วันละสามมื้อ ??
ทำไมคนส่วนใหญ่ กินอาหาร วันละสามมื้อ เป็นเรื่องของ วัฒนธรรม หรือเป็นเพราะ ร่างกายเรา ต้องการเช่นนั้น
(ชาญเดช ศรีกาญจน์ / จ. ฉะเชิงเทรา)
ทำไมคนส่วนใหญ่ กินอาหาร วันละสามมื้อ เป็นเรื่องของ วัฒนธรรม หรือเป็นเพราะ ร่างกายเรา ต้องการเช่นนั้น
(ชาญเดช ศรีกาญจน์ / จ. ฉะเชิงเทรา)
ร่างกายของเรา ต้องการอาหาร เพื่อใช้ขับเคลื่อนกระบวนการต่างๆ ที่ทำให้มันมีชีวิต และอบอุ่น และเพื่อให้ พลังงาน สำหรับเคลื่อนไหว และทำงานได้นาน ก่อนที่พลังงานสะสม ของร่างกาย จะหมดลง สมองจะส่งสัญญาณ ซึ่งทำให้เกิด ความรู้สึกหิวขึ้น ในกระเพาะอาหาร พวกเราส่วนใหญ่ เริ่มรู้สึกหิว หลังจาก กินอาหารครั้งสุดท้าย ราวสี่ ถึงห้าชั่วโมง สิ่งนี้เอง นำมาสู่ ความต้องการอาหาร สามมื้อต่อวัน
ความต้องการ ตามธรรมชาติของร่างกาย ไม่อาจแยกเป็นเอกเทศ จากอิทธิพลทางสังคม ในแง่แบบแผนของ เวลารับประทานอาหาร แบบแผนนี้ แปรเปลี่ยนผิดแผกกันไป ตลอดช่วงหลายศตวรรษ ที่ผ่านมา ความแตกต่างนี้ ยังคงดำรงอยู่ในปัจจุบัน อาชีพ เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่กำหนดมื้ออาหาร ตัวอย่างเช่น ความต้องการของ กรรมกรแบกหาม ชาวนา พนักงานออฟฟิศ และนักแสดง ล้วนแตกต่างกัน
การกินอาหาร วันละสามมื้อ ไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่ ถือปฏิบัติกันเสมอมา จอมเผด็จการฟาสซิสม์ เบนิโต มุสโสลินี (ค.ศ. ๑๘๘๓-๑๙๔๕) เคยเรียกชาวอังกฤษว่า "พวกกินห้ามื้อ" นักเขียนชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง ในช่วงทศวรรษ ๑๙๕๐ บันทึกไว้ว่า ชาวนิวซีแลนด์ นิยมรับประทาน น้ำชากับขนมปังกรอบ ก่อนมื้อเช้า ระหว่างมื้อ และก่อนเข้านอน นักเขียน กล่าวอย่างชื่นชมว่า ชนชาตินี้ รับประทานอาหาร วันละเจ็ดมื้อ! นักโภชนาการ ดูจะเห็นด้วยว่า การกินอาหารมื้อเบาๆ แต่บ่อยๆ เป็นผลดีต่อสุขภาพ มากกว่าการ กินมื้อหนัก แล้วเว้นช่วงยาว กว่าจะกินมื้อถัดไป ซึ่งมีแนวโน้ม ให้กินมากจนเกินไป การวิจัยพบว่า ในแต่ละวัน คนที่เป็นโรคอ้วน มักชอบกิน อาหารมื้อใหญ่สุด ในช่วงเย็นถึงค่ำ
ในหลายประเทศ อาหารเย็น ถือเป็นมื้อหลักของวัน โดยเฉพาะ ในประเทศที่พูด ภาษาอังกฤษ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ในสมัยกลาง อาหารมื้อหลักของวัน ในหมู่ชนชั้นสูง มักเริ่มจากเวลา สิบเอ็ดโมงเช้า และดำเนินเรื่อยไป อีกหลายชั่วโมง เมื่อมาถึงช่วงศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ การรับประทาน อาหารมื้อหลัก ก็ค่อยๆ เลื่อนออกไปเป็น เวลาเย็น
"ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี"
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!