จะตั้งมูลนิธิต้องทำอย่างไร?
1 อยากรู้ว่าถ้าจะต้องมูลนิธิต้องทำอย่างไร 2 แล้วมีกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิบ้าง 3 วิธีการดำเนินการทำอย่างไร 4 ชั้นตอนการจดทะเบียนทำอย่างไร
1 อยากรู้ว่าถ้าจะต้องมูลนิธิต้องทำอย่างไร 2 แล้วมีกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิบ้าง 3 วิธีการดำเนินการทำอย่างไร 4 ชั้นตอนการจดทะเบียนทำอย่างไร
แนวทางการปฏิบัติ ทะเบียนมูลนิธิ xml namespace prefix o ns urn schemas-microsoft-com office office ความหมาย มูลนิธิได้แก่ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศล สาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บ ป พ มาตรา 110 แนวทางในการปฏิบัติงานหรือดำเนินงาน ต้องมีบุคคล หรือคณะบุคคลตกลงยกทรัพย์สินของตนเองให้เป็นกองทุนมูลนิธิ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินเป็นกองทุน ในการขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิไม่ต่ำกว่า 500 000 บาท ห้าแสนบาทถ้วน ถ้ามีทรัพย์สินอย่างอื่น จะต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 250 000 บาท สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอย่างอื่นแล้ว ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500 000 บาท ห้าแสนบาทถ้วน แต่ถ้าหากมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสังคมสงเคราะห์ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา ศาสนา สาธารณภัย และเพื่อบำบัดรักษา ค้นคว้าป้องกันผู้ป่วยจากยาเสพติด เอดส์ หรือมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยหน่วยงานของรัฐก็ให้ได้รับการผ่อนผันให้มีทรัพย์สินเป็นกองทุนมูลค่าไม่ต่ำกว่า 200 000 บาท สองแสนบาทถ้วน ถ้ามีทรัพย์สินอย่างอื่นจะต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 100 000 บาท หนึ่งแสนบาทถ้วน และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอย่างอื่นแล้ว ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 200 000 บาท สองแสนบาทถ้วน การขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ให้ยื่นคำขอตามแบบ ม น 1 พร้อมด้วยหลักฐานจำนวน 3 ชุด ดังนี้ 1 รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรสำหรับมูลนิธิ 2 รายชื่อ ที่อยู่ อาชีพ ของผู้จะเป็นกรรมการทุกคน 3 ข้อบังคับของมูลนิธิ 4 คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิของเจ้าของทรัพย์สินตาม 1 ที่มีผลตามกฎหมาย 5 สำเนาพินัยกรรม กรณีตั้งโดยพินัยกรรม 6 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ส่วนราชการออกให้ และสำเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้าน 7 แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งของมูลนิธิ 8 หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ 9 สำเนารายงานการประชุม ถ้ามี โดยให้ยื่นที่ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต ซึ่งสำนักงานใหญ่ของมูลนิธิจะตั้งอยู่ในท้องที่นั้นแล้วแต่กรณี และเมื่ออำเภอ กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต รับเรื่องแล้ว ให้ตรวจสอบหลักฐานและคุณสมบัติผู้จะเป็นกรรมการ แล้วเสนอความเห็นต่อนายทะเบียน โดยส่งเรื่องไปจังหวัด กรุงเทพมหานคร เมื่อจังหวัด กรุงเทพมหานคร ตรวจดูแล้ว หากเห็นว่ามูลนิธิมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ก็ให้ส่งเรื่องไปให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พิจารณาอนุญาตก่อน แล้วจึงเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีมูลนิธิตั้งในเขตจังหวัด ในฐานะนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัด หรือเสนอปลัดกระทรวงมหาดไทย กรณีมูลนิธิตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ในฐานะนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร พิจารณาอนุญาต โดยจะออกใบสำคัญ มน 3 พร้อมเก็บค่าธรรมเนียม และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา แล้วสำเนาเรื่อง 1 ชุด รายงานให้กระทรวงมหาดไทย การขอจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการมูลนิธิ ให้ยื่นคำขอตามแบบ มน 2 พร้อมด้วยหลักฐาน 3 ชุด ดังนี้ 1 บันทึกการประชุมให้แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือให้เปลี่ยนแปลงกรรมการ 2 บัญชีรายชื่อกรรมการชุดเดิม 3 รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการใหม่ 4 สำเนาข้อบังคับของมูลนิธิ 5 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้าน อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขต ตรวจสอบหลักฐานเห็นว่าถูกต้องให้เสนอนายทะเบียนพิจารณาอนุญาต โดยออกใบสำคัญตามแบบ มน 4 เก็บค่าธรรมเนียมแล้วสำเนาเรื่อง 1 ชุด รายงานให้กระทรวงมหาดไทย การขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ให้ยื่นคำขอตามแบบ มน 2 พร้อมด้วยหลักฐาน 3 ชุด ดังนี้ 1 สำเนารายงานการประชุม 2 สำเนาข้อบังคับฉบับใหม่ 3 แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้ง พร้อมหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่กรณีเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง ขั้นตอนปฏิบัติเช่นเดียวกับการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ให้มูลนิธิรายงานผลการดำเนินงานต่อนายทะเบียน พร้อมทั้งหลักฐานดังนี้ 1 รายงานการดำเนินการของมูลนิธิในปีที่ผ่านมา 2 บัญชีรายได้รายจ่าย และสำเนางบดุลของมูลนิธิในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้รับอรงความถูกต้องแล้ว 3 สำเนารายงานการประชุมของคณะกรรมการของมูลนิธิทุกครั้งในปีที่ผ่านมา ที่มา 13 htm
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!