ทำไม มีคนจีนตั้งชุมชนอยู่ที่เยาวราชมากกว่าที่อื่น?
ทำไม มีคนจีนตั้งชุมชนอยู่ที่เยาวราชมากกว่าที่อื่น
ทำไม มีคนจีนตั้งชุมชนอยู่ที่เยาวราชมากกว่าที่อื่น
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น กรุงเทพฯ เป็นชุมนุมขนาดใหญ่ ต่อมามีฐานะเป็นเมือง โดยเจ้าเมืองเป็นผู้ดูแล ดินแดนฝั่งกรุงเทพฯ และกรุงธนบุรี เป็นแผ่นดินเดียวกัน เพราะแม่น้ำ เจ้าพระยาสายเก่าไหลลงจากทางเหนือเข้าคลองบางกอกน้อยแล้วออกคลองบางกอกใหญ่ พ ศ 2085 สมเด็จพระชัยราชาธิราชโปรดให้ขุดคลองลัดเพื่อการคมนาคม ย่นระยะทางการเดินทางตั้งแต่บริเวณ ปากคลองบางกอกน้อยไปจรดปากคลองบางกอกใหญ่ หรือปัจจุบัน จากหน้าสถานีรถไฟบางกอกน้อยถึงหน้าวัดอรุณราชวราราม แม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนทิศทางการไหล กระแสน้ำเจ้าพระยาไหลลัดตัดตรงดังที่เป็นแม่น้ำใหญ่ คลองลัดกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยเหตุนี้ ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนทางเดินมาออกทางคลองลัดขยายกว้างเป็นแม่น้ำสายใหม่ ศูนย์กลางของชุมชนย้ายทิศทางมาอยู่ฝั่งวัดอรุณราชวรารามถึงวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะเดียวกันฝั่งตรงข้ามคือบริเวณพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน มีชาวจีนและชาวไทยตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยและทำมาค้าขาย ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีวัดที่สำคัญได้แก่ วัดสลัก ปัจจุบัน คือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ วัดโพธิ์ คือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลราม สมัยกรุงธนบุรี พ ศ 2310 - 2325 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ธนบุรี เพราะเป็นเมืองหน้าด่านและท่าเรือ มีบ้านเรือนราษฏรชุมนุมอยู่หนาแน่นสะดวกแก่การติดต่อทางทะเลจึงโปรดกำหนดให้เขตพระราชวังขึ้นทางตะวันตก ด้านฝั่งตะวันออกไม่มีกำแพงเมืองป้องกันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงโปรดให้ขุดคูเมืองทางฝั่งตะวันออก การวางผังสร้างกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ดำรัสสั่งให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่สร้างพระนครใหม่ข้างฝั่งตะวันออกตั้งพิธียกเสาหลักเมืองและพระราชวังใหม่ในที่ซึ่งพระยาราชาเศรษฐีและพวกจีนอาศัยตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ก่อน โปรดให้พระยาราชเศรษฐีและพวกจีนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่สวน ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม วัดชัยชนะสงคราม ลงไปจนถึงวัดสำเพ็ง วัดปทุมคงคา หนังสืออ้างอิง ย้อนอดีตกรุงเทพฯ กรมศิลปากร 2534 หน้า 7 15 16 20 ที่มา
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!