึงถึงขนาดที่เหมาะสมกับอัตภาพหรือสิ่งแวดล้อมของตน