วัดเพลงร้างนนท์(เก่ากว่าวัดบางกุ้ง)?
วัดเพลง ร้าง ๒๒๐๐-๒๒๓๓ ตั้งอยู่ตำบลบางขนุน ริมคลองวัดสักใหญ่ สามารถเข้าทางวัดสักใหญ่ศิลปะสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งเมืองละโว้ และอาจจะมีสภาพเป็นวัดร้างตั้งแต่สมัยสงครามไทย-พม่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เดือน ๑๐ พ ศ ๒๓๐๗ ทัพพม่ามาจากภาคใต้ โดยมี มหานรธา เป็นแม่ทัพยกพลทหารเดินเท้าผ่านเมืองนนทบุรี ได้ตั้งค่ายรบบนสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดเขมาภิรตาราม และทำการรบกับทัพอังกฤษ ซึ่งขับไล่อาสาไทยรบพม่า ชาวบ้านในพื้นที่ตรงนี้เกิดความกลัวจึงนิมนต์พระสงฆ์ทิ้งวัดและบ้านเรือนหนีสงครามไปจนทำให้วัดเพลงกลายเป็น วัดร้าง ผู้คนในบริเวณนี้เล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมชื่อวัดเพลง มีชื่อว่า วัดทองเพลง และมีคำกล่าวถึงวัดอยู่เสมอว่า วัดทองเพลงต้มเหล้ากินเอง หนึ่งปีรับกฐินสองไตร ซึ่งหมายความว่า ปีหนึ่งๆ วัดทองเพลงแห่งนี้ จะได้รับกฐินทั้งจากกรุงศรีอยุธยาราชธานี ชาวนนทบุรีเรียกว่า เมืองบน จัดขบวนแห่พระกฐินทางเรือชลมารค นับเป็นวัดที่มีคุณสมบัติพิเศษมาก ซึ่งจัดตามประเพณีทางพุทธศาสนา ปีหนึ่งวัดแต่ละวัด จะได้รับกฐินเพียงครั้งเดียวเท่านั้นภายในโบสถ์ต้นไทร มีหลวงพ่อพ่อโต เป็นพระประธานมีผิวกายเป็นสีนิลดำ ลักษณะปางมารวิชัย ทำจากหินทรายแดงหุ้มปูนลงรักปิดทอง ในสมัยสร้างวัดเพลงใหม่ๆเคยมีทองคำห่อหุ้มพระทั้งองค์ด้วยคงถูกสุมไฟลอกออก โบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้ พระอุโบสถหลังใหญ่ สูงมาก ขนาด ๖ ห้อง ตรงมุมย่อมุมไม้สิบสองเสา ซุ้มประตูประดับลายปูนปั้นงดงาม คานไม้ตรงซุ้มประตูเป็นไม้มีลวดลายลงรักปิดทองกนกเปลวเพลิง ฝาผนังด้านในและพระประธาน ยังมีร่องรอยจิตรกรรม หลงเหลืออยู่รางๆ เป็นลายดอกไม้ร่วงบนพื้นสีแดง สภาพอุโบสถชำรุดมาก เหลือเพียงฝาผนังทั้งสี่ด้านไม่มีหลังคา บานประตูหน้าต่างมีต้นไทรปกคลุมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รากไทรได้ยึดฝาผนังไว้ไม่ให้พังลงมามองดูคล้ายปราสาทของขอมพระอุโบสถประดิษฐาน หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปสูง ปางมารวิชัย ทำด้วยหินทรายแดง หุ้มปูนลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๓ใน ๔ ของความกว้างพระอุโบสถ พระพุทธลักษณะของพระพักตร์ พระโอษฐ์ และพระเกศ เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทอง มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนในชุมชน ในระหว่างพรรษาของทุกปีทางวัดแก้วฟ้า ตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน ได้จัดพระสงฆ์ สามเณร ไปจุดธูปเทียนพรรษาบูชาอยู่เสมอใบเสมาทำจากหินทรายแดง ตั้งอยู่ตามมุมพระอุโบสถ เหลือเพียงแท่นฐานตั้งอยู่บนฐานขาสิงห์โหย่ง 4 ฐาน ส่วนใบเสมานั้น วัดสักใหญ่ได้มาขุดออกจากฐานนำไปเก็บไว้ที่วัดสักใหญ่ เพื่อใช้เป็นใบเสมา ตั้งรายรอบพระอุโบสถหลังใหม่ แต่ไม่สามารถตั้งขึ้นบนฐานที่สร้างวัดใหม่ จึงกองทิ้งไว้ในบริเวณวัดสักใหญ่ ใบเสมาบางอันยังมีสภาพสมบูรณ์เห็นลวดลายชัดเจนและอีกหลายอันแตกออกเป็นชิ้น หอระฆัง เป็นหอระฆังเล็กๆ ตั้งอยู่ทางขวาของพระอุโบสถ เดิมมียอดและบันได ปัจจุบันเหลือแต่เพียงซากปรักหักพังนายมี ได้กล่าวถึงวัดเพลงไว้ใน นิราศสุพรรณ ว่า