ความหมายของคำว่า นาฏยศัพย์?
ความหมายของคำว่า นาฏยศัพย์ 10 อัน
ความหมายของคำว่า นาฏยศัพย์ 10 อัน
การฟ้อนรำที่ดีเด่นจะต้องมีลักษณะที่งดงาม หรือลีลาท่ารำที่งดงาม ผู้รำจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกลมกลืนกันไปทุกส่วนของร่างกาย การฝึกหัดการเคลื่อนไหวมือและเท้า ในวงการละครไทยเรียกว่า นาฏยศัพท์ xml namespace prefix o ns urn schemas-microsoft-com office office นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่าง ๆ ประเภทของนาฏยศัพท์ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑ นามศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่เรืยกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ ม้วนมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กระเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่ ๒ กิริยาศัพท์ หมายถึงศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา แบ่งออกเป็น ๒ ๑ ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ตึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า เปิดส้น ชักส้น ๒ ๒ ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัวและแก้ไขท่าทีของตนให้ดี เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ ๓ นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด หมายถึง ศัพท์ต่างๆ ที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อน เหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ท่า ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่-พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง ศัพท์แทน ที่มาและข้อมูลเพิ่มเติม
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!