ธรรมเนียมโยนหัวโยนก้อย?
เวลาแข่งเทนนิส เขาจะโยนหัวโยนก้อยว่าใครจะได้สิทธิ์เลือกเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือฝ่ายรับ ทำไมไม่เป่ายิ้งฉุบกันก็ไม่รู้เนอะ
(ทาทา / กรุงเทพฯ)
เวลาแข่งเทนนิส เขาจะโยนหัวโยนก้อยว่าใครจะได้สิทธิ์เลือกเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือฝ่ายรับ ทำไมไม่เป่ายิ้งฉุบกันก็ไม่รู้เนอะ
(ทาทา / กรุงเทพฯ)
ในสมัยโบราณคนเชื่อว่าการตัดสินใจสำคัญใดๆ ในชีวิตควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระผู้เป็นเจ้า คนโบราณจึงคิดค้นรูปแบบต่างๆ ในการเสี่ยงทายเพื่อวอนขอคำตอบจากพระเจ้าว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" ต่อคำถามสำคัญ
ถึงแม้ว่าเหรียญซึ่งเหมาะมากกับการตอบใช่/ไม่ใช่ ทำขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๐ ก่อนคริสตกาล โดยชาวลิเดียน (the Lydians) เหรียญยุคเริ่มแรกนี้ก็ไม่ได้ใช้เพื่อการตัดสินใจแต่อย่างใด
จนอีก ๙๐๐ ปีต่อมาจักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์ (๑๐๒-๔๔ ก่อนคริสตกาล) คือผู้ริเริ่มให้เกิดธรรมเนียมการโยนหัวโยนก้อยขึ้น เนื่องจากหัวของซีซาร์ปรากฏอยู่บนด้านหนึ่งของเหรียญโรมันทุกเหรียญ ผลที่ตามมาก็คือในการโยนเหรียญเสี่ยงทายเหรียญด้าน "หัว" ได้กลายเป็นตัวตัดสินว่าใครถูกใครผิดใครเป็นฝ่ายชนะในข้อขัดแย้งโต้เถียงใดๆ ทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้คำตอบว่า "ใช่" จากพระผู้เป็นเจ้า
ธรรมเนียมการโยนเหรียญสะท้อนความเคารพของผู้คนในสมัยนั้นต่อซีซาร์ เรื่องสำคัญที่ต้องฟ้องร้องกันในศาลอันเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สิน ที่ดิน การแต่งงาน ความผิดทางอาญา ล้วนตกลงกันได้โดยอาศัยการโยนหัวโยนก้อย ถ้าเหรียญออกด้านหัวของซีซาร์ แสดงว่า จักรพรรดิแม้มิได้อยู่ ณ ที่นั้น ทรงเห็นด้วยกับการตัดสินใจนั้นๆ และไม่เห็นด้วยต่อการตัดสินใจเป็นอย่างอื่น
"ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี"
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!