ยาคุมกำเนิดแบบรับประทานกับแบบฉีดอันใหนดีกว่า?
อยากทราบว่าระหว่างยาคุมแบบกินกับแบบฉีดอันใหนดีกว่ากัน
อยากทราบว่าระหว่างยาคุมแบบกินกับแบบฉีดอันใหนดีกว่ากัน
การคุมกำเนิด มีวิธีการอยู่หลายวิธีที่สามารถใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือต้องค้นหาวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด แพทย์ ผู้ให้คำแนะนำด้านสุขภาพ นางผดุงครรภ์และพยาบาลสามารถให้คำแนะนำด้านการคุมกำเนิดกับคุณได้ xml namespace prefix o ns urn schemas-microsoft-com office office การเลือกวิธีคุมกำเนิด การเลือกวิธีคุมกำเนิดขึ้นกับปัจจัยหลายๆอย่างเช่น สุขภาพ ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ จำนวนของคู่ขา ความต้องการมีบุตรในอนาคต - วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการตั้งครรภ์และปลอดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์คือการไม่มีเพศสัมพันธ์ - ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอควรจะใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีด ใส่ห่วง - ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ไม่บ่อย ให้ใช้ ถุงยางอนามัย - ผู้ที่มีคู่ขามากหรือต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ใช้ถุงยางอนามัย - ถ้าไม่แน่ใจว่าแฟนมีโรคติดต่อหรือไม่ไม่ควรที่จะมีเพศสัมพันธ์ด้วย - ผู้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการวางแผนเช่น ถูกข่มขืนควรใช้ยาคุมชนิดหลังร่วมเพศ ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบปกติมีจำหน่ายในท้องตลาด โดยประกอบด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์สองประเภท ได้แก่ เอสโตรเจนและโปรเจสโตเจน ฮอร์โมนทั้งสองชนิดเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ผลิตเลียนแบบฮอร์โมนจากรังไข่ ยาเม็ดคุมกำเนิดแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่ต่างกัน แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำการใช้ยาคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับคุณ ยาเม็ดคุมกำเนิดขัดขวางการตกไข่และทำให้ไข่ไม่สามารถฝังตัวลงในผนังมดลูกได้ ยาเม็ดคุมกำเนิดมีความน่าเชื่อถือสูงหากใช้อย่างถูกต้อง หญิงอายุเกิน 35 ปีและสูบบุหรี่ไม่ควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด รวมทั้งผู้หญิงที่มีปัญหาเส้นเลือดอุดตัน มะเร็งเต้านม โรคหัวใจหรือโรคร้ายแรงทางตับ การฉีดยาคุมกำเนิด Depo-Provera เป็นยาคุมกำเนิดที่มีแต่ progestin ไม่มี estrogen คุณต้องฉีดยาคุมทุก 3 เดือนการฉีดต้องฉีดภายใน 5 วันและสามารถป้องกันการตั้งครรภ็หลังจากฉีด 24 ชั่วโมง คนที่ฉีดส่วนใหญ่จะไม่มีประจำเดือนหลังหยุดยาฉีด 6-12 เดือนประจำเดือนจึงเริ่มมาใหม่ และสามารถตั้งครรภ์ใน 12-18 เดือน ยาคุมนี้สามารถฉีดหลังจากคลอดบุตรแล้ว 6 สัปดาห์เนื่องยาไม่ลดน้ำนมจึงให้ในผู้ที่ต้องการให้นมบุตรได้ ข้อเสีย - ไม่สามารถใช้ได้ในผู้ที่มีโรคตับ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็งเต้านม ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคถุงน้ำดี โรคลมชัก - ประจำเดือนจะมากะปริดกะปอย บางรายมานาน - ขนดก - ความต้องการทางเพศลดลง - น้ำหนักเพิ่ม - เป็นสิว - ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - หากเกิดอาการข้างเคียงของยาต้องรอจนยาคุมหมดฤทธิ์อาการจึงจะหาย ข้อมูลเพิ่มเติม การคุมกำเนิด เรื่องน่ารู้ การคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิด วิธีรับประทานยาคุมกำเนิด ที่มา 614 amp no 1
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!